หัวข้อสัมมนาวิชาการ
|
|
นวัตกรรมเทคโนโลยีเอนไซม์เพื่อสังคมสีเขียว
Enzyme Technology Innovation for Green Society
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ห้องประชุม 127 ชั้น 1 อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
|
ปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพที่มุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบชีวภาพ หรือชีวมวล ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของกรอบการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานประชารัฐในการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบชีวภาพหรือชีวมวล จุดแข็งของประเทศไทยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพคือ มีความหลากหลายของพันธุกรรมพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ โดยประเทศไทย มีแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายร้อยละ 10 ของโลก การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์เพื่อผลิตเอนไซม์และสารมูลค่าสูงที่มีศักยภาพ เพื่อตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ สิ่งทอ สินค้าอุปโภค การเกษตร การแพทย์ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน เป็นต้น |
|
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอนไซม์และกระบวนการทางเอนไซม์ที่ได้จากแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ภายในประเทศ เพื่อผลิตเอนไซม์ทดแทนสารเคมี ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศ และต้นทุนการใช้พลังงานสูง โดยปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ จนกระทั่งการผลิตผลิตภัณฑ์ ตลอดจนในกระบวนการอื่น อาทิ การล้างและทำความสะอาดเครื่องจักร และการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ในการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสีเขียวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
|
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา |
|
|
|
กำหนดการ |
13.30 – 14.00 น. |
การประยุกต์ใช้เอนไซม์ในภาคอุตสาหกรรม
โดย ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์และชีวเคมีภัณฑ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. |
14.00 – 14.45 น. |
การประยุกต์ใช้เอนไซม์สำหรับวัสดุชีวภาพ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประกิต สุขใย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
14.45 – 15.00 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 15.45 น. |
การประยุกต์ใช้เอนไซม์สำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศ
โดย ดร.ทรงศักดิ์ ฤกษ์หริ่ง
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัท เอเชีย สตาร์ แอนนิมัล เฮลธ์ จำกัด |
15.45 – 16.30 น. |
การแบ่งปันประสบการณ์การผลิตเอนไซม์ในระยะเริ่มต้น
โดย รศ.ดร.สุนีย์ นิธิสินประเสริฐ
หัวหน้าหน่วยวิจัยเฉพาะทาง Probiotics and Prebiotics for Health
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
|
|