การสัมมนาเรื่อง เกษตร อาหาร ก้าวไกล ด้วยผลงานวิจัย Biosensor

การสัมมนาเรื่อง
เกษตร อาหาร ก้าวไกล ด้วยผลงานวิจัย Biosensor
Biosensor Technology for Agriculture and Food Industry

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 13.00 – 16.30 น.
ห้องประชุม CC-305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


ประเทศไทยมีมูลค่าของตลาดการวิเคราะห์ทดสอบประมาณ 14,000 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาในประเทศเพียง 5-7% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ทำให้ประเทศต้องขาดดุลการค้าในการนำเข้าชุดตรวจวิเคราะห์จากต่างประเทศ ดังนั้นการพัฒนาชุดตรวจวิเคราะห์ขึ้นเองในประเทศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องการขาดดุลทางการค้าแล้ว แต่การพัฒนาชุดตรวจที่ตอบสนองความต้องการของประเทศไทยอย่างแท้จริงยังมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมหลักอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ หรืออุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอุตสาหกรรมหลักเหล่านี้ต้องการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก รวมไปถึงมีการตรวจวัดคุณภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าและบริการ ให้ถูกต้องและสอดคล้องตามมาตรฐานสากลและระเบียบข้อบังคับของกฎหมายนานาชาติ

สวทช. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการตรวจวิเคราะห์ทดสอบของประเทศ โดยมีการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางการเกษตรและอาหารอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืช อาหาร และสัตว์ที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจประเทศไทย ตั้งแต่เทคนิคพื้นฐานในการตรวจวินิจฉัย เช่น วิธีทางอิมมูโนวิทยาจากเทคโนโลยีฐานการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี (เทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay,ELISA; เทคนิค immunochromatographic strip test เทคนิค immunomagnetic separation เทคนิค PCR-ELISA) ต่อมาได้ประยุกต์ใช้เทคนิคแลมป์ (Loop mediated DNA amplification, LAMP) ร่วมกับการอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อให้สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการตรวจวินิจฉัยโดยเทคโนโลยีแบบ high throughput เพื่อให้สามารถตรวจตัวอย่างหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน (multiplex detection) เช่น เทคนิคไมโครอะเรย์ (Microarray) เทคนิคบีดอะเรย์ (Bead array) นอกจากการวิจัยพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะหฺเหล่านี้สวทช. มุ่งเน้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำไปใช้งานจริง จึงได้มีความร่วมมือกับสมาคมเอโอเอซีประเทศไทยในกระบวนการรับรองเทคโนโลยีการตรวจวัดและวิเคราะห์ของประเทศไทยอีกด้วย

icon_pdf

สรุปประเด็นจากการสัมมนา

กำหนดการ
13.00 – 13.10 น.     เกษตร อาหาร ก้าวไกล ด้วยผลงานวิจัย Biosensor ได้อย่างไร
โดย     ดร.นิศรา การุญอุทัยศิริ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

13.10 – 14.10 น.    ความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการตรวจวัดทางการเกษตรและอาหารของ สวทช.
–    เทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย    ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.
–    การพัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคในพืช
โดย   ดร.อรประไพ คชนันทน์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
–    การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจเชื้อก่อโรคในพืชแบบ high-throughput
โดย   ดร.รัฐพล เฉลิมโรจน์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
–    การพัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคทางการเกษตรและอาหารด้วยเทคโนโลยี LAMP Biosensor
โดย   คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

14.10 – 14.25 น.    กระบวนการรับรองเทคโนโลยีการตรวจวัดและวิเคราะห์ของประเทศไทย
โดย  รศ.ดร. ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์
ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
และนายกสมาคมเอโอเอซีประเทศไทย

15.25 – 15.40 น.    พักรับประทานอาหารว่าง

15.40 – 16.30 น.    การเสวนาเรื่อง ถอดบทเรียนในอดีตสู่ความท้าทายในอนาคตของเทคโนโลยีชุดตรวจทางการเกษตรและอาหาร
ผู้ร่วมเสวนา
โดย  ดร.กฤษณ์ จงสฤษดิ์
บริษัท โมบิลิส ออโตมาต้า จำกัด
รศ.ดร.ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร.หัตถยา อรุโณทยานันท์
บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด
คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

ดำเนินการอภิปรายโดย
ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

icon_pdf กำหนดการ