25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ |
การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าล้อยาง (Trolley Bus) ในเมืองเป้าหมายนำร่องของประเทศไทย (The Policy Study on Potential of Electric Trolley Bus Implementation in the Pilot Cities of Thailand) |
วันที่และเวลา | วันที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. |
สถานที่ | ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย |
ปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จนนำมาสู่ข้อตกลงภายใต้การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (Conference of Parties: COP-21) เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง ร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ.2060 ดังนั้น หลายประเทศจึงหาแนวทางการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในแต่ละสาขาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้น นโยบายด้านยานยนต์และการขนส่งของหลายประเทศจึงมุ่งส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ เพื่อทดแทนยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช. คลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงได้สนับสนุนชุดโครงการ“การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยางในเมืองเป้าหมายนำร่องของประเทศไทย” ซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการ โดยแบ่งตามพื้นที่การศึกษา ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองพิษณุโลก เมืองนครราชสีมา และเมืองพัทยา โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง (Electric Trolley Bus) กับรถโดยสารไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ ทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงเศรษฐศาสตร์ รวมถึงความเป็นไปได้ ในเชิงนโยบายในการนําเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทย เพื่อให้เกิดแนวทางการส่งเสริมการใช้รถโดยสารไฟฟ้า รวมทั้งทราบถึงผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมด้วย
|