เทคโนโลยีสารเคลือบนาโน จากเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ สู่การอนุรักษ์ศาสนสถาน

เทคโนโลยีสารเคลือบนาโน จากเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ สู่การอนุรักษ์ศาสนสถาน “นาโนเทคโนโลยี” เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถสร้างหรือสังเคราะห์วัสดุให้มีขนาดเล็กในระดับ 1 -100 นาโนเมตร ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างคุณสมบัติพิเศษให้แก่วัสดุต่าง ๆ ได้ทั้งทางด้านกายภาพเคมี และชีวภาพ ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีการเคลือบผิวด้วยวัสดุนาโนมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุหลากหลาย เช่น สิ่งทอ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และวัสดุก่อสร้าง เช่นเดียวกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มีการพัฒนาสารเคลือบอนุภาคนาโนเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น “เทคโนโลยีสารเคลือบดูดซับความร้อนของท่อนำความร้อนแผงรวมแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา” ที่ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการจัดเรียงโครงสร้างและอนุภาคระดับนาโน หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี นาโนเทค สวทช. พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ภาคเอกชนอย่างบริษัทเอทีอี จำกัด ที่ต้องการใช้กราฟีนเป็นวัสดุเคลือบเพื่อดูดซับความร้อนบนท่อโลหะในระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น หรือ Concentrated Solar Power (CSP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปการดูดซับความร้อนบนท่อโลหะดังกล่าว นิยมใช้เทคโนโลยีการเคลือบผิวแบบตกเคลือบด้วยไอทางกายภาพ (Physicalvapour deposition) ของสารผสมระหว่างโลหะกับโลหะออกไซด์ ซึ่งมีต้นทุนทางวัสดุและเทคโนโลยีที่สูงมาก บริษัทเอทีอี จำกัด จึงต้องการใช้อนุภาคกราฟินทดแทนเพื่อลดต้นทุนในการผลิต จากการทดสอบพ่นเคลือบอนุภาคกราฟินลงบนท่อสเตนเลส พบว่าสามารถดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ แต่มีปัญหาการหลุดลอก เนื่องจากอนุภาคกราฟีนไม่สามารถยึดเกาะกับท่อโลหะอย่างสเตนเลสได้ด้วยตัวเอง เพราะสภาพพื้นผิวของวัสดุทั้งสองแบบที่ไม่เข้ากันผู้ประกอบการจึงต้องการให้ทีมนักวิจัยฯ … Continue reading เทคโนโลยีสารเคลือบนาโน จากเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ สู่การอนุรักษ์ศาสนสถาน