บริการวิเคราะห์ทดสอบ | ด้านเวชสำอางและส่วนผสมฟังก์ชัน

แบบจำลองปลาม้าลาย (Zebra Fish Model) ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ปลาม้าลาย (Danio rerio) เป็นปลาที่ได้ทำการศึกษาและยืนยันแล้วว่าสามารถใช้เป็นแบบจำลองของสัตว์มีกระดูกสันหลังได้ เนื่องจากพบยีนของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์กว่า 85% พบในปลาม้าลาย ดังนั้นแบบจำลองปลาม้าลายจึงถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในงานวิจัยด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยา จุดเด่นของแบบจำลองปลาม้าลาย คือ ปลาม้าลายสามารถวางไข่จำนวนมากในแต่ละครั้ง และไม่มีฤดูวางไข่ มีการปฏิสนธิภายนอก ง่ายต่อการจัดการด้านพันธุกรรม มีข้อมูลจีโนมในฐานข้อมูลของ NIH ของสหรัฐอเมริกา ตัวโปร่งแสงตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงระยะตัวเต็มวัยช่วงต้นๆ ทำให้เป็นประโยชน์สำหรับการประมวลผลจากภาพในการศึกษา อีกทั้งระยะเวลาปฏิสนธิจนถึง 5 วัน ตาม EU Directive 2010/63 ไม่ถือว่าเป็นสัตว์ทดลอง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลถูกกว่าโมเดลหนู  

ห้องปฏิบัติการปลาม้าลายเปิดให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้แบบจำลองปลาม้าลายมาช่วยในกระบวนการ R&D ของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารเคมี เภสัชกรรม เครื่องสำอาง และ โภชนบำบัด โดยมีการเปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ 2 วิธี ได้แก่ การบริการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (OECD 236) และการบริการทดสอบการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ปลาม้าลายเป็นทางเลือกใหม่เพื่อใช้ศึกษาความปลอดภัยของอนุภาคนาโน และสารสมุนไพร นอกจากนี้ ยังสามารถลดปัญหาเรื่องจริยธรรมสัตว์ทดลอง เนื่องจากในการทดสอบใช้ตัวอ่อนปลาม้าลายหลังปฏิสนธิจนถึงห้าวัน ในระดับสากลไม่ถือว่าเป็นสัตว์ทดลอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้หนูทดลอง รองรับการวิจัยพัฒนายา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตอบโจทย์วิจัยสมุนไพรไทย

รายละเอียดบริการ

  • บริการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (OECD 236)
  • บริการทดสอบการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน

ติดต่อรับบริการ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
คุณบงกช 081-804-7369