NAC 2017 Logo MOST NSTDA Registration
 

หัวข้อสัมมนาวิชาการ

 

ค้นหาไข่มุกระบบราง
Perspective and evaluation of an outcome-based rail research learning 2017 (PEARL 2017)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 09.00 – 16.30 น.
ห้องบรรยาย 2 ชั้น 1 อาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย


 
          โครงการส่งเสริมการศึกษาและวิจัยร่วมระบบขนส่งทางราง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้การสนับสนุนของ สวทช. ได้มุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาไปปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการที่มีความเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมขนส่งทางราง โดยดำเนินการผ่านกระบวนการสหกิจศึกษา และโครงการวิจัยของนักศึกษา ซึ่งการพัฒนานักศึกษาจากโครงการนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากำลังคนระบบราง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบรางของประเทศ ซึ่งในการดำเนินงานปีนี้ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน จากมหาวิทยาลัยจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีสถานประกอบการระบบขนส่งทางรางเข้าร่วมจำนวน 11 แห่ง ดังนี้

          1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
          2. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
          3. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
          4. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
          5. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
          6. บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
          7. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
          8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
          9. สำนักงานการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (สจส.)
        10. บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด
        11. บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด

          และมีหัวข้อวิจัยที่เกิดขึ้นจำนวน 22 เรื่อง ประกอบด้วยทุนประเภท สหกิจศึกษา 11 ทุน และปริญญานิพนธ์จำนวน 11 ทุน จำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 35 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งหมด 10 ท่าน

          กิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา ในงานประชุมวิชาการประจำปี ของ สวทช. ในปี 2560 (NAC2017) จึงเป็นเวทีเพื่อค้นหาไข่มุกระบบราง
 
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา
 

กำหนดการ

08.30 - 09.00 น.   

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

09.00 - 09.15 น.   

กล่าวเปิดงานโดยผู้แทนจาก สวทช.

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
09.15 - 09.30 น.   

การศึกษาวิธีปรับแก้การเยื้องศูนย์ของ Barrette Pile ส่วนสถานีรถไฟฟ้า
โครงการรถไฟสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
โดย     นางสาวกีรติญา เย็นวารี (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

09.30 - 09.45 น.

การศึกษาคุณภาพประแจของทางรถไฟเก่า เพื่อมาประยุกต์ใช้กับทางรถไฟใหม่ ที่โครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน)
โดย    นายอติศักดิ์ อติอานนท์ (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

09.45 - 10.00 น.

การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติทางวิศวกรรมของหินโรยทาง หมอนรองทาง
ชุดอุปกรณ์เครื่องยึดเหนี่ยว และราง โครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง

บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน)
โดย    นายณัฏฐนนท์ นุเวที (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

10.00 - 10.15 น.

การศึกษาและปรับปรุงคุณสมบัติทางวิศวกรรมของวัสดุพื้นทางของทางรถไฟ โครงการศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน)
โดย     นายกษิดิศ โคว้วารินทร์ (สหกิจศึกษา)    
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

10.15 - 10.30 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
10.30 - 10.45 น.   

การศึกษาผลกระทบของระยะห่างระหว่างสถานี ที่มีต่อการให้บริการรถไฟขนส่งมวลชน กรณีศึกษารถไฟฟ้าสายสีม่วง
Asian Engineering Consultants Corp., Ltd.
โดย     นายณัฐิพล ลิ้มวิไลรัตนา และนายขวัญชัย ฟุ้งมงคลเสถียร (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10.45 - 11.00 น.

การวัดน้ำหนักล้อรถไฟโดยวิธีวัดความเครียดเฉือน
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โดย    นายณัฐนนท์ สุวัมน์ธนากร และนายวชิรวิทย์ วงษ์สุวรรณ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
11.00 - 11.15 น.

ศึกษารูปแบบการเดินทางด้วยระบบขนส่งเสริม สาหรับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน   
บริษัท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
โดย    นางสาวทักษพร ทองบุญเพียร นางสาวสุภารัตน์ ภูนามูล
และนางสาวโสภิตา ประกอบนันท์ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
11.15 - 11.30 น.

