เกษตร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 04 May 2021 07:21:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เกษตร – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/19/agro10-metarhiziu/ Fri, 19 Mar 2021 04:13:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17065 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย        ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์ กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้ การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน        มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้ พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity) พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity) การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion […]

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

       ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  1. เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  2. ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP
  3. สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ
  4. ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์
  5. กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

       มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้

  • พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity)
  • พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion Test)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อดวงตา (Eye irritation/Corrosion Test)
  • ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ (Acute pulmonary toxicity/pathogenicity)

การใช้งาน

  • ควรฉีดพ่นช่วงเย็น (ประมาณ 17.00น. เป็นต้นไป) ในช่วงที่มีความชื้นสูง หรือควรให้น้ำในแปลงเพื่อเพิ่มความชื้นก่อนฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นช่วงเช้าเนื่องจากราเมตาไรเซียมเมื่อถูกแสงแดดและรังสียูวีจะถูกทำลาย
  • ควรพ่นให้ถูกตัวแมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่หลบอยู่ใต้ใบ จึงควรฉีดพ่นเน้นบริเวณใต้ใบและทั่วทรงพุ่ม หลังฉีดพ่นควรหมั่นตรวจนับแมลงหลังจากใช้แล้ว 2-3 วัน เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมแมลงศัตรูพืช
  • สำรวจแมลงและพ่นซ้ำทุก 3-7 วัน (ขึ้นกับการระบาด) ในกรณีพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบเจือจางเพื่อลดประชากรแมลงศัตรูพืชได้

สนใจก้อนเชื้อสดเมตาไรเซียม ติดต่อ :

บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด
โทรศัพท์ 090 8801089   อีเมล sale@svgroup.co.th

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro07-beauveria/ Wed, 17 Mar 2021 10:04:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15636 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia) เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี คัดเลือกสายพันธุ์  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  ไม่เกิดการดื้อยา  ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว  ต้นทุนการผลิตต่ำ การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย        เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง […]

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia)

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

คัดเลือกสายพันธุ์

  •  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค 
  • ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต 
  • ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 
  • ไม่เกิดการดื้อยา 
  • ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว 
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ

การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย

       เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง หรือสารแขวนลอยสปอร์ผสมลงในข้าวสารที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อและบรรจุในถุงพลาสติกทนความร้อน ปริมาณ 200-500 กรัม ขยำให้เข้ากันทั่วทั้งถุง บ่มเชื้อในที่ร่มและมีอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน เชื้อราที่ได้ในขั้นตอนนี้เป็นสปอร์ราสดที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากเก็บไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้  ทางศูนย์ฯ กำลังพัฒนาสูตรชีวภัณฑ์จากราบิวเวอเรียให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการนำไปใช้

สปอร์ราขึ้นปกคลุมบนเมล็ดข้าว

การใช้งาน

       เมื่อต้องการใช้ ให้ทำการล้างสปอร์ราออกจากเมล็ดข้าวโดยใช้น้ำสะอาดที่ผสมสารลดแรงตึงผิวหรือสารที่ช่วยให้สปอร์รากระจายตัวและเกาะติดกับผิวแมลงได้ดีขึ้น เช่น น้ำยาล้างจาน (1-2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร) หรือใช้สารจับใบตามอัตราที่แนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นำสารแขวนลอยสปอร์ไปฉีดพ่นในแปลงพืช โดยฉีดพ่นบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงเพื่อให้สปอร์ราสัมผัสกับตัวแมลงให้มากที่สุด ควรฉีดพ่นในตอนเย็นที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของรา ราบิวเวอเรียจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนและรังสียูวี ดังนั้นจึงไม่ควรฉีดพ่นเชื้อราขณะที่มีแดดจัดและความร้อนสูง

พัฒนากระบวนการผลิต

ขยายขนาดการผลิต

ผลิตภัณฑ์บิวเวอเรีย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ราบิวเวอเรีย ปราบเพลี้ยศัตรูพืช

ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 12 บิวเวอเรีย เชื้อรากำจัดเพลี้ย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro-12-sea-bass/ Wed, 17 Mar 2021 07:51:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15392 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)          ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้          ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า “ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม […]

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

         ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้

         ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ขี้ปลาจะถูกนำออกจากระบบด้วยการดักกรอง และรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียน จะเป็นการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นของปลาสูง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยทั่วไปประมาณ 30 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา ทำให้ระบบการเลี้ยงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มเข้ามา ทำให้ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าราคาขายได้ แม้ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีก็ตาม

จุดเด่นเทคโนโลยี

         ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน ซึ่งมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติรายงานผลผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อแก้ปัญหาระบบการเลี้ยงปลาน้ำไหลเวียน โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถคำนวณและออกแบบระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานในการเลี้ยงปลาแต่ละประเภท เป็นการสร้างระบบเลี้ยงปลาที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นการประหยัดพลังงานด้วย โดยโปรแกรมยังสามารถคำนวณ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในช่วงระหว่างการเลี้ยงอีกด้วย สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีความจำเป็นในระบบน้ำไหลเวียนที่มีการเลี้ยงปลาความหนาแน่นสูง โดยระบบจะตรวจวัด ควบคุมและแจ้งเตือนปริมาณออกซิเจนในน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นเบสและอุณหภูมิ ในระบบให้เหมาะสม พร้อมแสดงผลและควบคุมระบบได้บนโมบายแอปพลิเคชั่นด้วย ทำให้การเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนมีประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถบริหารจัดการระบบได้อย่างทันท่วงที สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลการเลี้ยงที่ได้ในแต่ละครั้งสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาพารามิเตอร์ในการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุดได้ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปขยายผลสู่ชุมชนหรือเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/13/na17-plant-phenomics-facility/ Sat, 13 Mar 2021 04:17:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13534 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น        ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก […]

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านการเกษตรสมัยใหม่
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ในปัจจุบันการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีศักยภาพนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูง หรือ ฟีโนไทป์ (Phenotypic Characterization) ของพืชในเชิงลึก เช่น ลักษณะทางการเกษตรของ ต้น ดอก ราก เมล็ด คุณสมบัติทางเคมีของผลผลิต ความต้านทานโรค และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม แต่การคัดเลือกดังกล่าวยังใช้วิธีการปลูกประเมินในแปลงเป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และใช้เวลาในการปลูกประเมินค่อนข้างนาน รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม รวมถึงความแปรปรวนสูงของสภาวะแวดล้อม (Environment; E) ที่จะส่งผลต่อพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปริมาณธาตุอาหาร น้ำ แสง ความชื้นในดิน/อากาศ อุณหภูมิ เพื่อการเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น Biotic factors เช่น โรค แมลงได้อีกด้วย ส่งผลให้ความแม่นยำในผลของการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพมีประสิทธิภาพลดลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษาลักษณะการแสดงออก ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ แบบรวดเร็วและมีความแม่นยำมากขึ้น

       ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในศึกษาลักษณะการแสดงออกของพืช ทั้งทางด้านสรีรวิทยาและการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ระบบประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชอย่างรวดเร็วและแม่นยำ (High throughput Phenotyping) และ ระบบ Image Analysis ที่ประกอบไปด้วย Chlorophyll Fluorescence Units, Thermal Imaging Unit และ Hyperspectral Imaging Unit และรองรับการประมวลผลในรูปแบบ 3D imaging (3D Laser Scanning) ที่จะสามารถถ่ายภาพสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืชได้ทั้งต้นพืชส่วนเหนือดินและส่วนรากและหัวใต้ดินของพืช ภายใต้การควบคุมด้วยระบบสายพานลำเลียงอัตโนมัติ มีระบบรดน้ำและชั่งน้ำหนัก ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้นั้น ศูนย์แห่งนี้สามารถตรวจวัดต้นพืชที่มีขนาดความสูงได้ถึง 2.5 เมตร และมีความกว้างทรงพุ่มที่ 1.5 เมตร ในแบบไม่ทำลายต้น ที่สามารถตรวจวัดได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ และมีโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับ parameter ต่างๆ

