การสัมมนาเรื่อง
นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในประเทศไทย
Innovation for Enhancing Energy Efficiency in Thailand
วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ห้องประชุม CC-403 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทำให้มีความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทรัพยากรพลังงานภายในประเทศมีอยู่จำกัด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการจัดหาพลังงานในอนาคต
นอกจากปัญหาด้านพลังงานแล้ว ประเทศไทยยังเผชิญกับความท้าทายด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีข้อตกลงระหว่างนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง จากถ้อยแถลงของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมระดับสูงประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในระหว่างการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 “ประเทศไทยจะพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 จากกรณีปกติ”
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางสากลว่าการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมาตรการที่สำคัญด้านพลังงาน เนื่องจากโดยทั่วไปมาตรการประเภทนี้จะมีต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว และสามารถดำเนินการได้เร็ว จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ประเทศกำลังพัฒนามีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงานค่อนข้างสูง มาตรการด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน เช่น อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงจึงมีความสำคัญยิ่งต่อเป้าหมายการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตพลังงาน โดยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานและนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ต่อไปในอนาคต
Presentation ศ.ดร.สำเริง จักรใจ
Presentation รศ.ดร.อนุสรณ์ ชินสุวรรณ
Presentation มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
กำหนดการ
13.30 – 13.45 น. กล่าวเปิดงาน
โดย รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย
รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
ผู้อำนวยการโปรแกรมประสิทธิภาพทรัพยากรและพลังงานและโปรแกรม กฟผ.- สวทช.
13.45 – 14.15 น. การปรับปรุงสมรรถนะเตาก๊าซหุงต้มแอลพีจีชนิดความดันสูง
โดย ศ.ดร.สำเริง จักรใจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
14.15 – 14.45 น. การพัฒนาต้นแบบการประหยัดพลังงานโดยการนำความเย็นจากน้ำทิ้งจาก
เครื่องผลิตน้ำแข็งหลอดกลับมาใช้
โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ ชินสุวรรณ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
14.45 – 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 15.30 น. การพัฒนาชุดกังหันน้ำขนาดเล็กมากนวัตกรรมทั่วถึงสำหรับการผลิตไฟฟ้าในชนบท
โดย ดร.อุสาห์ บุญบำรุง
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
15.30 – 16.30 น. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนความเห็น