การสัมมนาเรื่อง
จากรหัสพันธุกรรม สู่นวัตกรรมการรักษาโรค
From Genomics to Clinical Applications
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 9.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC-405 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
การตรวจทางพันธุกรรมโดยการหาลำดับเบสทั้งจีโนมโดยเทคนิค Next generation sequencing กลายเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มีอยู่อย่างมหาศาลในฐานข้อมูลสาธารณะ ทำให้การพัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรมสำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค ทำนายโอกาสเกิดโรค ระบุความรุนแรงของโรค ทำได้ถูกต้อง แม่นยำ ทันท่วงที เกิดการวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม มีความเฉพาะเจาะจงกับคนไข้ การใช้ยามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ความรู้ด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมและความก้าวหน้าด้านพันธุวิศวกรรมสามารถพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาโรค อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านเซลล์ต้นกำเนิดและยีนบำบัด เป็นต้นอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องพัฒนา ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาต่อไป
กำหนดการ
09.00 – 09.10 น. กล่าวเปิดการการสัมมนาเรื่อง จากรหัสพันธุกรรม สู่นวัตกรรมการรักษาโรค
โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.10 – 09.50 น. Advanced technologies for diagnoses and treatment of genetic diseases
โดย ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
09.50 – 10.30 น. Targeted therapy in cancer
โดย ผศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
10.30 – 10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.40 – 11.20 น. Early biomarkers in chronic kidney disease
โดย ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.20 – 12.00 น. Cell and gene therapy in thalassemia
โดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี