หัวข้อสัมมนาวิชาการ
|
|
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย ระหว่าง
สถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 เวลา 14:30 – 15:30 น.
ห้องประชุม CC-307 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) จ.ปทุมธานี
|
|
|
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์, Generation Challenge Program (GCP) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ร่วมมือในการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนาบุคลากร และถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้หน่วยงานหลักที่พัฒนาพันธุ์ข้าวของประเทศในประชาคมลุ่มน้ำโขง ได้แก่ 1) กรมการข้าว ประเทศไทย 2) สถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ (NAFRI) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) กรมวิชาการเกษตรและชลประทาน (DAR) สาธารณรัฐเมียนมาร์ และ 4) สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตร (CARDI) ประเทศกัมพูชา โดยผ่านกระบวนการการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มีการปฏิบัติงานระยะยาว โดยใช้โจทย์วิจัยของแต่ละประเทศ เป็นหัวข้อในการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว และการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ทดสอบลักษณะสำคัญทางการเกษตรต่างๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแต่ละประเทศ เลือกปรับปรุงพันธุ์ข้าวของประเทศของตนที่ได้รับความนิยมภายในประเทศ โดยเสริมจุดแข็งและแก้จุดอ่อนของพันธุ์ข้าวเหล่านั้น ให้มีคุณลักษณะดีขึ้น ตรงความต้องการของเกษตรกรและตลาดปัจจุบัน สายพันธุ์ข้าวที่แต่ละประเทศปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณลักษณะที่ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ผ่านการประเมินศักยภาพผลผลิตในระดับสถานี และบางสายพันธุ์ผ่านการประเมินศักยภาพผลผลิตในระดับไร่นาเกษตรกร และได้รับการรับรองพันธุ์แล้ว อาทิ สถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ท่าดอกคำ 1 (HomThadokkham 1) ที่มีความหอม และคุณภาพการหุงต้มดีกว่าพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์ข้าวเจ้า เซบั้งไฟ 1 และ เซบั้งไฟ 2 ซึ่งทนน้ำท่วมฉับพลัน และมีคุณภาพการหุงต้มดี และหอม เซบั้งไฟ 4 ซึ่งเป็นข้าวเหนียว Thadokkham 1 ที่มีความหอม ทนน้ำท่วม และต้านทานโรคไหม้ เป็นต้น
|
|
จากความร่วมมือดังกล่าว สวทช. และสถาบันวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้หารือและเห็นชอบร่วมกัน ในการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย ระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี (ปี 2560 - 2565) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันดำเนินงานวิจัยและพัฒนา การสร้างขีดความสามารถ และการถ่ายทอด องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตร อาทิ การเก็บรวบรวมและประเมินเชื้อพันธุกรรมของข้าว ข้าวโพด และพืชอื่น ทั้งลักษณะฟีโนไทป์ และลักษณะจีโนไทป์ |
|
ดาวน์โหลดไฟล์ประกอบการสัมมนา |
|
|
|
กำหนดการ |
14.00 - 14.30 น. |
ลงทะเบียนแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน |
14.30 - 14.40 น. |
พิธีกรกล่าวต้อนรับประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน เข้าสู่ช่วงพิธีการ |
14.40 - 14.55 น. |
บทบาทของ สวทช. ต่อการสนับสนุนการวิจัย การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศในประชาคมลุ่มน้ำโขง
โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
ผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
14.55 - 15.10 น. |
บทบาทของ NAFRI ในการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทยทางด้านการเกษตร (Role of NAFRI to strengthen Thai-Laos PDR partnership on Agriculture)
โดย Dr.Bounthong BOUAHOM
ผู้อำนวยการ สถาบันการวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ (NAFRI), สปป.ลาว
|
15.10 - 15.20 น. |
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดย
• Dr.Bounthong BOUAHOM
ผู้อำนวยการ
สถาบันการวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ (NAFRI), สปป.ลาว
• ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล
ผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
พยาน
• Dr.Phetmanyseng Xangsayasane
สถาบันการวิจัยการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติ (NAFRI), สปป.ลาว
• ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง
ผู้อำนวยการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
|
15.20 - 15.30 น. |
มอบของที่ระลึก และถ่ายภาพร่วมกัน |
|
|
|