Plant Phenomics

        ความรู้ด้านสรีรวิทยาและชีววิทยาที่ได้มานี้จะช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพ รวมถึงการจัดการและการควบคุมการเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำทางเทคโนโลยี High throughput Phenotyping และ Image Analysis มาช่วยในการคัดเลือกจะทำให้สามารถคัดเลือกได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตเชิงปริมาณที่สูงควบคู่กับมีคุณสมบัติที่ดี ทนต่อสภาวะแวดล้อมที่จำกัด เช่น ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง และยังรวมไปถึงการคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ เชิงคุณภาพ เช่น มีปริมาณธาตุอาหารสูง มีคุณสมบัติตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขายให้กับพืช และยังสามารถพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำที่สามารถติดตามและคาดการณ์สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับการให้ปุ๋ยและน้ำในปริมาณที่เหมาะสม จากองค์ความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การขยายผลใช้ประโยชน์ (Translational Research) ที่เชื่อมโยงกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคต เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรต่อไปได้อย่างยั่งยืน

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

Greenhouse

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด 

ติดต่อสอบถาม

เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยาและรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช (Plant Phenomics Facility) appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/agro-13-sugarcane/ Fri, 12 Mar 2021 08:02:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13238 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง          จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น          สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform […]

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

         อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง

         จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น

         สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการมาใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกอ้อยลูกผสม เพื่อลดระยะเวลาและงบประมาณของการปรับปรุงพันธ์อ้อย ปัจจุบันคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอ้อยสายพันธุ์ใหม่ คือ อ้อยภูเขียว ที่มีความหวานและผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐาน (KK3 หรือ ขอนแก่น 3) มีลักษณะทิ้งกาบใบเร็ว จึงช่วยแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว โดยได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ได้มีการปลูกทดสอบการปรับตัวในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ (จำนวน 24 แปลง) และในแปลงของเกษตรกรลูกไร่ของกลุ่มมิตรผลทั้งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แปลง (รวมเป็นพื้นที่ 130 ไร่) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของอ้อยสายพันธุ์ใหม่ และในปี 63/64 ได้ส่งเสริมการปลูกพันธุ์อ้อยภูเขียว ในพื้นที่ของเกษตรกรลูกไร่ จำนวนพื้นที่ 450 ไร่ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

นางสาวศศิวิมล บุญอนันต์
สังกัด ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>
ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro08-npv/ Fri, 05 Mar 2021 09:09:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) รู้จักไวรัสเอ็นพีวี          ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้ กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี          เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช […]

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

รู้จักไวรัสเอ็นพีวี

         ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย

  • เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
  • มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ
  • ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์
  • ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช
  • เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี

         เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช และตายโดยห้อยหัวและส่วนท้องลงเป็นรูปตัว “วี” หัวกลับ (V Shape) ผนังลำตัวของหนอนที่ตายแล้วจะแตกง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว ของเหลวภายในซากหนอนจะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี ​

หัวใจสำคัญของการใช้ไวรัสเอ็นพีวี

  • รู้จักชนิดของหนอน
    • หนอนกระทู้หอม
    • หนอนกระทู้ผัก
    • หนอนเจาะสมอฝ้าย
  • ประเมินความรุนแรงของการระบาด เพื่อเลือกปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
    • ระบาดน้อย ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน
    • ระบาดปานกลาง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน
    • ระบาดรุนแรง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นวันเว้นวัน จนกว่าหนอนจะลดลง
  • เทคนิคการใช้ไวรัสเอ็นพีวี
    • ฉีดพ่นหลังบ่ายสามโมง
    • ผสมสารจับใบ ช่วยให้ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดใบ
    • หัวสเปรย์แบบฝอยให้ละอองมากกว่าหัวสเปรย์ใหญ่ ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดบนใบได้ดีกว่า
    • เก็บขวดไวรัสเอ็นพีวีให้พ้นแสงแดด

