25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ |
การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์โคนมด้วยชุดตรวจ Early P-Check เพื่อตรวจการตั้งท้องของแม่โคจากน้ำนม (Workshop on Improving Reproductive Efficiency in Dairy Cows by Early Detection of Pregnancy by using the Pregnancy Detection kit “Early P Check”) |
||||
วันที่และเวลา | วันพุธที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 12.30 น. |
||||
สถานที่ | ห้องประชุม CC-305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย | ||||
การตรวจยืนยันการตั้งท้องของแม่โคหลังการผสมเทียมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการระบบสืบพันธุ์ของแม่โคในฟาร์มเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุดตรวจ Early P-Check ที่สามารถวัดปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในน้ำนมของโคเพื่อการตรวจยืนยันการตั้งท้องของแม่โคได้ตั้งแต่ในวันที่ 20 และ 24 หลังการผสมเทียม ชุดตรวจดังกล่าวอาศัยหลักการคอมเพททิทีฟ อิไลซ่า (competitive ELISA) และทำงานร่วมกับระบบเวลล์สแกนสำหรับตรวจสอบปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในน้ำนมวัว (WellScan Progest) ชุดตรวจดังกล่าวสามารถวัดปริมาณของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำโดยให้ผลสอดคล้องกับการตรวจการตั้งท้องด้วยเครื่องอุลตราซาวด์มากกว่า 80% รวมทั้งยังมีความไวสูงเทียบเท่ากับชุดตรวจทางการค้าที่มีราคาแพง ดังนั้นชุดตรวจดังกล่าวนี้จึงเป็นชุดตรวจที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองเพื่อแยกแม่โคในกลุ่มที่ตั้งท้องและไม่ตั้งท้องออกจากกันได้อย่างชัดเจนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงได้ในภาคสนามและช่วยให้การวางแผนการจัดการระบบสืบพันธุ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้วิธีการตรวจวัดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในน้ำนมของโคด้วยชุดตรวจ Early P-Check เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ความเข้าใจตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
|