Zensoray

แผ่นดีเอ็นเอชิพตรวจเชื้อดื้อยา

         ปัญหาเชื้อดื้อยา เนื่องจากการระบาดของเชื้อดื้อยากำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกในแต่ละปีมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2050 องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเชื้อดื้อยามากถึง 10,000,000 ล้านคนทั่วโลกต่อปี เนื่องจากปัจจุบันยาปฏิชีวนะที่มี มีแนวโน้มที่ไม่สามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้ 100% เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างรวดเร็วและ ณ ขณะนี้ยังไม่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะตัวใหม่ที่สามารถนำมาใช้รักษาการติดเชื้อดื้อยากลุ่มใหม่ๆได้อีกแล้ว ทั้งนี้เหตุผลหลักหนึ่งคือเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นในการรักษา เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถรอผลการตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการในการระบุเชื้อดื้อยาได้ เนื่องจากใช้เวลานาน (3-5 วัน) และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ต้องมีการจ่ายยาปฏิชีวนะแบบ broad spectrum ที่มีความแรงและครอบคลุมในการรักษาการติดเชื้อ แต่ในการติดเชื้อบางครั้งก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาตัวที่แรงขนาดนั้นในการรักษาผู้ป่วย สามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่มีความเหมาะสมกับการติดเชื้อนั้นได้ แต่เนื่องจากผลการตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการที่ล่าช้าจึงเป็นการยากที่จะเลือกยาที่เหมาะสมและทันเวลาได้ อีกทั้งการใช้ยาที่เกินความจำเป็นนี้ยังส่งผลที่จะไปกระตุ้นให้เกิดเชื้อดื้อยาที่ดื้อต่อยาตัวที่แรง ที่ปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ตัวได้ ส่งผลให้ในอนาคตการรักษาเชื้อดื้อยาทำได้ยากขึ้นและไม่มียาปฏิชีวนะที่จะใช้รับมือ ดังนั้นจึงมีการตื่นตัวเป็นอย่างมากจากองค์การอนามัยโลก จากที่ได้กล่าวมานั้นว่าการตรวจวินิจฉัยที่ล่าช้าจะส่งผลต่อการเลือกยาและควบคุมการแพร่ระบาด ดังนั้นทางทีมจึงได้เล็งเห็นปัญหานี้และได้ทำการพัฒนาชุดตรวจที่เรียกว่า “Zensoray” ขึ้นมา ซึ่ง Zensoray นี้จะเป็นแผ่นดีเอ็นเอชิพที่สามารถใช้ตรวจการติดเชื้อดื้อยาจากตัวอย่างส่งตรวจของผู้ป่วยได้ภายใน 2 ชั่วโมง หากเรามีเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วยก็จะสามารถที่จะออกผลการตรวจวินิจฉัยให้แก่แพทย์หรือบุคลากรทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่า คนไข้มาวันนี้พรุ่งนี้เช้ารู้ผลตรวจ แพทย์ก็สามารถที่จะจ่ายยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อการรักษาการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ทำการคัดแยกผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาได้ดีขึ้น ป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรทางสาธารณสุข ลดอัตราการการอยู่ในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยต่อไป

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation statement) 

          สามารถตรวจระบุกลุ่มยีนดื้อยา ESBL, carbapenem and colistin ภายในการทดสอบครั้งเดียว ใช้เวลาตรวจ 2 ชั่วโมง

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

          ใช้งานง่าย รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง  

การประยุกต์ใช้งาน

          สามารถนำไปใช้ทดแทนวิธีการทดสอบเชื้อดื้อยามาตรฐานเดิมที่ใช้ในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล

กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

          โรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่ต้องการตรวจวิเคราะห์เชื้อดื้อยา 

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

          Corporate VC ที่สนใจในอุตสาหกรรม Healthcare

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

          กำลังอยู่ระหว่างการขอทรัพย์สินทางปัญญา

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          Prototype อยู่ในช่วงการ validate กับห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี


ติดต่อขอรับข้อมูลได้ที่ 

ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร : 02-201-5842    E-mail : toemsak.sri@mahidol.ac.th

นายกวิน น้าวัฒนไพบูลย์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร : 086-549-9005   E-mail : kawin@zenostic.com

ผลงานที่จัดแสดง