25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ
|
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน (Science Technology and Innovation for Sustainable Aquaculture Development in Thailand)
|
วันที่และเวลา |
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 - 16.30 น.
|
สถานที่ |
ห้องประชุม SSH-Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
|
|
แหล่งอาหารที่ยั่งยืนมีความสำคัญมากต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในทศวรรษหน้า แหล่งอาหารที่สำคัญคืออาหารที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง และหอย เป็นต้น เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์น้ำมีต้นทุน FCR ที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น และมีพื้นที่โลกที่เป็นแหล่งน้ำมหาศาลที่สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ ยกตัวอย่าง การเลี้ยงในกระชังที่นำไปวางในทะเลลึก เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมากในปัจจุบัน
การบริหารจัดการให้เกิดอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน จึงต้องคำนึงถึงแนวทางการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเอานวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้ระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงสัตว์น้ำ กระบวนการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การพัฒนาสูตรอาหารแหล่งโปรตีนทางเลือกเพื่อทดแทนการจับปลาขนาดเล็กในทะเล การพัฒนาวัคซีนสัตว์น้ำ เป็นต้น
การจะนำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ต้องเกิดความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั้งจากนักวิจัย ผู้เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศต่อไป
กำหนดการ
|
09.00 – 10.30 น. |
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ โดย ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
การวิจัยและพัฒนาเพื่อควบคุมปัญหาการเกิดโรคระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย ดร. กัลยาณ์ แดงติ๊บ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ Presentation File
การค้นหาและทดสอบสารยับยั้งไบโอฟิล์มของเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ โดย ดร. ชุมพร สุวรรณยาน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
กลไกภูมิต้านทานโรคในกุ้ง: ระบบโพรฟีนอลออกซิเดสและเปปไทด์ต้านจุลชีพ โดย ดร. ปิติ อ่ำพายัพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ Presentation File
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ โดย ดร. เปรมฤทัย สุพรรณกูล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ Presentation File การวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดย ดร. สรวิศ เผ่าทองศุข ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ |
10.30 – 11.00 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
11.00 – 12.00 น. |
ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยจากอดีตสู่อนาคต โดย คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) Presentation File |
12.00 - 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย |
13.00 - 14.30 น. |
การเสวนา เรื่อง เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิต โดย ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำปทุมธานี กรมประมง
ปลากะพงขาว สัตว์น้ำเศรษฐกิจมุ่งสู่ตลาดโลก โดย คุณสุทธิ มะหะเลา สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย Presentation File
ดำเนินรายการโดย ดร. กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ |
14.30 – 15.00 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
15.00 – 16.30 น. |
การเสวนา เรื่อง สัตว์น้ำไทย บูรณาการวิจัยเพื่ออนาคต โดย คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ บรรจงฟาร์ม
คุณอมร เหลืองนฤมิตชัย บริษัท มานิตย์ เจเนติกส์ จำกัด
คุณไพโรจน์ นิมิตกุลไพบูลย์ สมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย
คุณเอกอนันต์ ยุวเบญจพล บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด Presentation File
ดำเนินรายการโดย ดร. สรวิศ เผ่าทองศุข ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ |
< ย้อนกลับ
|