25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62

หัวข้อ

ความก้าวหน้างานวิจัยคนไทยเพื่อการทดลองบนอวกาศ (National Space Exploration)
วันที่และเวลา วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 12.15 น.
สถานที่

ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

 

โครงการ National Space Exploration มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และต่อยอดกิจกรรมด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศในประเทศไทยใน เช่น การส่งงานวิจัยไปทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงหรือแรงโน้มถ่วงต่ำ (Microgravity) และการนำผลการทดลองหรือชิ้นงานและอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้น มาศึกษาพิจารณาค้นคว้าเพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมอวกาศและการสร้างคุณค่าเพื่อสังคมและประเทศ

ตลอดจนการคิดค้นและสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของคนในชาติ หรือไม่ว่าจะเป็นด้านการสำรวจอวกาศ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์อวกาศ และจักรวาลวิทยา ซึ่งจะเป็นการยกระดับการศึกษาการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์อวกาศและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการศึกษาให้กับประเทศได้ต่อไป และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวย ต่อการดำเนินด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ตลอดจนการนำนวัตกรรมอวกาศที่ได้ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ขยายขอบเขตเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอวกาศ Space Industry Technology อันเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มั่นคงและสร้างความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

รับของที่ระลึกฟรี : เข็มกลัดโครงการ National Space Exploration (เฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังสัมมนา)

กำหนดการ
09.00 – 09.15 น. กล่าวต้อนรับ
โดย คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.15 – 09.45 น. ประเทศไทยกับโอกาสในอุตสาหกรรมอวกาศ ผ่านโครงการ National Space Exploration และ Thailand Spaceport Consortium
โดย ดร. อัมรินทร์  พิมพ์หนู
หัวหน้าโครงการ National Space Exploration  
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
Presentation file (PDF)
09.45 – 10.15 น. สร้างคน สร้างอนาคต เพื่อพัฒนาวงการอวกาศของประเทศไทย
โดย นายปริทัศน์ เทียนทอง
นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช.
 Presentation file (PDF)
10-15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 – 11.00 น. โครงการวิจัย “ระบบพยุงชีพที่ยั่งยืนจากไข่น้ำสำหรับการสำรวจอวกาศในอนาคต”
โดย ดร. ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์
อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Presentation file (PDF)
11.00 – 11.30 น. โครงการวิจัย “วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน-สารยับยั้ง และโปรตีน-โปรตีนในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ สำหรับการพัฒนายาต้านมาลาเรีย”
โดย ดร. จารุณี วานิชธนันกูล
นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
Presentation file (PDF)
11.30 – 12.00 น. โครงการวิจัย “ผลของสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงต่อการผลิตกรดแกมมาพอลิกลูตามิกโดยแบคทีเรีย”
โดย ดร. สุวิมล เจตะวัฒนะ
หัวหน้าหน่วยบริการวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Presentation file (PDF)
12.00 – 12.15 น. สรุปภาพรวมการส่งเสริมและพัฒนาโครงการอวกาศของประเทศไทย
โดย
ดร.อัมรินทร์  พิมพ์หนู
หัวหน้าโครงการ National Space Exploration  
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
12.15 – 12.30 น. สรุปการสัมมนาและกล่าวปิด
โดย
ดร.นำชัย  ชีววิวรรธน์
ผู้อำนวยการ ฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ



< ย้อนกลับ