ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2563

17 สิงหาคม 2563 ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ประจำปี 2563 จากผลงาน “ผู้สร้างสรรค์ต่อยอดภูมิปัญญาอาหารหมักไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ทางอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับพันธมิตรสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาในการผลิตและแปรรูป ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสร้างอุตสาหกรรมอาหารใหม่มูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม” โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2563 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี และกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล

ดร.วรรณพ วิเศษสงวน มีความสนใจและเชี่ยวชาญทางด้านเคมีอาหาร เน้นโปรตีนและเอนไซม์ ในตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ดร.วรรณพ ได้ดำเนินการวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้ทางวิชาการในเชิงลึกและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอาหารของไทย การวิจัยเน้นการใช้ประโยชน์เซลล์จุลินทรีย์และเอนไซม์หรือสารที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้น ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย และแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารหมักของไทย นอกจากนี้ ดร.วรรณพ และคณะ ยังใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบทางการเกษตรและวัสดุเศษเหลือจากอุตสาหกรรมอาหารชนิดต่าง ๆ สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมอาหารใหม่มูลค่าสูง ช่วยสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารรูปแบบใหม่ให้กับประเทศ

โดยที่ผ่านมา ดร.วรรณพ วิเศษสงวน และคณะ มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จำนวน 253 เรื่อง โดยผลงานวิจัยตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงมากกว่า 7,963 ครั้ง มีค่า h-index เท่ากับ 51 (อ้างอิงจากฐานข้อมูล ISI Web of Science ตั้งแต่ปี 2543-2563) นอกจากนี้ ดร.วรรณพ ยังได้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ (สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ความลับทางการค้า) จำนวน 32 เรื่อง ซึ่งผลงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปให้บริษัทเอกชนใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แล้วจำนวน 9 เรื่อง อาทิ การพัฒนากระบวนการเร่งหมักนํ้าปลาโดยใช้เอนไซม์ การพัฒนาต้นเชื้อจุลินทรีย์แลคติคเพื่อใช้ในการหมักผักกาดดองเปรี้ยว กระบวนการผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนสจากเชื้อราเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การใช้เชื้อในการผลิตต้นเชื้ออาหารหมักสัตว์ กระบวนการผลิตนํ้าส้มสายชูหมักจากผลไม้ในขั้นตอนเดียวและสูตรจุลินทรีย์สำหรับการผลิตนํ้าส้มสายชูหมัก การผลิตสารยับยั้งแบคทีเรียจากโปรตีนไข่ขาวเพื่อการประยุกต์ใช้ในอาหารและอาหารสัตว์ เป็นต้น ซึ่งผลงานวิจัยของ ดร.วรรณพ ได้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่น้อยกว่า 1,800 ล้านบาท ซึ่งงานวิจัยหลายเรื่องที่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการก่อให้เกิดการจัดตั้งบริษัทใหม่ การสร้างโรงงานผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ชีวภาพชนิดใหม่ รวมทั้งการสร้างธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพรูปแบบใหม่ให้กับประเทศ ผลงานวิจัยของ ดร.วรรณพ จึงไม่เพียงช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการด้านอาหาร แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตลอดจนการใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มีสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นหนึ่งในกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งปัจจุบันอยู่บนฐานการใช้วัตถุดิบที่มีเพียงการแปรรูปขั้นต้น ขาดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ให้สามารถปรับตัวและพลิกฟื้นมุ่งสู่การเป็นครัวของโลกที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างมาตรฐานและอาหารปลอดภัยบนฐานการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

โดยในงานนี้นอกจาก ดร.วรรณพ แล้ว ยังมีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นอีกท่าน คือ ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิศวกรรมเคมี จากผลงานเรื่อง “เครื่องปฏิกรณ์แบบหลายหน้าที่ (Multifunctional reactor) และการรวมกระบวนการ (Process intensification) สำหรับอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี และไบโอรีไฟเนอรี”

สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ในปีนี้ ตกเป็นของ รศ.ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (คนซ้ายมือ) จากผลงาน “การใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีและการพัฒนาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์” และ ดร.พิชญ พัฒนสัตยวงศ์ สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) (คนขวามือ) จากผลงาน “วัสดุไฮบริดเพื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่”

Dr. Wonnop Visessaguan, BIOTEC Executive Director, has been named Outstanding Scientist in Food Science and Technology for the year 2020.

August 17, 2020 – Dr. Wonnop Visessaguan, BIOTEC Executive Director, has been named Outstanding Scientist in Food Science and Technology for the year 2020 by the Foundation for the Promotion of Science and Technology under the Patronage of His Majesty the King. Held at the Centara Grand at Central Plaza Ladprao, the award ceremony was presided over by Prof. Dr. Anek Laothamatas, Minister of Higher Education, Science, Research and Innovation.

Dr. Visessanguan’s interests and expertise lie in food chemistry, especially in the areas of proteins and enzymes. The wealth of his in-depth knowledge and technology stems from both basic and applied research undertaken throughout the course of 20 years of his career as a researcher. His works create solutions to encounter the challenges that the food industry faces. Applications of microbial cells, enzymes and cell metabolites have successfully been demonstrated and elevates the quality of food products, increases process efficiency and raises the food safety standards, especially in traditional fermented food industry. Throughout the years of extensive research activities, the knowledge has been integrated and synthesized in other areas, serving as a basis for research on utilization of agricultural raw materials and food processing by-products, creating high-value functional food innovation for the country’s food industry.

He has published over 150 papers in international peer-reviewed journals with 7,963 citations and has the h-index of 51 (Ref.: ISI Web of Science from 2000 – 2020). He has filed over 32 patents, petty patents and trade secrets. 9 licensing activities are also added to his achievements which include accelerated fermentation process of fish sauce using enzyme, Lactic acid bacteria as starter culture for fermentation of sour mustard green, one-step process for making fruit vinegar and eLysozyme™ product with antimicrobial activity which is suitable to be used as food preservatives and feed supplement. Both of his previously-implemented and on-going research works have generated over 1,800 million THB in economic impact. Several of his works have turned to commercial success such as joint-investment between NSTDA and private sectors, investment of new infrastructure and new product development. From fundamental research in food chemistry to breakthrough innovations that expand new horizon of food and feed industries, Dr. Visessanguan’s works help the country to stay on the cutting-edge.

Along with Dr. Visessanguan, Prof. Dr. Sutthichai Assabumrungrat, Department of Chemical Engineering, Chulalongkorn University was also awarded the prestigious Outstanding Scientist Award for his work on Multifunctional Reactor and Process Intensification for Chemical, Petrochemical and Biorefinery Industries.

In conjunction with Outstanding Scientists, the Foundation also announced two Young Scientist Awards which went to Assoc.Prof. Dr. Taweetham Limpanuparb, Mahidol University International College, and Dr. Pichaya Pattanasattayavong, Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology.