ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Fri, 26 Mar 2021 13:58:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/19/agro10-metarhiziu/ Fri, 19 Mar 2021 04:13:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17065 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย        ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์ กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้ การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน        มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้ พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity) พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity) การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion […]

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

       ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  1. เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  2. ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP
  3. สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ
  4. ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์
  5. กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

       มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้

  • พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity)
  • พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion Test)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อดวงตา (Eye irritation/Corrosion Test)
  • ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ (Acute pulmonary toxicity/pathogenicity)

การใช้งาน

  • ควรฉีดพ่นช่วงเย็น (ประมาณ 17.00น. เป็นต้นไป) ในช่วงที่มีความชื้นสูง หรือควรให้น้ำในแปลงเพื่อเพิ่มความชื้นก่อนฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นช่วงเช้าเนื่องจากราเมตาไรเซียมเมื่อถูกแสงแดดและรังสียูวีจะถูกทำลาย
  • ควรพ่นให้ถูกตัวแมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่หลบอยู่ใต้ใบ จึงควรฉีดพ่นเน้นบริเวณใต้ใบและทั่วทรงพุ่ม หลังฉีดพ่นควรหมั่นตรวจนับแมลงหลังจากใช้แล้ว 2-3 วัน เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมแมลงศัตรูพืช
  • สำรวจแมลงและพ่นซ้ำทุก 3-7 วัน (ขึ้นกับการระบาด) ในกรณีพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบเจือจางเพื่อลดประชากรแมลงศัตรูพืชได้

สนใจก้อนเชื้อสดเมตาไรเซียม ติดต่อ :

บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด
โทรศัพท์ 090 8801089   อีเมล sale@svgroup.co.th

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro07-beauveria/ Wed, 17 Mar 2021 10:04:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15636 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia) เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี คัดเลือกสายพันธุ์  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  ไม่เกิดการดื้อยา  ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว  ต้นทุนการผลิตต่ำ การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย        เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง […]

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia)

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

คัดเลือกสายพันธุ์

  •  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค 
  • ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต 
  • ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 
  • ไม่เกิดการดื้อยา 
  • ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว 
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ

การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย

       เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง หรือสารแขวนลอยสปอร์ผสมลงในข้าวสารที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อและบรรจุในถุงพลาสติกทนความร้อน ปริมาณ 200-500 กรัม ขยำให้เข้ากันทั่วทั้งถุง บ่มเชื้อในที่ร่มและมีอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน เชื้อราที่ได้ในขั้นตอนนี้เป็นสปอร์ราสดที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากเก็บไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้  ทางศูนย์ฯ กำลังพัฒนาสูตรชีวภัณฑ์จากราบิวเวอเรียให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการนำไปใช้

สปอร์ราขึ้นปกคลุมบนเมล็ดข้าว

การใช้งาน

       เมื่อต้องการใช้ ให้ทำการล้างสปอร์ราออกจากเมล็ดข้าวโดยใช้น้ำสะอาดที่ผสมสารลดแรงตึงผิวหรือสารที่ช่วยให้สปอร์รากระจายตัวและเกาะติดกับผิวแมลงได้ดีขึ้น เช่น น้ำยาล้างจาน (1-2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร) หรือใช้สารจับใบตามอัตราที่แนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นำสารแขวนลอยสปอร์ไปฉีดพ่นในแปลงพืช โดยฉีดพ่นบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงเพื่อให้สปอร์ราสัมผัสกับตัวแมลงให้มากที่สุด ควรฉีดพ่นในตอนเย็นที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของรา ราบิวเวอเรียจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนและรังสียูวี ดังนั้นจึงไม่ควรฉีดพ่นเชื้อราขณะที่มีแดดจัดและความร้อนสูง

พัฒนากระบวนการผลิต

ขยายขนาดการผลิต

ผลิตภัณฑ์บิวเวอเรีย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ราบิวเวอเรีย ปราบเพลี้ยศัตรูพืช

ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 12 บิวเวอเรีย เชื้อรากำจัดเพลี้ย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro08-npv/ Fri, 05 Mar 2021 09:09:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) รู้จักไวรัสเอ็นพีวี          ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้ กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี          เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช […]

