การเสวนาเรื่อง
การพัฒนาที่ยั่งยืนกับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร:
กรณีศึกษาตลอดห่วงโซ่คุณค่าของมันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดอาหารสัตว์
Sustainability of Agri-Food Products: Case Study of Cassava, Sugarcane and Maize Value Chains
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.
ห้องประชุม CC-405 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงตลอดห่วงโซ่ ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นจำนวนมาก จากการคาดการณ์ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WBCSD) พบว่าตลาดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-product) ทั่วโลกในปี ค.ศ.2020 จะมีมูลสูงถึงกว่า 114 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าในช่วง 20 ปี ในสหภาพยุโรป ตลาด Eco-product ในปี ค.ศ.2015
มีมูลค่าสูงถึง 45 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (ที่มา: ศูนย์ธุรกิจค้าปลีก สหภาพยุโรป) สหภาพยุโรปได้ประกาศวิสัยทัศน์ 2050 เป็น “Resource Efficient Europe” และจะผลักดันให้มีการใช้ Eco-product ตามแนวทาง “Single Market for Green Product” (ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2556) เช่นเดียวกับกลุ่มบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกกว่า 100 องค์กร ซึ่งมียอดขายรวมกันกว่า 75 ล้านล้านบาทต่อปี นำโดย Walmart ได้มีการรวมตัวเป็น “The Sustainability
Consortium” หรือ TSC และใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขับเคลื่อนให้เกิดสายโซ่การผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable supply chain) ทั่วโลกในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ประกาศ “แนวทางการประเมินความยั่งยืนด้านอาหารและเกษตร” (SAFA) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2556 อันเป็นการบูรณาการ 120 มาตรฐานด้านความยั่งยืนของสินค้าเกษตรและอาหาร จาก 106 ประเทศทั่วโลก
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น สวทช. โดยคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผลักดันงานวิจัยพัฒนาด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ในภาคเกษตรและอาหารของประเทศ (ทั้งด้านการจัดทำฐานข้อมูล การประเมินตามตัวชี้วัด และการพัฒนาปรับปรุงตลอดห่วงโซ่คุณค่า) โดยถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ในช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมาได้มีการสนับสนุนงานวิจัยร่วมด้านพืชพลังงานที่ยั่งยืน (ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง) และอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน (ได้แก่ ข้าวโพดอาหารสัตว์) ทำให้เกิดองค์ความรู้และแนวทางที่ชัดเจนในการทำให้ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารของไทยมีความยั่งยืน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs 2030) ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติโดย 193 ประเทศทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย) ได้รับรองผลการประชุมแล้วเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
โปรแกรมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สวทช. จึงได้จัดเสวนาเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืนกับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร: กรณีศึกษาตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดอาหารสัตว์” เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัย และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก ภาครัฐภาคเอกชน และภาคการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และด้านเกษตรและอาหารของประเทศ
กำหนดการ
09.00 – 09.10 น. | พิธีเปิด โดย รศ.ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สวทช. |
09.10 – 09.30 น. | บรรยายพิเศษ “การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ และดำเนินการของประเทศ” โดย นางสาวลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
09.30 – 09.50 น. | บรรยายพิเศษ “บทบาทของภาคเอกชนต่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย น.สพ.บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม ผู้แทนคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) |
09.50 – 10.10 น. | บรรยายพิเศษ “การพัฒนาฐานข้อมูลและเทคนิคการประเมินความยั่งยืนตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร” โดย ดร.จิตติ มังคละศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการการประเมินวัฏจักรชีวิต ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. |
10.10 – 10.30 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.30 – 11.45 น. | เสวนา “การประเมินความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร: กรณีศึกษาของ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดอาหารสัตว์” โดย ดร.ธภัทร ศิลาเลิศรักษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นางสาวสุกัญญา ใจชื่น |
11.45 – 12.00 น. | ถาม-ตอบ และข้อเสนอแนะ |