25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ
|
Lab network เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือต่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย |
วันที่และเวลา |
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 เวลา 13.20 – 16.30 น.
|
สถานที่ |
ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
ในระยะที่ผ่านมาเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่จากไวรัสชนิดใหม่หลายครั้งในภูมิภาคต่างๆของโลก ซึ่งโรคเหล่านี้มีศักยภาพในการระบาดในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังมีไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่มีการค้นพบในสัตว์ในประเทศและบริเวณใกล้เคียงที่มีความเป็นไปได้ในการะบาดสู่คน จึงมีความจำเป็นต้องสร้างเสริมศักยภาพการวิจัยและศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น สำหรับงานวิจัยด้านแบคทีเรีย ประเทศไทยในปัจจุบัน มีการวิจัยเกี่ยวกับแบคทีเรียก่อโรคร้ายแรง ที่สามารถก่อการระบาดและสามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้ค่อนข้างจำกัด จึงมีความจำเป็นต้องสร้างเสริมศักยภาพในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน สวทช.จึงเล็งเห็นความสำคัญในการให้ทุนเพื่อสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ (Lab Network) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ให้แก่ประเทศ โดยระยะแรกจะเป็นการสร้างเครือข่าย Lab network ทางด้านไวรัสและแบคทีเรียผ่านการให้ทุนวิจัย โดยคาดหวังว่าเครือข่าย Lab network ที่ สวทช. สนับสนุนนี้ จะสามารถสนับสนุนการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเกิดภาวะการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังหรือเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อได้ในอนาคต
กำหนดการ
|
13.20 – 13.30 น. |
กล่าวเปิดการประชุม โดย ศ. นพ. ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
13.30 – 14.45 น. |
Lab network เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือต่อเชื้อไวรัสอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โคโรน่าไวรัสในค้างคาวปากย่น โดย รศ. ดร. ประทีป ด้วงแค คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การพัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีต่อไวรัสอุบัติใหม่ จากไวรัสจำลอง โดย ศ. นพ. ประเสริฐ เอื้อวรากุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระบาดวิทยาของไวรัสระบบทางเดินหายใจที่พบในจังหวัดราชบุรี โดย นพ. พงศ์ธร ชาติพิทักษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
การสำรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในนกอพยพและนกธรรมชาติของประเทศไทย โดย ผศ. ดร. วิทวัช วิริยะรัตน์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยอาการรุนแรงจังหวัดนครราชสีมา และแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไม่ทราบสาเหตุด้วยแนวทาง Metagenomic โดย ดร. สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |
14.45 – 15.00 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 16.00 น. |
Lab network เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือต่อเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญ โดยเป็นการพัฒนาชุดตรวจทดสอบเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เช่น เชื้อ Bacillus anthracis โดย ศ. เกียรติคุณ วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae โดย ผศ. ดร. ภูณิกา งามวงศ์สถิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เชื้อ Clostridium botulinum โดย รศ. ดร. เทวัญ จันทร์วิไลศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เชื้อ Burkholderia pseudomallei สำหรับโรคเมลิออยด์ โดย ศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
16.00 – 16.30 น. |
ร่วมอภิปรายและซักถาม และปิดการสัมมนา |
< ย้อนกลับ
|