การสัมมนาเรื่อง
สถานการณ์น้ำเค็มรุกล้ำในประเทศไทย และการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเพื่อการมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน
Saline water intrusion status in Thailand and desalination technology for water sustainability
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 14.00 – 16.30 น.
ห้องบรรยาย 2 ชั้น 1 บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ปัจจุบันแนวโน้มการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของประชากรมีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้น หรือเกิดจากปัญหาภูมิอากาศของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อน เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งและทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของแหล่งน้ำจืดทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ในประเทศไทยปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม เป็นปัญหาที่พบมากในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งของทุกปี การสัมมนาในหัวข้อนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้ทราบถึงสถานการณ์การรุกล้ำของน้ำเค็ม ความพร้อมของประเทศไทยในการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล รวมถึงงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำ และใช้พลังงานน้อยลง
Presentation ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี
Presentation เทคโนโลยีกำรผลิตน้ำประปำจำกน้ำทะเลโดยใช้ระบบ Reverse Osmosis
กำหนดการ
14.00 – 14.45 น. | สถานการณ์การรุกล้ำของน้ำเค็มในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดย ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) |
14.45 – 15.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 15.30 น. | เทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลโดยใช้ระบบรีเวอร์ส ออสโมซีส (Reverse Osmosis) โดย คุณอเนก เวชพันธุ์ ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตีส์ จำกัด (มหาชน) คุณศักดิ์สิทธิ์ กิจไพศาลรัตนา ผู้จัดการฝ่ายบริการ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ยูทีลิตีส์ จำกัด (มหาชน) |
15.30 – 16.00 น. | การแยกเกลือออกจากน้ำด้วยกระบวนการดูดซับไฟฟ้าร่วมกับกระบวนลดความกระด้าง โดย ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
16.00 – 16.30 น. | นาโนเทคโนโลยีกับการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด โดย ดร.วรายุทธ สะโจมแสง หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมนาโนเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. |