การสัมมนาเรื่อง
สถานะและผลกระทบ การวิเคราะห์ระดับนาโนและความปลอดภัยทางนาโนเทคโนโลยี
Status and Impact of Nanocharacterization & Nanosafety
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 13.30 – 16.15 น.
ห้องประชุม CC-301 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ปัจจุบันมีการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่ง คือ การวิเคราะห์ระดับนาโน เพราะต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคขั้นสูงในการวิเคราะห์วัสดุที่มีขนาดนาโนเมตร และอีกประการหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก คือ ความปลอดภัยของวัสดุนาโน เนื่องจากวัสดุนาโนเหล่านี้ต้องเข้าไปอยู่ภายในส่วนผสมหรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ การสัมมนาในหัวข้อ “สถานะและผลกระทบ การวิเคราะห์ระดับนาโนและความปลอดภัยทางนาโนเทคโนโลยี” นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) สถานภาพงานวิจัยและพัฒนาด้านการวิเคราะห์ระดับนาโน กล่าวถึงงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงความพร้อมด้านเครื่องมือ และการจัดทำมาตรฐานการทดสอบวัสดุนาโนด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
2) การใช้เทคนิคอิเล็กตรอนไมโครสโกปีขั้นสูงในการศึกษาและอธิบายสมบัติของวัสดุ เนื่องจากเทคนิคอิเล็กตรอนไมโครสโกปีนี้เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการศึกษาสัณฐานวิทยาของวัสดุนาโน ซึ่งทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สมบัติและเอกลักษณ์ของวัสดุนาโนด้วยเทคนิคอื่นๆ
3) การประยุกต์แสงซินโครตรอนในการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี เนื่องจากแสงซินโครตรอนได้ถูกนำไปใช้ในเทคนิคการวัดหลายชนิดและจากคุณสมบัติพิเศษของแสงซินโครตรอน เช่น ความสว่างจ้าที่สูงมาก สเปกตรัมที่ต่อเนื่อง ทำให้ได้ผลจากการวัดที่ไม่สามารถวัดได้จากการใช้แสงจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ มีประโยชน์ยิ่งต่องานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์
4) การตรวจพิสูจน์และการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมอนุภาคนาโนและการประยุกต์ใช้
5) สถานภาพงานวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความปลอดภัยของวัสดุนาโน กล่าวถึงงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงความพร้อมด้านเครื่องมือและการจัดทำมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการประเมินความเสี่ยงของวัสดุนาโน และ
6) การกำกับดูแลและมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโนในประเทศไทย ซึ่งกล่าวถึง การเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
นาโนรวมถึงเครื่องสำอาง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานสอดคล้องกันในกลุ่มประเทศอาเซียน
Presentation ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์
Presentation ดร.พินิจ กิจขุนทด
Presentation ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี
Presentation ดร.รวิวรรณ มณีรัตนโชติ
Presentation ภญ.นฤภา วงศ์ปิยะรัตนกุล
กำหนดการ
13.30 – 13.55 น. | สถานภาพงานวิจัยและพัฒนาด้านการวิเคราะห์ระดับนาโน ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ดร.ฉวีวรรณ ทรัพย์เจริญกุล นักวิจัยห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. |
13.55 – 14.20 น. | การใช้เทคนิคอิเล็กตรอนไมโครสโกปีขั้นสูงในการศึกษาและอธิบายสมบัติของวัสดุ โดย ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์ นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอันตราย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. |
14.20 – 14.45 น. | การประยุกต์แสงซินโครตรอนในการวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยี โดย ดร.พินิจ กิจขุนทด นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) |
14.45 – 15.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 15.25 น. | การตรวจพิสูจน์และการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมอนุภาคนาโนและการประยุกต์ใช้ โดย ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรม บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
15.25– 15.50 น. | สถานภาพงานวิจัยและพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความปลอดภัยของวัสดุนาโน โดย ดร.รวิวรรณ มณีรัตนโชติ หัวหน้าห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. |
15.50 – 16.15 น. | การกำกับดูแลและมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพนาโน โดย ภญ.นฤภา วงศ์ปิยะรัตนกุล เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |