เครื่องมือเเพทย์ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 25 Mar 2021 17:28:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เครื่องมือเเพทย์ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/medical04-coxy-amp-2/ Fri, 12 Mar 2021 13:41:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13393 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)        ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO […]

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)  

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

       ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่า โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ โดยหากตัวอย่างส่งตรวจมีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำสูง ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ราคาแพง เป็นการทำงานแบบขั้นตอนเดียว ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทดสอบเพียง 75 นาที

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

ติดต่อสอบถาม

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>
หน้ากากอนามัย Safie Plus http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical03-safie-plus/ Fri, 05 Mar 2021 09:22:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9153 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)          หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99% การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์ ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน       […]

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>

หน้ากากอนามัย Safie Plus

หน้ากากอนามัย Safie Plus

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

         หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น
  • มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์
  • มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์
  • มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99%

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์
  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา
2

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

        ส่งมอบหน้ากากอนามัย Safie Plus ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข ที่ติดต่อขอรับการสนับสนุนหน้ากากอนามัย ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 5 (เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี) โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลหาดใหญ่, โรงพยาบาลบ้านแพ้ว, โรงพยาบาลแม่ระมาด, โรงพยาบาลอุ้มผาง, โรงพยาบาลแม่สอด, โรงพยาบาลพระปกเกล้า, โรงพยาบาลระยอง, สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 2 (พิษณุโลก, ตาก, สุโขทัย, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์), ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งหมดเป็นจำนวนกว่า 200,000 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19

ติดต่อสอบถาม

ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical05-bodiiray-r/ Fri, 05 Mar 2021 08:20:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10096 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)     บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay R Specifications Detector Type Amorphous Silicon TFT Scintillator CsI Detector Size 43 […]

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

    บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล
  • ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay R Specifications

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Scintillator

CsI

Detector Size

43 cm x 36 cm (17″ x 14″)

43 cm x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Detector Output

Wireless or Wired

A/D Conversion

16 bits

Trigger Mode

AED

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การใช้งาน BodiiRay R

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานกับเครื่องเอกซเรย์ทั้งแบบแขวนเพดานและแบบเคลื่อนที่ได้ในการแปลงระบบเอกซเรย์เดิมในเป็นระบบดิจิทัล เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป ณ โรงพยาบาลแม่ระมาด จ.ตาก และโรงพยาบาลห้วยยอด จ.ตรัง และเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และโรงพยาบาลสนาม วัดช่องลม โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical02-bodiiray-s/ Fri, 05 Mar 2021 08:14:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10045 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)       บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay S Specifications Tube Voltage 40 – 125 kV Tube Current 10 – 400 mA Exposure […]

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

      บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี
  • สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay S Specifications

Tube Voltage

40 – 125 kV

Tube Current

10 – 400 mA

Exposure Time

1 ms – 10 s

mAs Range

0.1 – 630 mAs

Generator Power

32 kW

Focal Spot

0.6/1.5 mm

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Detector Size

43 x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Source to Detector

180 cm

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ความปลอดภัยทางรังสีจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
  • ความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
  • มาตรฐาน ISO 13485 จากบริษัท TÜV SÜD

การใช้งาน BodiiRay S

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจสุขภาพ ณ ศูนย์ตรวจสุขภาพธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, และได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 1 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี และใช้งานเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลสนาม วัฒนาแฟคตอรี่ โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ โรงพยาบาลสนาม ตำบลท่าทราย โดยโรงพยาบาลสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>