วิธีสังเกตหนอน

การเลือกใช้ปริมาณไวรัสเอ็นพีวี ให้เหมาะสมกับระดับการระบาด

เทคนิคการต่อเชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับใช้ครั้งต่อไป

  • ใช้ทันที
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 2 ตัว ผสมน้ำ 1 ลิตร
  • เก็บเพื่อรอใช้
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 30 – 40 ตัว ใส่ขวดสีชา เติมน้ำสะอาดท่วมตัวหนอน เก็บในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) สามารถเก็บได้นาน 1 ปี
    • เมื่อจะนำไปใช้ ให้เขย่าขวดแล้วเทลงถังพ่นยา (15 ลิตร)
    • เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วจึงฉีดพ่น

หนอนที่ตายในช่วงที่เป็นสีขาวขุนจะได้เชื้อเอ็นพีวีดีที่สุด

ติดต่อสอบถาม

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC)

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro4-tissue-culture-bioreactor/ Fri, 05 Mar 2021 07:45:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10044 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย         ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น […]

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย

        ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น ได้แก่ สวก. และ iTAB ได้พัฒนาโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนาต้นกล้าปาล์มและมะพร้าวพันธุ์ดีแบบก้าวกระโดด เพื่อการขยายผลออกสู่เกษตรกร โดยใช้ทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่มีอายุยาว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการนำเอาเซลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีดีเอ็นเอในการขยายพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน แรงงาน และร่นระยะเวลาทั้งการผลิตและปรับปรุงพันธุ์  เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่งและยั่งยืน

        ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว แม้กระทั่งอินทผาลัมนั้น ทางห้องปฏิบัติการฯจะเลือกใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่กำลังมีการพัฒนา ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ ใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ตาข้าง มาฟอกฆ่าเชื้อและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโต (Plant growth regulator) บังคับให้เนื้อเยื่อมีการพัฒนาเป็นเซลหรือเนื้อเยื่อ รวมถึงเป็นต้นอ่อนที่มียอดและรากที่สมบูรณ์

        ปกติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่จะใช้ระบบอาหารแข็งโดยมี gelling agent หรือวุ้น ในการชักนำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นต้นอ่อนได้ เรียกว่า แคลลัส (callus) และจึงพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์ในสภาพปลอดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยทางหน่วยฯ ได้พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันและมะพร้าว โดยใช้ระบบอาหารเหลวและนำเอาระบบ bioreactor มาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการลดต้นทุน แรงงาน เวลา ในการพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         การนำเอาระบบอาหารเหลวมาใช้ร่วมกับระบบ bioreactor แบบกึ่งจม หรือ Temporary Immersion System (TIS) โดยมีหลักการการทำงานแบ่งเป็น 4  phases  ได้แก่

  1. Stationary phase : เนื้อเยื่อในระบบ อยู่ในสภาพปกติ โดยมี culture vessel ด้านบนที่มีเนื้อเยื่ออ และ media vessel ด้านล่างที่มีอาหารเหลว
  2. Immersion phase  เป็นระยะของการดันลมส่งให้อาหารเหลวใน vessel ด้านล่าง ขึ้นมาท่วมเนื้อเยื่อที่อยู่ใน vessel ด้านบน
  3. Drain phase  การปล่อยให้อาหารเหลวไหลกลับลงสู่ vessels  ด้านล่างตามแรงดึงดูดโลก
  4. Ventilation phase ระยะของการดันอากาศเข้าทาง vessels ด้านบน

