หน้าแรก ผลงาน ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19 การคัดแยกผู้ป่วยด้วยลายพิมพ์เปปไทด์ (Peptide barcode)
การคัดแยกผู้ป่วยด้วยลายพิมพ์เปปไทด์ (Peptide barcode)
2 พ.ย. 2563
0
ผลงาน/นวัตกรรมรับมือโควิด-19
ผลงานวิจัยเด่น

 

การวิเคราะห์ลายพิ มพ์เปปไทด์ (Peptide barcode) ด้วยเครื่องวัดมวล MALDI-TOF (Matrix-Assisted Laser Desorption/Ionization-Time of flight) ใช้จําแนกเชือจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ และรา อาศัยการยิงแสงเลเซอร์ไปยังตัวอย่าง ที่ต้องการตรวจสอบจนเปปไทด์เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (อนุภาคที่มีประจุ) ก่อนเดินทางไปยังตัวจับสัญญาณ (Detector) ได้ผลการตรวจสอบเป็นกลุ่มมวล เปป ไทด์เรียงลําดับจากมวลขนาดเล็ก ไปหามวลขนาด ใหญ่ ซึ่งจุลินทรีย์จ ะมี ลายพิ มพ์เปปไทด์ที่จําเพาะเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังพบว่า ลายพิมพ์มวลเปปไทด์ยังสามารถใช้แยกสายพันธุ์ไวรัสได้อีกด้วย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาวิธีการคัดแยกผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยลายพิมพ์เปปไทด์ โดยใช้เครื่อง MALDI-TOF ซึ่งมีจุดเด่น คือ ไม่จําเป็นต้องสกัด RNA ที่เป็นสารพันธุกรรมของไวรัส เพียงสกัดเปปไทด์จากสิ่งส่งตรวจไม้ป้ายจมูกและ/หรือลําคอ มาผสมกับสารละลาย Matrix แล้วนําเข้าเครื่อง MALDI-TOF เพื่อวิเคราะห์ผล จากการวิจัยพบว่าผลการจําแนกด้วยลายพิมพ์เปปไทด์สอดคล้องกับวิธีมาตรฐาน Real-time RT-PCR สามารถใช้แยกผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อไวรัส ออกจากผู้ไม่ติดเชื้อได้ถูกต้อง โดยใช้ปริมาณตัวอย่างเพียง 10 ไมโครลิตร มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ทราบผลเร็วเพียง 45 นาทีต่อตัวอย่าง เหมาะกับหน่วยงานที่มี เครื่อง MALDI-TOF อยู่แล้ว โดยมีต้นทุนการทดสอบเพียง 50-60 บาทต่อตัวอย่าง ให้ผลการวิเคราะห์ที่เที่ยงตรง ปัจจุบันมีเครื่อง MALDI-TOF ทัวประเทศรวมกันมากกว่า 50 เครื่อง แต่ละเครื่องทดสอบได้ประมาณ 1,500 ตัวอย่างต่อวัน วิธีการนี้จะช่วยให้คัดแยกผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น

 

 

จากผลการทดสอบเบื้องต้น (Preliminary Test ) พบว่า สามารถใช้ลายพิมพ์ เปปไทด์จําแนกผู้ป่วย โควิด- 19 ออกจากผู้มีสุขภาพดีได้ ทั้งจากการใช้ไม้ป้ายจมูก ลําคอ แล ะจากซีรั่ม (ส่วนที่เป็นสารละล ายของเลือด ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบตัวอย่างเพิ่มเติม พร้อมขยายผลการทดสอบ ความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (Validation) และปรับกระบวนการตรวจวัดให้แม่นยําขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการทดสอบนี้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2563

 

ติดต่อ:

ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

เบอร์โทรศัพท์: 02 564 6700 ต่อ 3231

E-mail: sittiruk@biotec.or.th

2 พ.ย. 2563
0
แชร์หน้านี้: