การสัมมนาเรื่อง อุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

การสัมมนาเรื่อง
อุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
Bio-based Industry for Economic Development in Thailand

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC-305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


อุตสาหกรรมจากฐานชีวภาพเป็นอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวไปสู่การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทั่วโลกให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตและประกอบกับวัตถุดิบจากปิโตรเลียมมีราคาสูง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมจากฐานชีวภาพ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายสูง สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพของจุลินทรีย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีฐานด้านระบบการแสดงออกภายในเซลล์จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสารมูลค่าสูง การพัฒนาศักยภาพเอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์และเวชสำอางค์ และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและปิโตรเคมี นอกจากนี้ยังดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิตสารมูลค่าสูงจากจุลินทรีย์ในระดับขยายขนาดด้วยการใช้เทคนิคทางชีวกระบวนการที่สามารถผลักดันงานวิจัยในระดับห้องปฎิบัติการไปสู่การผลิตและทดสอบในสภาวะการใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรมซึ่งช่วยให้งานวิจัยสามารถถ่ายทอดไปสู่ภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

icon_pdf

สรุปประเด็นจากการสัมมนา

กำหนดการ
09.00 – 9.30 น.   เศรษฐกิจชีวภาพ: โอกาสและประเด็นท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ
โดย ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

09.30 – 10.20 น.    25 ปี ผลงานที่ผ่านมาจนนำไปสู่ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ และห้องปฏิบัติการพลังงานและเคมีชีวภาพ
–     บทบาทของศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพในประเทศไทย
โดย ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
–     บทบาทของศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพในประเทศไทย
โดย ดร.วรรณพ วิเศษสงวน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
–     บทบาทของ Integrative biorefinery laboratory network และความคาดหวัง  ต่อการสร้างอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพของประเทศ
โดย ศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

10.20 – 10.50 น.    พักรับประทานอาหารว่าง

10.50 – 12.00 น.    ทิศทางเทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในอนาคต
–  เทคโนโลยี Cell-based
โดย ดร.วีรวัฒน์ รังกุพันธุ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
– บทบาทและความสำคัญของเอนไซม์ในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ
โดย ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
– เทคโนโลยี Bioprocess สำหรับอุตสาหกรรมจากฐานชีวภาพ
โดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

icon_pdf กำหนดการ