         ซึ่งการนำเอาระบบ bioreactor นี้มาใช้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็น somatic embryo และพัฒนาเป็นต้น ( Plant regeneration) ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า นอกจากจะสามารถร่นระยะเวลาในการผลิตต้นอ่อนจากต้นแม่สายพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดต้นกล้าแล้ว ยังสามารถควบคุมสารอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดสารออกฤทธิ์ตามที่เราต้องการในพืชสมุนไพรบางชนิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นลดต้นทุน แรงงาน และเวลารวมถึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดดได้ในอนาคต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>
การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro05-gene-editing/ Fri, 05 Mar 2021 04:27:45 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9875 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย         ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ […]

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        ปัจจุบันทางหน่วยฯ กำลังดำเนินการสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) ที่แม่นยำ โดยเริ่มจากการสร้างระบบการพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อพิทูเนีย และพัฒนาระบบการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุ์กรรมเข้าสู่เซลล์พืชที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ยีนเรืองแสง (GFP) เป็น reporter gene ก่อน ซึ่งเป็นการปรับแต่งพันธุกรรมนี้ จะเอื้อประโยชน์ในการช่วยลดระยะเวลา ลดแรงงาน และต้นทุนในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ แล้วที่สำคัญยังช่วยให้ไม้ประดับ เป้าหมายมีลักษณะทางการตลาดที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในโครงการที่กำลังวิจัยเป็นการวิจัย โดยเลือกใช้พืชต้นแบบ ได้แก่ พิทูเนีย ซึ่งเป็นไม้หลายฤดู เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกทั้งปี ดอกมีสีสันหลายลักษณะ เหมาะกับการนำมาศึกษาการออกแบบวิธีการปรับแต่งยีน ได้อย่างดี โดยยีนเป้าหมายที่กำลังศึกษาได้แก่ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ รงควัตถุในกลีบดอก ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมแบบ กลิ่นของใบเตยในลำดับต้นและใบ ซึ่งหากเทคโนโลยีฐานนี้สำเร็จ คาดว่า นอกจากจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องาน functional genomics แล้วยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ เศรษฐกิจชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

        การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับแต่งพันธุกรรม (gene editing) นั้น มีองค์ประกอบอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาให้เกิดต้น (Plant regeneration system), ระบบการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์ (genetic transformation system), ระบบการออกแบบเวกเตอร์สำหรับการปรับแต่งพันธุกรรม (vector designation system), และ ระบบประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรม (biological evaluation for edited plant system)  โดยทั้ง 4 ระบบจะทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบการพัฒนาให้เป็นต้นและการส่งถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์นั้นเป็นระบบพื้นฐานที่ช่วยส่งผลให้เวกเตอร์ที่เราออกแบบไว้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการประเมินและคัดเลือกต้นที่ได้รับการปรับแต่งพันธุกรรมนั้น เป็นระบบที่ใช้ตรวจสอบตำแหน่งของพันธุกรรมและยีนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกของลักษณะเป้าหมายที่ต้องการได้

การพัฒนาให้เกิดต้นจากเนื้อเยื่อ แผ่นใบของพิทูเนีย

ลักษณะการแสดงออกของ reporter gene (GFP) ในต้นอ่อนพิทูเนียที่ได้รับการส่งถ่ายชุด ปรับแต่งพันธุกรรมเข้าสู่พันธุกรรมเข้าสู่เซลล์

ลักษณะการแสดงออกของยีน GFP แบบ stable expression ในใบของ transgenics พิทูเนีย

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อพืชกับการแก้ปัญหาทางการเกษตร

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การสร้างเทคโนโลยีฐานในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro02-rice-gene/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:21 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9872 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดารักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ข้าวเพื่อความมั่นคง ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน   ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน            ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ […]

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
รักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ข้าวเพื่อความมั่นคง

ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

 ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

          ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ กข6 ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีน้ำตาล คุณภาพการขัดสีดีกว่าพันธุ์ กข6 คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนเหนียวนุ่ม ข้าวสุกเมื่อเย็นคงความนิ่ม เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค ได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา

