หัวข้อสัมมนาวิชาการ
|
|
สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชเกษตรยุคใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30 – 17.00 น.
ห้องประชุม 307 ชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
|
ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทย คือ การระบาดของศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายโดยตรงต่อผลผลิตของเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อเนื่อง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนอาจไม่คุ้มต่อการลงทุนในการเพาะปลูกของเกษตรกร |
|
เอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีกระบวนการผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจร มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย โดยชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก จึงปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลงได้ร้อยละ100 |
|
เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveriabassiana) เป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อ มีการพัฒนากระบวนการผลิตก้อนเชื้อสดที่มีขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ ปัจจุบัน สวทช. ร่วมกับกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตราบิวเวอเรียและการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้หัวเชื้อและก้อนเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร |
|
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา |
|
|
|
กำหนดการ |
13.30-14.30 น. |
แนวโน้มของการใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผลผลิตการเกษตร
โดย นายมานะ นิมิตรวานิช
ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย |
14.30 – 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 – 15.15 น. |
ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)
โดย นายสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
15.15 – 15.45 น. |
การผลิตและใช้ราบิวเวอเรียควบคุมแมลงศัตรูพืช
โดย ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
15.45 – 16.30 น. |
การขึ้นทะเบียนสารชีวภัณฑ์
โดย ผู้แทน กองควบคุมวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตร |
16.30 – 17.00 น. |
ถาม-ตอบแลกเปลี่ยนความเห็น |
|
|
|
|
|