เนคเทค สวทช. คว้า 2 รางวัล ในเวที Thailand Cyber Security Product and Service Awards 2024

ทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค หรือ NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คว้ารางวัล “การประกวดผลิตภัณฑ์และบริการในภาคอุตสาหกรรมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 2567 หรือ Thailand Cyber Security Product and Service Awards 2024” เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบใหม่ เป็นที่ต้องการในตลาด เป็นการส่งเสริมเชิดชูเกียรติผู้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในอนาคต ในโอกาสนี้ ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมแสดงความยินดี กับทั้ง 2 ทีมที่ได้รับรางวัล

รางวัลทั้ง 2 รางวัลที่ได้รับนั้น เป็นผลงานจากทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผลงานประเภทต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Prototype) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

รางวัลความเป็นเลิศด้านความเป็นนวัตกรรม ผลงาน “ไซบีเลียน : แพลตฟอร์มคุ้มครองความเป็นส่วนตัวไอโอทีด้วยเทคนิคการเข้ารหัสโฮโมมอร์ฟิก (CYBLION : Privacy-Preserving IoT Platform by Homomorphic Encryption)” โดย ดร. กลิกา สุขสมบูรณ์ และคณะ

ไซบีเลียน : แพลตฟอร์มคุ้มครองความเป็นส่วนตัวไอโอทีด้วยเทคนิคการเข้ารหัสโฮโมมอร์ฟิก หรือ CYBLION ทางออกสำหรับการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไอโอที มีเป้าหมาย คือ

  1. เพื่อป้องกันการละเมิดด้านข้อมูลรั่วไหลสู่ผู้ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล ถึงแม้ว่าคลาวด์ที่ให้บริการจะถูกแฮก แต่ข้อมูลที่อยู่ในคลาวด์จะไม่ถูกเปิดเผย
  2. เพื่อให้บริการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของอุปกรณ์ไอโอทีด้วยการเข้ารหัสแบบโฮโมมอร์ฟิกที่สามารถประยุกต์ใช้กับงานภาคอุตสาหกรรม โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาการเข้ารหัส

ผู้ร่วมโครงการ
ทีมวิจัย

  1. ดร. กลิกา สุขสมบูรณ์
  2. ดร. เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์
  3. ดร. โสภณ มงคลลักษมี (มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรจน์ ประสานมิตร)

ทีมพัฒนา

  1. คุณณัฐเสฐ ธนบดี
  2. คุณเอกรัตน์ ศักดิ์ถาวรเลิศ
  3. คุณชาวีร์ อิสริยภัทร์
  4. คุณณฐพล ตันสังวร

ทีมที่ปรึกษา

  1. ผศ.ดร.สุขุมาล กิติสิน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  2. ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
  3. ดร.กุลชาติ มีทรัพย์หลาก

ทีมติดตั้งทดสอบ

  1. คุณสุรพันธ์ ทองรังสี
  2. คุณฌัชมน ผู้เจริญชนะชัย

รางวัลความเป็นเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ ผลงาน “ซีโร่ทัชเซอร์วิส : ระบบให้บริการเน็ตเวิร์กเซอร์วิสด้านความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ สำหรับตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Zero-Touch Services : An automated Security Management and Orchestration Platform for Cybersecurity Investigation and Mitigation)” โดย ดร. มลธิดา ภัทรนันทกุล และคณะ

Zero-Touch Services ระบบให้บริการเน็ตเวิร์คเซอร์วิสด้านความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ แม้ว่าองค์กรหลายแห่งต่างตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยข้อจำกัดทางการเงินและความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้องค์กรต้องตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีได้ตลอดเวลา Zero – Touch Services ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ลดภาระงานด้านความปลอดภัยให้กับองค์กร โดยการจัดเตรียมและให้บริการ เน็ตเวิร์กเซอร์วิสด้านความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเฝ้าระวังภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร โดยมีคุณลักษณะที่น่าสนใจ เช่น การบริหารจัดการแบบอัตโนมัติด้วยโซลูชั่น SOAR รองรับรูปแบบการให้บริการ SECaaS การจัดสรรทรัพยากรแบบไดนามิก การวิเคราะห์ จำแนก และจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคาม เป็นต้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ผู้ร่วมโครงการ

  1. ดร. มลธิดา ภัทรนันทกุล
  2. คุณติณณ์ธิษณ์ ใจกล้า
  3. คุณธฤต ทองเปลว
  4. คุณวรพิชญา ธีราทร
  5. คุณปารย์ ศิริมนพร
  6. คุณเอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์
  7. ดร. ชาลี วรกุลพิพัฒน์