ข้าวเหนียวหอมนาคา

         ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ได้จากการผสมระหว่างข้าวสายพันธุ์ RGD10033-77-MS22 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD11169-MS8-5 เป็นสายพันธุ์พ่อ ที่ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อปี 2556 จนได้ลูกผสมชั่วที่1 แล้วคัดเลือกลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว และลักษณะข้าวเหนียว โดยวิธีสืบประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จากนั้นทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เมื่อปี 2562 จนคัดเลือกได้ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ซึ่งมีลักษณะขาวเหนียว กลิ่นหอม นุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 930 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา 

        ข้าวเจ้า “พันธุ์หอมจินดา” ได้จากการผสมข้ามพันธุ์แบบดั้งเดิมระหว่างข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD07097-1-MAS-8-9-0-0 เป็นสายพันธุ์พ่อ ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ได้ปลูกทดสอบและคัดเลือกร่วมกับมูลนิธิรวมใจพัฒนา แล้วประเมิณลักษณะคุณภาพการหุงต้มทางกายภาพและทางเคมี ณ ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จนคัดเลือกได้ข้าวเจ้าหอมนุ่ม“พันธุ์หอมจินดา” ซึ่งมีลักษณะเมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่ม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลางให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 838 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวเจ้าพันธุ์ธัญญา6401

ข้าวพันธุ์ธัญญา6401

      ข้าวพันธุ์ “ธัญญา6401” (RGD12123-B-MS178-MS2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง ทรงต้นตั้งตรง ลำต้นแข็งแรง แตกกอดี ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (มียีน xa5+xa33+Wxb) คุณภาพหุงต้มนุ่ม

      ข้าวสายพันธุ์นี้ ได้จากการผสมข้ามระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุง RGD07097-1-MAS-8-9 (มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง xa5+Xa21+xa33+Wxb) เป็นสายพันธุ์พ่อ จากนั้นคัดเลือกยีนเป้าหมายด้วยเครื่องหมายโมเลกุล และทำควบคู่กับการคัดลักษณะทรงต้นและผลผลิตไปพร้อมกัน จนได้สายพันธุ์ปรับปรุงที่มียีนคงตัว และทำการทดสอบผลผลิตและทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ก่อนนำไปปลูกคัดเลือกประเมินลักษณะผลผลิตภายในสถานีวิจัยรวมใจพัฒนา ในปี 2560 และ 2561 จากนั้นทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดี และทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นนทบุรี ปี 2561 และ 2562 พบว่า สายพันธุ์ RGD12123-B-MAS-178-MAS-2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 750-800 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จึงทำการปลูกขยายและผลิตเมล็ดพันธุ์

ข้าวสรรพสี

จากข้าวไรซ์เบอร์รี่สู่ข้าวสรรพสี

ข้าวสรรพสี

      เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ จากนั้นทำการคัดเลือกต้น F2 โดยเน้นจากความหลากหลายของเฉดสีบนแผ่นใบ รูปร่างใบ ขนาดใบ ซึ่งพบการกระจายตัวของสีใบตั้งแต่เขียวสลับขาว ชมพู ม่วง คัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดี สีใบและรูปร่างใบ มีความสม่ำเสมอ เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเฉดสีใบจากรุ่น F2 ที่ดีที่สุด จนในปี 2558-2559 ได้ข้าวสรรพสีที่มีสีของใบแตกต่างกัน ความสูงต่างกัน ทรงกอตั้ง ไม่ไวแสง อายุยาว จำนวน 5 สายพันธุ์

ประกอบด้วย
1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01),
2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02),
3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03),
4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

       รงควัตถุที่พบในข้าวสรรพสี คือ anthocyanin ที่สะสมอยู่จนทำให้ใบและทุกส่วนของก้านดอกข้าว มีสีสวยงามตั้งแต่ม่วงไปจนถึงชมพู anthocyanin ที่พบในข้าวสรรพสี มีส่วนผสมกันของ cyaniding-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peonidin-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peargomidin-3-glucoside (สีส้ม) และ delphinidin-3-glucoside (สีน้ำเงิน-แดง)
สาร anthocyanin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในข้าว เพราะมีปริมาณมากที่สุดและสามารถละลายน้ำได้ ถูกดูดซึมได้ง่าย การบริโภคข้าวกล้องที่มีสี รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีสี จึงช่วยลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น anthocyanin ยังเป็นสารกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอย ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

