25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ |
พลิกโฉมประเทศ ขับเคลือนเมืองอัจฉริยะด้วยงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม | ||||||||||||||
วันที่และเวลา | วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. |
||||||||||||||
สถานที่ |
ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย |
||||||||||||||
เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในวงกว้างทั้งระดับประชาชนทั่วไป นักวิชาการ ตลอดจนนักธุรกิจ นักลงทุน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามผลักดันเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ด้วยการยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และมอบหมายให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว หลายภาคส่วนพยายามผลักดันให้เมืองใหญ่เล็ก ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกิดการปรับเปลี่ยนประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตครบครัน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค สาธารณูประการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และแวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว เป็นเมืองสำหรับการอยู่อาศัย เมืองศูนย์กลางธุรกิจ การเงิน เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อุตสาหกรรมไร้มลพิษ ฯลฯ เป้าหมายในการขับเคลื่อน Smart City เป็นการพัฒนาเมืองเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต โดยคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยดิจิทัลเทคโนโลยีช่วยในการบริหารจัดการ ทำให้เมืองมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอยู่เสมอ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการตามบริบท และศักยภาพของเมืองที่ต้องการพัฒนา ซึ่งถึอเป็นกลไกสำคัญที่สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” มีหลากหลายกิจการที่ต้องดำเนินการตามเป้าหมายเพื่อให้มีต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จ และมีหลากหลายกิจกรรมที่ต้องขับเคลื่อน ประกอบกับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ตามภารกิจหลักที่หน่วยงานนั้นๆ รับผิดชอบดูแล พร้อมจูงใจให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การสนับสนุนให้มีหน่วยงานเมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในระดับประเทศ และระดับเมือง เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการโดยตรง มีรูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน รวมทั้งทำหน้าที่ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในระยะยาว ตั้งแต่กำหนดนโยบาย เป้าหมาย การออกแบบ การพัฒนา การเลือกสรรเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เป็นต้น การผลักดันเมืองต้นแบบด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมเป็นการสร้างเมืองอัจฉริยะต้นแบบ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคิด ออกแบบ การสร้างเมือง ด้วยการจัดทำเมืองต้นแบบอย่างน้อย 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่ เช่นเชียงใหม่ ขนาดกลาง เช่นหนองคาย และเมืองอัจฉริยะขนาดเล็ก เช่น คลองหลวง ทั้งหมดนี้แม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เป็นโครงการ แผนงานบนพิมพ์เขียว แต่ทุกฝ่ายพร้อมเร่งผลักดันตามนโยบายชาติ ไปสู่การปฎิบัติ เพื่อพลิกโฉมประเทศ ยกระดับเมืองใหญ่ เมืองเล็ก สำหรับการอยู่อาศัย ดำเนินธุรกิจ ฯลฯ เพื่อเป็นเมืองแห่งอนาคตอย่างแท้จริง
|