การจำลองการใช้ไฟฟ้าของขบวนรถไฟฟ้า
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS)
โดย    นายชุติพนธ์ โมรานนท์ นางสาวปาริชาต สรรค์บริคณห์
และนายอนันชณัน ธนกฤตา (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

11.30 - 11.45 น.

ตู้ควบคุมการทำงานของระบบประตูกั้นชานชาลาจำลอง
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS)
โดย    นายเจษฎาวุธ เรืองโรจน์ และนางสาวสุทัศนันท์ อ้อสถิตย์ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

11.45 - 12.00 น.

อุปกรณ์ตรวจจับควันแบบชาญฉลาด
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTS)
โดย    นายกิติชัย ไชยศิลป์ นายภัทรภณ จิตรภักดี
และนายพงศ์วิช แต้พานิชเจริญ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

12.00 - 13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการเชื่อม
13.00 - 13.15 น.

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างจุลภาคของเหล็กรางรถไฟ ที่ผ่านกระบวนการเชื่อมด้วยวิธีเทอร์มิต
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
โดย    นายณัฐวัฒน์ ไชยชุมภู นายสุกฤษฏิ์ กฤตภาส
และนายอัษฎากรณ์ เลิศปฏิพบชัย (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
ทางราง

13.15 - 13.30 น.

การวิเคราะห์การขนของตัวดูดซับพลังงานในพาหนะระบบราง
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
โดย    นายวิศวนาถ ไชยชมภู และอัมรินทร์ มหาวงศนันท์ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

13.30 - 13.45 น

การประเมินความเค้นตกค้างโดยใช้สเตรนเกจ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โดย    นายนวพล คุ้มทรัพย์ (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์
 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

13.45 - 14.00 น.   

อิทธิพลของกระแสไฟฟ้าต่อโครงสร้างจุลภาค และความแข็งของรอยเชื่อมของโครงสร้างหลังคาสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
โดย    นายณฐพล โรจน์จินดางาม และนายธนัทเสฏฐ์ วงศ์วนิชทวี (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง
และโลจิสติกส์

14.00 - 14.15 น.

ปัจจัยในการเลือกใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
โดย    นางสาวพาริณี ยาณะเหล็ก (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

14.15 - 14.30 น.

การวิเคราะห์ความจุของรถไฟ ด้วยเทคนิคการณ์จำลองสถานการณ์
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
โดย    นายขวัญชัย โมสืบแสน (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

14.30 - 14.45 น.   

พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 - 15.00 น.

กรณีศึกษาการจัดการด้านการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต
(สถานีหลักหก)

บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด
โดย    นายภรต สร้อยสังวาลย์ (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

15.00 - 15.15 น.

ความพึงพอใจของผู้โดยสาร ที่มีต่ออัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชน
ระบบราง กรณีศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง กรุงเทพมหานคร

บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด
โดย    นายวิธิสวรรค์ ธนากิจ (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

15.15 - 15.30 น.

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบราง
กรณีศึกษาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว
บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด
โดย    นางสาวจิราพร จักรหวัด (สหกิจศึกษา)
สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

กลุ่มสาขาวิชาการผังเมือง
15.30 - 15.45 น.

การพัฒนาระบบขนส่งรองเพื่อเอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง
กรณีศึกษา สถานีบางหว้า

สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
โดย    นางสาวทรายงาม นิมิตหุต (ปริญญานิพนธ์)
สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

15.45 - 16.00 น.   

แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง - ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
โดย    นางสาวสายธาร ฮัน (ปริญญานิพนธ์)
สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

16.00 - 16.15 น.

กรอบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าเชิงนโยบาย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)
โดย    นางสาวภัททิยา ชินพิริยะ (ปริญญานิพนธ์)
สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

16.15 - 16.30 น.

มอบรางวัลพร้อมถ่ายรูปร่วมกัน

 
 
Mail