NAC 2017 Logo MOST NSTDA Registration
 

หัวข้อสัมมนาวิชาการ

 

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดแรกของโลก: ความเสี่ยงที่ต้องระวัง กับ ความคาดหวังในอนาคต
The World’s First-ever Approved Dengue Vaccine: Risks or Hopes


วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ห้องประชุม 305 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


 
          โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี โดยมียุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่เป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะเป็นเด็กในวัยเรียน แต่ปัจจุบันพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่มากขึ้น แม้ว่าอัตราการตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะน้อยลงมาก แต่ยังคงมีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ ประมาณ 40,000-50,000 รายต่อปี และอาจสูงถึง 150,000 รายในปีที่มีการระบาดของโรค นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้พยายามพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกมานานกว่า 30 ปี และเพิ่งจะมีวัคซีนเด็งกี่ของบริษัท Sanofi ที่ประกาศความสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 2015 ในการป้องกันไวรัสเด็งกี่ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตามวัคซีนชนิดนี้ได้รับคำแนะนำให้ใช้กับเด็กที่อายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไปเท่านั้น

           ดังนั้นจึงยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าวัคซีนดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ และวัคซีนชนิดอื่นๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหรือไม่  สำหรับประเทศไทย สวทช. ได้ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยไทยในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกหลายชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์แบบพันธุวิศวกรรม วัคซีนดีเอ็นเอ และวัคซีนชนิดอนุภาคเสมือน ซึ่งวัคซีนเหล่านี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลอง หากวัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ดี จะสามารถดำเนินการทดสอบในอาสาสมัครในระยะต่อไปได้  นอกจากนี้ยังมีการใช้องค์ความรู้พื้นฐานทางด้านการภูมิคุ้มกันวิทยาของมนุษย์ ในการตอบสนองต่อโครงสร้าง และการเพิ่มจำนวนของไวรัสเด็งกี่ ในการออกแบบวัคซีนในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สมบูรณ์ขี้น
 

กำหนดการ

13:30 – 14.00 น.

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดแรกของโลก น่าใช้จริงหรือ
โดย  รศ.ดร.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
รองผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์           
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

14:00 – 14:30 น.

สวทช. กับการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก
โดย  ศ.ดร.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากูร    
ประธานคลัสเตอร์แพทย์ สวทช.

14:30 – 14:50 น. 

What will be the next dengue vaccine candidates?
โดย  ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.50 – 15.10 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15.10 - 16.30 น.

เสวนา เรื่อง มุมมองใหม่ในการออกแบบวัคซีนไข้เลือดออก
โดย ดร.จุฑาธิป มงคลทรัพยา  
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก  
นักวิจัย หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

ดำเนินรายการอภิปรายโดย
ศ.ดร.ประเสริฐ เอื้อวรากูร 

 
 
Mail