เสวนาเรื่อง ถอดบทเรียนและความรู้ในการปลูกถั่วเขียว

การเสวนาเรื่อง
ถอดบทเรียนและความรู้ในการปลูกถั่วเขียว
Lessons learned knowledge to grow mungbean

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC-301 ชั้น 3 อาคารประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


ถั่วเขียวเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย อายุการเก็บเกี่ยวเร็วประมาณ 65 – 70 วัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ด้วยวงจรชีวิตที่เป็นพืชอายุสั้น จึงเป็นพืชทางเลือกของเกษตรกรสำหรับการปลูกทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาทำไร่ ช่วยตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดที่ให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ในปี 2548 – 2554 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) ให้การสนับสนุน ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวไทย จากผลผลิตของโครงการทำให้ได้ถั่วเขียวสายพันธุ์ดี 6 สายพันธุ์ (KUML #1 – 6) ที่ให้ผลผลิต 250-300 กิโลกรัมต่อไร่ มีขนาดเมล็ดใหญ่ (1,000 เมล็ด น้ำหนักมากกว่า 75-80 กรัม) มีความต้านทานต่อโรคราแป้งและใบจุด ซึ่งจะเป็นพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูกได้ต่อไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ สวทช. ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรดำเนินการปลูกทดสอบในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ซึ่งจะทราบผลภายในปี 2559 และได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ทดลองขยายเมล็ดพันธุ์ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีและบางพื้นที่ เพื่อดูศักยภาพในระดับแปลงเกษตรกรและเป็นการเตรียมเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับการขยายผลต่อไป

ทั้งนี้จากการทดลองปลูกในบางพื้นที่ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรนั้น ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ อุปสรรค ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จึงจัดให้มีการเสวนาในกลุ่มถั่วเขียวเพื่อเป็นการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งสามารถนำความรู้และประสบการณ์นี้เป็นบทเรียนสำหรับเกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไปได้

กำหนดการ

9.00 – 9.25 น. ถั่วเขียวสายพันธุ์
โดย ดร.ประกิจ สมท่า คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9.25 – 10.00 น. การปลูกถั่วเขียวและการแปรรูป โอกาสทางการตลาดเป็นอย่างไร
โดย อ.เพิ่ม สุรักษา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10.00 – 12.00 น. ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของการผลิตถั่วเขียว
โดย เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว อ.สว่างอารมณ์ อ.หนองขาหย่าง และ อ.ลานสัก จ. อุทัยธานี
เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว ต. ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ. สกลนคร
เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียว บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
การผลิตถั่วเขียวอินทรีย์
โดย คุณชัยวัฒน์ พงศ์สุขุมาลกุล
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สิ่งที่ควรรู้ในการเก็บเกี่ยวและการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว
โดย คุณชูชาติ บุญศักดิ์ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท

icon_pdfกำหนดการ