การสัมมนาเรื่อง
จาก “การค้นพบยาต้านมาลาเรีย P218” สู่ “โอกาสและความท้าทายในด้านการพัฒนายาในประเทศไทย”
From “Discovery of Antimalarial P218” to “Opportunities and Challenges for Drug Development in Thailand”
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม CC-305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
โรคมาลาเรียจัดเป็นโรคเขตร้อนที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค อีกทั้งยังมีปัญหาเชื้อดื้อยาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่อย่างเร่งด่วน คณะผู้วิจัย ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สวทช. ได้ทำการศึกษาวิจัยกลไกยาต้านมาลาเรีย โครงสร้างเป้าหมายยา และพัฒนายาต้านมาลาเรียกลุ่มแอนติโฟเลตมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2540 และนำไปสู่ความสำเร็จของการค้นพบสารแอนติโฟเลตต้นแบบต้านมาลาเรีย P218 ที่มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูงต่อเชื้อมาลาเรียดื้อยาและมีความปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปี 2551 ทั้งนี้ในระหว่างปี 2557-2559 สวทช. โดยคณะผู้วิจัยจาก ศช. ร่วมกับ Medicines for Malaria Venture (MMV) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกในการพัฒนายารักษามาลาเรีย ในการทดสอบยืนยันฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความปลอดภัยของสาร P218 ในสัตว์ทดลองเลี้ยงลูกด้วยนม ตลอดจนความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ อย่างละเอียดในระดับพรีคลินิกที่ได้มาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) โดยสาร P218 ได้ผ่านเกณฑ์การทดสอบทุกด้านและกำลังเตรียมการเข้าสู่การขึ้นทะเบียนยาวิจัยใหม่ (Investigational New Drug, IND) และการทดสอบครั้งแรกในคน (First In Human, FIH) ในไม่ช้านี้ หาก P218 สามารถผ่านเกณฑ์การทดสอบ FIH เป้าหมายต่อไปคณะผู้วิจัยจะทำการผลักดันสาร P218 เพื่อเข้าสู่การทดสอบในระดับคลินิกในอาสาสมัคร ซึ่งหากสำเร็จ อาจสามารถใช้ทดแทนยาต้านมาลาเรียทั่วโลกซึ่งในปัจจุบันที่พบปัญหาการดื้อยาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของทีมนักวิจัยไทยด้านการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคมาลาเรีย
ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนายาในระดับพรีคลินิค การสังเคราะห์ยาเพื่อการทดสอบในคน การทดสอบ FIH และระดับคลินิค จำเป็นต้องทำในสถาบันวิจัย โรงงาน และสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานสากล อาทิ GLP, Good Manufacturing Practice (GMP) และ Good Clinical Practice (GCP) เป็นต้น จึงเป็นโอกาสในการเสวนาเพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนายาในประเทศไทยโดยความร่วมมือทั้งในภาครัฐและเอกชน
Presentation ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
Presentation ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
กำหนดการ
09.00 – 09.15 น. | บทบาทของ สวทช. ในการพัฒนายา โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
09.15 – 10.00 น. | สถานภาพและความสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนาสารต้านมาลาเรีย P218 โดย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ดร.สุมาลี กำจรวงศ์ไพศาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
10.00 – 10.30 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.30 – 12.00 น. | การเสวนาเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนายาในประเทศไทย
ดำเนินรายการอภิปรายโดย |