25 มี.ค. 62 | 26 มี.ค. 62 | 27 มี.ค. 62 | 28 มี.ค. 62
หัวข้อ |
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ และความต้องการโภชนะสำหรับโคนมไทย (Nutrients Requirement for Dairy Cattle in Thailand) |
||||||||
วันที่และเวลา | วันพุธที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. |
||||||||
สถานที่ | ห้องประชุม CC-305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย | ||||||||
ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 17,348 ครัวเรือน และมีจำนวนโคนมทั้งสิ้น 584,327 ตัว (กรมปศุสัตว์, 2560) กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีกำลังผลิตน้ำนมดิบไม่ต่ำกว่า 850,000 ตัน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์นมไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท การบริโภคน้ำนมของคนไทยอยูที่ประมาณ 14 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่ประชากรในแถบภูมิภาคอาเซียนบริโภคนมเฉลี่ย 60 ลิตรต่อคนต่อปี และค่าเฉลี่ยการดื่มนมของประชากรโลกอยู่ที่ 104.7 ลิตร/คนต่อปี ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจโคนมในประเทศไทย และโอกาสการขยายการเติบโตไปในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้อาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย เป็นอาชีพที่มั่นคง และยังมีโอกาสขยายตัวไปได้อีกมาก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการผลิตน้ำนมของประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กล่าวคือแม่โคยังให้ผลผลิตต่ำ ทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำนมยังคงสูงอยู่ (นมไทยเหนื่อยแต่มีหวัง สยามธุรกิจ 19 มิถุนายน 2556) อาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลถึงปริมาณผลผลิตน้ำนมและกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากอาหารคือต้นทุนการผลิตที่มีสัดส่วนสูงที่สุด ที่ผ่านมาการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับนวตกรรมอาหารสัตว์ได้มีการทำกันมาอย่างต่อเนื่อง และกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยในประเทศที่ผ่านมาเพื่อจัดทำคู่มือ “ความต้องการโภชนะของโคนมในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานอ้างอิงสำหรับงานวิจัยทางด้านอาหารโคนมของประเทศต่อไป คู่มือนี้ได้ถูกดำเนินการจัดทำจนเสร็จสิ้นแล้ว สมควรได้รับการเผยแพร่ในหมู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการในสาขาโภชนะศาสตร์โคนมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีผลพลอยได้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารโค ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนอาหารสัตว์ในขณะที่สัตว์ยังคงสามารถแสดงศักยภาพในการผลิตได้อย่างเต็มที่
|