เครือข่ายพันธมิตร

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro16-chelate-fertilizer/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:02 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้ • […]

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน

        พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้

• เพิ่มจุดเด่นและความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์
• เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช
• เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบ
• เพิ่มกรดอะมิโนให้แก่พืช
• เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• ลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยเคมีที่เกินความจำเป็น
• ลดปัญหาการตกตะกอนของสารละลายคีเลต
• ลดความเป็นอันตรายจากการใช้สารสังเคราะห์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คำขออนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1503000472
เรื่อง สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดิน
ยืนคำขอ วันที่ 1 เมษายน 25581

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>
วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro09-vippro/ Thu, 04 Mar 2021 10:27:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9154 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน      โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด […]

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

     วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

     โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและก่อความเสียหายอย่างมากกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดของประเทศไทย

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

         จุดเด่นของชีวภัณฑ์ VipPro คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว (ทำให้แมลงหยุดกินอาหารภายในหนึ่งชั่วโมง) ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี (NPV) ราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) และโปรตีนผลึกจากบีที (Cry toxins) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ชีวภัณฑ์เหล่านั้นอย่างน้อยสิบเท่าเมื่อใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ VipPro และสามารถใช้ได้กับแมลงที่ดื้อต่อสารเคมีหรือดื้อต่อโปรตีนผลึก ผลการทดสอบภาคสนามกับพืชหลายชนิด เช่น ข้าว คะน้า หอมแดง หน่อไม้ฝรั่ง พบว่าผลิตภัณฑ์ VipPro สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชใด้ดีมากในทุกแปลงทดสอบ ได้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

“วิปโปร” ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช​

  • VipPro ออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืนได้หลายชนิด ซึ่งแมลงเหล่านี้เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายอย่างมากต่อพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลง และแมลงที่ดื้อต่อโปรตีนผลึกของบีที
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย โปรตีนผลึกจากบีที ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้ในโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management: IPM)

การประยุกต์ใช้งาน

     ใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชผักผลไม้ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนที่เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนใยผัก หนอนคืบ เป็นต้น

ทดสอบกับหน่อไม้ฝรั่ง

หนอนที่ตายจากการกิน VipPro

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่เน้นการผลิตแบบปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย ไร้สารพิษ
  • นักลงทุนที่สนใจ

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

     มีต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการและระดับก่อนโรงงานต้นแบบ (Pre-pilot scale) รอผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเป็นระดับโรงงานต้นแบบและการผลิตเชิงพาณิชย์

ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อเกษตรปลอดภัย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro003-tomato/ Thu, 04 Mar 2021 10:07:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9055 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด         มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น   […]

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลผลมีเนื้อหลายเมล็ด อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด

        มะเขือเทศในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ มะเขือเทศท้อผลใหญ่และมะเขือเทศสีดา นิยมนำไปผ่านกระบวนการแปรรูป  เช่น ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ  และมะเขือเทศเชอรี่ นิยมรับประทานผลสดล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการมากมาย เนื่องจากมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งไลโคปีน คือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ อันมีสาเหตุมาจากเซลล์ถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในด้านการบำรุงผิวพรรณ รักษาสิว เป็นต้น

      ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้ามะเขือเทศสดและแปรรูปจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท แม้ว่ามะเขือเทศสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยนิยมเพาะปลูกมากที่จังหวัด เชียงใหม่ สกลนคร เพชรบุรี เป็นต้น แต่เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่เกิดการระบาดของโรคได้ง่ายหากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศไม่เหมาะสม โดยโรคที่พบมากในมะเขือเทศ ได้แก่ โรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว โรคใบไหม้ และโรคผลเน่า อีกทั้งยังมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ตลอดอายุการเพาะปลูก จึงต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ดังนั้นนักวิจัยจากทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค สวทช. จึงได้ปรับปรุงสายพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ ให้มีความต้านทานโรคต่าง ๆ ทั้งโรคใบหงิกเหลือง โรคเหี่ยวเขียว และโรครากปม รวมถึงมีรสชาติดีอีกด้วย