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

รู้จักไวรัสเอ็นพีวี

         ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย

  • เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
  • มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ
  • ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์
  • ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช
  • เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี

         เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช และตายโดยห้อยหัวและส่วนท้องลงเป็นรูปตัว “วี” หัวกลับ (V Shape) ผนังลำตัวของหนอนที่ตายแล้วจะแตกง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว ของเหลวภายในซากหนอนจะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี ​

หัวใจสำคัญของการใช้ไวรัสเอ็นพีวี

  • รู้จักชนิดของหนอน
    • หนอนกระทู้หอม
    • หนอนกระทู้ผัก
    • หนอนเจาะสมอฝ้าย
  • ประเมินความรุนแรงของการระบาด เพื่อเลือกปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
    • ระบาดน้อย ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน
    • ระบาดปานกลาง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน
    • ระบาดรุนแรง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นวันเว้นวัน จนกว่าหนอนจะลดลง
  • เทคนิคการใช้ไวรัสเอ็นพีวี
    • ฉีดพ่นหลังบ่ายสามโมง
    • ผสมสารจับใบ ช่วยให้ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดใบ
    • หัวสเปรย์แบบฝอยให้ละอองมากกว่าหัวสเปรย์ใหญ่ ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดบนใบได้ดีกว่า
    • เก็บขวดไวรัสเอ็นพีวีให้พ้นแสงแดด

วิธีสังเกตหนอน

การเลือกใช้ปริมาณไวรัสเอ็นพีวี ให้เหมาะสมกับระดับการระบาด

เทคนิคการต่อเชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับใช้ครั้งต่อไป

  • ใช้ทันที
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 2 ตัว ผสมน้ำ 1 ลิตร
  • เก็บเพื่อรอใช้
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 30 – 40 ตัว ใส่ขวดสีชา เติมน้ำสะอาดท่วมตัวหนอน เก็บในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) สามารถเก็บได้นาน 1 ปี
    • เมื่อจะนำไปใช้ ให้เขย่าขวดแล้วเทลงถังพ่นยา (15 ลิตร)
    • เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วจึงฉีดพ่น

หนอนที่ตายในช่วงที่เป็นสีขาวขุนจะได้เชื้อเอ็นพีวีดีที่สุด

ติดต่อสอบถาม

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC)

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>
วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro09-vippro/ Thu, 04 Mar 2021 10:27:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9154 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน      โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด […]

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

     วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

     โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและก่อความเสียหายอย่างมากกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดของประเทศไทย

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

         จุดเด่นของชีวภัณฑ์ VipPro คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว (ทำให้แมลงหยุดกินอาหารภายในหนึ่งชั่วโมง) ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี (NPV) ราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) และโปรตีนผลึกจากบีที (Cry toxins) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ชีวภัณฑ์เหล่านั้นอย่างน้อยสิบเท่าเมื่อใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ VipPro และสามารถใช้ได้กับแมลงที่ดื้อต่อสารเคมีหรือดื้อต่อโปรตีนผลึก ผลการทดสอบภาคสนามกับพืชหลายชนิด เช่น ข้าว คะน้า หอมแดง หน่อไม้ฝรั่ง พบว่าผลิตภัณฑ์ VipPro สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชใด้ดีมากในทุกแปลงทดสอบ ได้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

“วิปโปร” ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช​

  • VipPro ออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืนได้หลายชนิด ซึ่งแมลงเหล่านี้เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายอย่างมากต่อพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลง และแมลงที่ดื้อต่อโปรตีนผลึกของบีที
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย โปรตีนผลึกจากบีที ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้ในโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management: IPM)

การประยุกต์ใช้งาน

     ใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชผักผลไม้ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนที่เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนใยผัก หนอนคืบ เป็นต้น

ทดสอบกับหน่อไม้ฝรั่ง

หนอนที่ตายจากการกิน VipPro

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่เน้นการผลิตแบบปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย ไร้สารพิษ
  • นักลงทุนที่สนใจ

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

     มีต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการและระดับก่อนโรงงานต้นแบบ (Pre-pilot scale) รอผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเป็นระดับโรงงานต้นแบบและการผลิตเชิงพาณิชย์

ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อเกษตรปลอดภัย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>