25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ
|
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Science, Technology and Innovation for Sustainable Consumption and Production or STI for SCP) |
วันที่และเวลา |
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2562 เวลา 09.00-16.00 น. |
สถานที่ |
ห้องประชุม CC-404 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ปีค.ศ.2016-2030 เป็นเป้าหมายการพัฒนาต่อเนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ปีค.ศ.2000-2015 ซึ่งขยายกรอบให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญที่ MDGs ไม่ได้กล่าวถึง อาทิ ความเหลื่อมล้ำของสังคม การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน และการเติบโตอย่างเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 17 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ และกว่า 230 ตัวชี้วัด ครอบคลุมภารกิจ 5P ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน (people) โลก (planet) ความเจริญก้าวหน้า (prosperity) สันติภาพ (peace) และความร่วมมือ (partnership) เพื่อผลักดันให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ที่มีส่วนร่วมในการผลักดัน SDGs ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะ SDG12 ที่มีเป้าหมายหลักคือ สร้างหลักประกันให้มีแบบแผน การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production : SCP) ให้เกิดขึ้นในประเทศ โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจ ควบคู่กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้มีส่วนสำคัญในการสร้างเครือข่ายด้าน SCP ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อช่วยกันผลักดันขับเคลื่อนงานด้าน SDGs และเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้และบุคลากร รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและการรายงานผลในภาพรวมของประเทศได้ โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาดำเนินการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ให้ก้าวทันโลก โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเข็มทิศนำทางการพัฒนาประเทศ
การจัดงานในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก โดยภาคเช้า เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ของนานาชาติและประเทศไทย สำหรับภาคบ่าย เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ผู้สนใจ รวมทั้งสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย และสมาชิกบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะภาคเช้า หรือเฉพาะภาคบ่าย ก็ได้
จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ร่วมกับ - เครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย - สถาบันคลังสมองของชาติ - บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กำหนดการ
|
09.00 – 09.10 น. |
กล่าวเปิด และแนะนำวัตถุประสงค์ของงาน |
09.10 – 10.30 น. |
The Role of Science Technology and Innovation in SDGs (in English) โดย ผู้แทนจาก United Nations Environment Programme (UN environment)
Ms. Sooksiri Chamsuk United Nations Industrial Development Organization (UNIDO)
Dr. Puja Sawhney EU SWITCH-Asia SCP Facility
Prof. Masahiko Hirao PECoP-Asia SCP Research Group, University of Tokyo, Japan
ดำเนินการโดย Dr. Thumrongrut Mungcharoen NSTDA and TAST |
10.30 - 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.00 น. |
อภิปรายแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่อง “การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ในประเทศไทย” (ภาษาไทย) โดย คุณรองวุฒิ วีรบุตร กระทรวงการต่างประเทศ
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
ดร.ฉัตรชัย อินต๊ะทา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
อ. ชล บุนนาค โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG move) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
คุณนำพล ลิ้มประเสริฐ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)
ดำเนินการอภิปรายโดย ดร. จิตติ มังคละศิริ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ Thai SCP network |
12.00 – 13.30 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย |
13.30 – 16.00 น. |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
- แนวคิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน สำหรับภาคส่วนต่างๆ อาทิ
- อุตสาหกรรม - เกษตรและอาหาร - การท่องเที่ยวและบริการ
- การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
(รับประทานอาหารว่าง เวลา 15.00 – 15.30 น.) |
< ย้อนกลับ
|