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3) และสายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

มะเขือเทศสายพันธุ์แดงโกเมน (PC3)

มะเขือเทศสายพันธุ์สายพันธุ์ซันไชน์ (PC11)

        มะเขือเทศพันธุ์ใหม่ทั้ง 2 พันธุ์นี้เกิดจากการนำมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 (พัฒนาพันธุ์โดยผศ. ถาวร โกวิทยากร) ซึ่งมีรสหวานกรอบ แต่ข้อเสียคือไม่ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง มาผสมพันธุ์กับ มะเขือเทศพันธุ์ GT645-2 (พันธุ์จากบริษัท Semillas Tropicales) ซึ่งมียีนต้านทานโรคใบหงิกเหลือง และนำมาผสมกลับ  (backcross) กับมะเขือเทศพันธุ์ Snack slim 502 ที่แปลงปลูก บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง พ.ศ. 2553-2558 โดยใช้เทคนิค Marker Assisted Selection ร่วมกับวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม และคัดเลือกต้นมะเขือเทศที่มียีนต้านทานโรคด้วย SCAR (Sequence Characterized Amplified Region) DNA Marker ช่วยให้คัดเลือกได้อย่างแม่นยำ และใช้เวลาในการคัดเลือกสั้นลง

จุดเด่น

  1. ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลืองในระดับดี 
  2. ผลหวานกรอบ และเมล็ดน้อย 
  3. สามารถเพาะปลูกได้ทั่วประเทศ นิยมปลูกในภาคเหนือโดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน 
  4. ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 5 ตันต่อไร่ 
  5. ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตรแล้ว 
  6. ปัจจุบันได้ถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงการค้าและถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการผลิตผลสดต่อไป

*ความหวานหน่วย brix มีระดับความเข้มข้น 1 บริกซ์ เท่ากับน้ำตาลซูโครส 1 กรัม ในสารละลาย 100 กรัม

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน มะเขือเทศลูกเล็กต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

มะเขือเทศลูกเล็กที่ทานสดอย่างพันธุ์ Snack-Slim 502 กำลังได้รับความนิยมมาก เพราะทั้งหวานกรอบและมีวิตามินซีสูง แต่มะเขือเทศพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคใบหงิกเหลือง เวลาเกิดโรคทีเสียหายกันทั้งแปลง นักวิจัยไทยจึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศ ที่กรอบอร่อยเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมด้วยคุณสมบัติต้านทานโรคใบหงิกเหลือง

ติดต่อสอบถาม

ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์
ทีมวิจัยพืชและแบคทีรีโอฟาจ (APTV)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

The post มะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ ต้านทานโรคใบหงิกเหลือง appeared first on NAC2021.

]]>
AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro14-agritec-station/ Thu, 04 Mar 2021 09:42:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9117 ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)          สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น         บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น         หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ […]

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

         สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

        บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี 3) ภาคอีสาน ได้แก่ เพชรบูรณ์  ร้อยเอ็ด  เลย  กาฬสินธุ์ สุรินทร์  อุบลราชธานี  นครพนม ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุดรธานี 4) ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา 5) ภาคใต้ ได้แก่ พัทลุง โดยแบ่ง 3 ระดับคือ ระดับชุมชน 48 แห่ง ระดับภูมิภาค 7 แห่ง และสถานีเรียนรู้กลาง 1 แห่ง หรือที่เรียกว่า AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นแปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ

        AGRITEC Station คือ แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง facebook สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

AGRITEC Station Journey

แนะนำ AGRITEC Station แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร
โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ติดต่อสอบถาม

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>