หัวข้อสัมมนาวิชาการ
|
|
ค่ายส่องโลกมหัศจรรย์ ผ่านเลนส์จิ๋ว "มิวอาย"
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ห้องประชุม 405 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
|
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ออกแบบและพัฒนากล้องจุลทรรศน์ดิจิทัล “ขนาดจิ๋ว” แบบพกพาโดยอาศัยเทคโนโลยีแสง เพื่อให้นักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสใช้ทดแทนกล้องจุลทรรศน์ที่มีจำนวนไม่เพียงพอ เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น มิวอายจะเปลี่ยนแท็บเล็ตของท่านให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพาได้ แถมบันทึกถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว และเมื่อนำมารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่นของอุปกรณ์พกพา อย่างเช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต จะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลได้โดยง่าย เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันอีกด้วย |
|
ในงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2560 นี้ ทีมวิจัยจากเนคเทค จะจัดค่าย ส่องโลกมหัศจรรย์ ผ่านเลนส์จิ๋ว "มิวอาย" เพื่ออบรมให้นักเรียน เยาวชน ผู้สนใจ ได้ทดลองใช้งานเลนส์จิ๋วมิวอาย ได้ทดลองถ่ายภาพ ส่งข้อมูลแลกเปลี่ยน เป็นการเปิดโลกใหม่ของเยาวชน และสร้างแรงจูงใจในการศึกษาหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป |
|
ค่าย ส่องโลกมหัศจรรย์ ผ่านเลนส์จิ๋ว "มิวอาย" รับเยาวชนอายุ 10-15 ปี เข้าอบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย |
|
กำหนดการ |
09.00-10.30 น.
|
ส่องโลกมหัศจรรย์ ผ่านเลนส์จิ๋ว "มิวอาย"(รอบที่ 1)
โดย ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
10.30-10.45 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45-12.00 น. |
ส่องโลกมหัศจรรย์ ผ่านเลนส์จิ๋ว "มิวอาย" (รอบที่ 2)
โดย ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์
หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
**รอบละ 30 ท่าน ผู้ปกครองสามารถลงทะเบียนให้บุตรหลานชื่อละ 1 ท่าน (แจ้งชื่อบุตรหลานหน้าห้องลงทะเบียน) |
|
|
|
รู้จัก “มิวอาย” |
|
กล้องจุลทรรศน์ถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สำหรับทุกคน โดยกล้องจุลทรรศน์นั้น มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1) ชนิดแสงเป็นประเภทแรกที่มีการใช้งานและเป็นประเภทที่ใช้กันทั่วไปถูกใช้ตามโรงเรียนไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญนับว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการใช้งาน
2) อิเลคตรอน คือการทำงานด้วยระบบอิเลคตรอนต้องการกระแสไฟฟ้าในการทำงาน และจะขยายภาพที่มีมุมมองที่มีรายละเอียดที่ดีกว่า
3) ระบบสแกนหรือที่เรารู้จักกันดีในนามของเครื่อง X-ray
กล้องแต่ละประเภทมีราคาสูง จึงมีน้อยรายมากที่จะมีไว้ใช้เอง ส่วนใหญ่ต้องใช้ในโรงเรียน และมีจำกัด หรือการใช้งานในระดับภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีราคาสูงมาก เนคเทค ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้โดยง่าย รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนเป็นนักค้นคว้าวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ได้ทุกที่และทุกโอกาส
เนคเทค จึงได้ออกแบบและพัฒนากล้องจุลทรรศน์ดิจิทัล “ขนาดจิ๋ว” แบบพกพาโดยอาศัยเทคโนโลยีแสง เพื่อให้นักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสใช้เลนส์ผ่านสมาร์โฟน ทดแทนกล้องจุลทรรศน์ที่มีจำนวนไม่เพียงพอ เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น |
|
|
|
มิวอายจะเปลี่ยนแท็บเล็ตของท่านให้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพาได้ และ “ฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วยตัวเอง Do-It-Yourself (DIY)” ซึ่งเลนส์มิวอายนี้ จะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับกล้องที่ติดมากับอุปกรณ์พกพา อย่างแทปเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือให้สามารถถ่ายภาพของวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น (แถมบันทึกถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้) และเมื่อนำมารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่นของอุปกรณ์พกพา อย่างเช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุม จะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลได้โดยง่าย เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และการพัฒนาแอพลิเคชั่นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องได้ |
|
การประยุกต์ใช้งาน
◦ ใช้ในการวินิจฉัยโรคในชนบท/ชุมชนห่างไกล
◦ การศึกษานอกห้องเรียน หรือ เป็นของเล่นเสริมทักษะความรู้
◦ กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
◦ บุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ |
|
|
|
|