ผลงานที่จัดแสดง
ระบบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์ หรือ Dr. Pulse Pro
จุดเด่นของเทคโนโลยี
การยืดอายุอาหารเหลวในปัจจุบันมีทั้งการฆ่าเชื้อโดยไม่ใช้ความร้อน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความดันสูง การนำพลังงานในรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ อาทิ พลังงานคลื่นความถี่สูง พลังงานคลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการฆ่าเชื้ออาหารเหลวโดยการใช้ความเข้มสนามไฟฟ้าแบบพัลส์ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่มีการพัฒนาแล้วในประเทศไทย โดย Dr. Pulse Pro ระบบการฆ่าเชื้อที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ส่วนที่เป็นห้องฆ่าเชื้อหรือที่เรียกกันว่า PEF Treatment Chamber ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยความเข้มสนามไฟฟ้า เพื่อกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ให้น้อยลงหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้จะยังคงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารใกล้เคียงกับอาหารสด สี และกลิ่นของอาหารยังคงเดิม มีอายุยาวนานเทียบเท่ากับการถนอมอาหารที่นิยมกันทั่วไป ทั้งสามารถประยุกต์ใช้กับอาหารเหลวได้หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำผลไม้ที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลจากธรรมชาติผสมอยู่ด้วย นอกจากนี้ Dr. Pulse Pro ยังเป็นระบบที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ความร้อน และไม่ต้องลงทุนสูงเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตอีกด้วย

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
ตารางที่ 1 คุณสมบัติของระบบการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ฯ ที่พัฒนาขึ้น  
รายละเอียด  
ขนาด ระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
ชนิดของอาหารเหลว น้ำส้มสด
มาตรฐานความปลอดภัยวัสดุที่ใช้ ใช้ฉนวนไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าทั้งหมดที่เป็นเป็นวัสดุเกรดอาหาร
ความเข้มของสนามไฟฟ้า มากกว่า 25 kV/cm
แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วอิเล็กโทรด ไม่เกิน 25 kV ไม่เกิน 2 kA ที่ความกว้างพัลส์
กระแสไฟฟ้าสูงสุดด้านเอาต์พุต ประมาณ 2.5 µs
ความถี่พัลส์ อยู่ในช่วง 0.5 – 2 Hz
ศักย์ไฟฟ้า ขั้วบวก
เชื้อจุลชีพที่กำจัด E. coli Salmonella spp. S. aureus B. cereus C. perfringens และ L. monocytogenes (ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคชนิดเหลวที่มี  pH มากกว่า 4.3 เฉพาะที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์) และแบคทีเรียก่อโรค (pathogenic bacteria)
ความดันของเหลวทำงาน 1 bar
อัตราการไหลของเครื่องดื่ม 1 – 5 L/min
กำลังการผลิต 60 – 300 L/hr
ประสิทธิภาพ สามารถลดจำนวนของจุลินทรีย์ได้อย่างน้อยถึง 100,000 เท่า หรือ 0 CFU/ml ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนชาเย็น ที่กำหนดไว้ว่า โคลิฟอร์ม ต้องน้อยกว่า 1 colony-forming unit ต่อน้ำส้มสด 100  มิลลิลิตร (มผช.๑๐๐๗/๒๕๔๘)
ห้องฆ่าเชื้ออาหารเหลว ห้องฆ่าเชื้ออาหารเหลวมีทั้งแบบอ่างแช่ (Batch) และแบบไหลผ่านต่อเนื่อง (continuous)
ขนาดมิติของห้องฆ่าเชื้ออาหารเหลว ห้องฆ่าเชื้อฯจะมีลักษณะเป็นท่อทรงกระบอกซ้อนแกนร่วมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อทรงกระบอกด้านในและนอกเท่ากับ 10 mm และ 25 mm ตามลำดับ
การซ่อมบำรุง สามารถถอดล้างทำความสะอาดและติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากถูกออกแบบให้มีจำนวนชิ้นส่วนประกอบน้อยชิ้นและไม่ซับซ้อน
ระบบป้องกันและแจ้งเตือนความผิดปกติของระบบไฟฟ้าแรงดันสูงขณะปฏิบัติงาน มี
ทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน ด้านความปลอดภัยและความเข้ากันได้ทางสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) มีการทดสอบ
ประเมินอายุการเก็บรักษาและรสชาติ ประเมินอายุการเก็บรักษาและรสชาติของเครื่องดื่ม โดยนำตัวอย่างเครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเซื้อแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4o C นาน 14 วัน และตรวจ คุณภาพทุกๆ 2 วัน โดยตรวจสอบคุณภาพด้านจุลินทรีย์ (total plate count) และด้านคุณภาพทางประสาทสัมผัส โดยตัวอย่างเครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเซื้อแล้วมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ด้วยวิธีการทดสอบการยอมรับโดยใช้สเกลแบบ 7 (7-point hedonic scale) เพื่อประเมินความชอบของผู้บริโภค

การประยุกต์ใช้งาน
ประยุกต์ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในอาหารเหลว เช่น นม น้ำผลไม้ และอาหารเหลวอื่น

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทุกระดับ
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
  • ลุ่มธุรกิจผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งระดับชุมชน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่สนใจเป็นเจ้าของเทคโนโลยี
  • นักลงทุนที่ต้องการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีฆ่าเชื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพด้วยงบประมาณที่ควบคุมได้

  • สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
    คำขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 1503001450 ชื่อ “ระบบการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเหลวโดยสนามไฟฟ้าแบบพัลส์”

    สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
    ต้นแบบระดับอุตสาหกรรม


    ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    คุณสโรชา เพ็งศรี
    สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช.
    โทรศัพท์ 02 564 7000 ต่อ 1311
    Email: sarocha.phengsri@nstda.or.th


    ดร.วงศกร พูนพิริยะ
    ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย (CPMO) สวทช.
    โทรศัพท์ 02 117 6439
    Email: vongsakorn@nstda.or.th


    รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
    โทรศัพท์ 08 9755 1985
    Email: panich.intra@rmutl.ac.th

    ศูนย์ลงทุน
    ฝ่ายบริการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี สวทช.
    โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1359
    Email : nic@nstda.or.th