"เตียงตื่นตัว” ได้รับการออกแบบด้วยกระบวนการออกแบบจากมุมมองของผู้ใช้ในด้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า “Human-centric design” โดยจะคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ช่วยเหลือในการเคลื่อนที่เคลื่อนไหว ใช้งานอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเอง มีความปลอดภัยในการใช้งาน ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ความเหมาะสมในด้านการยศาสตร์ และด้านราคา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและเข้าถึงได้กับผู้สูงอายุและผู้ดูแลในสังคมไทยในวงกว้าง เหมาะสมทั้งในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความชอบส่วนบุคคล
ลักษณะของเตียงตื่นตัว (JOEY) คือ เตียงนอนสำหรับช่วยกระตุ้นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เดิมนอนติดเตียง ให้ตื่นตัวและ active มากขึ้น ด้วยกลไกและการออกแบบที่ช่วยให้ลุกขึ้นนั่งและลุกขึ้นยืนที่มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม เป็นมิตรกับบริบทของผู้ใช้
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
- กระตุ้นให้ไม่ติดเตียง: “เตียงตื่นตัว” นี้ ได้รับการออกแบบจากความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงบริบทต่างๆ ของผู้ใช้ โดยมีเป้าหมายหลักคือ การช่วยกระตุ้นการลุกนั่ง-ยืน-เดินของผู้สูงอายุ
- สร้างความมั่นใจให้ผู้สูงอายุ: มีกลไกหลักสำหรับการปรับเปลี่ยนจาก “ท่านอน” เป็น “ท่านั่ง” ในลักษณะ“พร้อมลุกยืน” ที่ได้รับการออกแบบมีความแข็งแรงความปลอดภัยต่อการใช้งานสูง ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
- เป็นผู้ช่วยในการดูแลผู้สูงอายุ: อุปกรณ์ช่วยเฝ้าระวังการลุกออกจากเตียงของผู้สูงอายุ มีปัญญาประดิษฐ์ช่วยวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมการนอน การลุกจากเตียง เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้านสุขภาวะ ป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพและการนอนติดเตียงของผู้สูงอายุ
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
- มีกลไกช่วยปรับหมุนจากท่านอนเป็นท่านั่ง
- มีกลไกช่วยในการลุกจากท่านั่งเป็นท่ายืน และมีอุปกรณ์ในการป้องกันการหกล้ม
- มีรีโมตที่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุใช้งานได้ง่ายและปลอดภัย ให้มีขนาดปุ่มกดใหญ่ มีภาพอธิบายเข้าใจง่าย มีสีสันที่ดูง่าย
การประยุกต์ใช้งาน
- เป็นเตียงนอนสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงติดบ้านและติดเตียง ที่ปกติต้องใช้ผู้ดูแลและมีความยากลำบากและความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสูงในการเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง
- เป็นเตียงนอนสำหรับผู้ป่วยฟื้นฟูจากการผ่าตัดหรือผู้ป่วยที่มีความยากลำบากในการเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ที่ต้องได้รับการกระตุ้นให้ลุก-นั่ง-ยืนบ่อยๆ
- เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำกายภาพบำบัดในท่านอน นั่ง และยืน
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลตนเอง ไม่ต้องการติดบ้านและติดเตียง ผู้ป่วยฟื้นฟูจากการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีความยากลำบากในการเคลื่อนที่ เช่น โรคอัมพฤกษ์ รวมถึงลูกหลานที่ต้องการดูแลบุพการีให้ได้รับความสะดวกและมีความสุขมากขึ้น
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ และนักลงทุนที่สนใจ
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
- คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขคำขอ KRRN 108802 ชื่อ “เตียงนอนแบบมีกลไกช่วยเหลือการลุกนั่ง” จำนวน 1 เรื่อง
- คำขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขคำขอ KRRN 108803 ถึง 108807 ชื่อ “เตียงแบบปรับหมุนเป็นที่นั่งได้” จำนวน 5 เรื่อง
- คำขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขคำขอ KRRN 108808 ชื่อ “เตียงคู่แบบปรับหมุนเป็นที่นั่งได้” จำนวน 1 เรื่อง
- คำขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขคำขอ KRRN 108809 ชื่อ “เตียงคู่แบบปรับหมุนเป็นที่นั่งได้สองฝั่ง” จำนวน 1 เรื่อง
- คำขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขคำขอ KRRN 108940 และ 108941 ชื่อ “เตียงคู่แบบปรับหมุนเป็นที่นั่งได้สองฝั่ง” จำนวน 2 เรื่อง
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
มีต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ และอยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย (User live testing) ที่สถานพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุ
"โจอี้ เตียงตื่นตัว"
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ
ห้องปฏิบัติการการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 02-564-6500 ต่อ 4350 E-mail : sarawutl@mtec.or.th
ดร. สิทธา สุขกสิ
ห้องปฏิบัติการการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 02-564-6500 ต่อ 4766 E-mail : sitthas@mtec.or.th
นายทรงธรรม์ จันทรักษ์ , นางสิริรัตน์ ปิยะกุลดำรง
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
โทรศัพท์ 02-564-6500 ต่อ 4787 , 4788 E-mail : songthnj@mtec.or.th , siriratp@mtec.or.th
นางชลาลัย ซัตตั้น
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช.
โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1617 E-mail : chalalai@nstda.or.th
ศูนย์ลงทุน
ฝ่ายบริการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี สวทช.
โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1327 , 1345 E-mail : nic@nstda.or.th