ยาและวัคซีน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Tue, 23 Mar 2021 10:33:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png ยาและวัคซีน – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/18/vaccine02-biopharmaceuticals/ Thu, 18 Mar 2021 02:52:36 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=16213 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ […]

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ
โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร

สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar 

ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ trastuzumab ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมกลุ่ม HER2-positive มีราคาต่อหน่วยค่อนสูงถึง 17,000 บาท ถึง 45,000 บาทขึ้นอยู่กับความแรง ทำให้คนไทยเข้าถึงยาได้ยาก ประกอบกับการที่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ทำให้ต้องนำเข้า ก่อให้เกิดการขาดดุลการค้า สูงถึงปีละกว่า 1500 ล้านบาทโดยประมาณ

สถานะปัจจุบันของงานวิจัย

         ด้วยเหตุนี้ สวทช. โดยทีมวิจัยโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ Prof Mark Smales จาก University of Kent จึงร่วมกันพัฒนา biosimilars โดยเริ่มจากการคัดเลือกเซลล์เพื่อให้ได้เซลล์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในการผลิต trastuzuma จากนั้นทดลองผลิตในระดับ lab scale เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพียงพอต่อการทำการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของ Trastuzumab เทียบกับ Originator และถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเซลล์ที่ผลิต trastuzumab นี้ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในระดับ 500 – 5000 มิลลิลิตร ที่ NBF เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใช้ขึ้นเองภายในประเทศไทย 

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ สวทช. ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตยาและวัคซีน ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตยาจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. เรียบร้อยแล้ว

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงานและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศโดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วนได้แก่ การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวนการผลิต การขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ การบริการผลิตยาชีววัตถุ ที่สามารถผลิตยาชีววัตถุที่เป็นโปรตีนโดยใช้กระบวนการวิศวกรรมชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต รวมถึงการผลิตยา วัคซีนและสารชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงชนิดอื่น การบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ ระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP

แนะนำโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF)

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) เป็นโรงงานต้นแบบเอนกประสงค์ระกับกึ่งอุตสาหกรรม ออกแบบตามมาตรฐาน GMP PIC/s สำหรับการผลิตยาชีววัตถุเพื่อการทดสอบทางคลินิกได้ ให้บริการรับจ้างวิจัย รับจ้างผลิต และฝึกอบรม โดยมีห้องสะอาด ในระดับ BSL-2 พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับผลิตยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้ยีสต์หรือแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต และยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้เซลล์สัตว์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>
วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/vaccine05-porcine-circo-virus-pcv2/ Wed, 17 Mar 2021 10:06:17 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15639 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน […]

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

      ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น

     วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท

PCV2

      โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน เช่น วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2  PCV2d ชนิดใหม่ เพื่อการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

จุดเด่นของงานวิจัย

     โดยการวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบแอนติเจนจากไวรัสสายพันธุ์ที่เหมาะสม การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาระบบที่ให้ผลผลิตสูงและมีราคาต้นทุนต่ำ การทดสอบวัคซีนต้นแบบในสัตว์ทดลอง การพัฒนาชีวกระบวนการเพื่อให้สามารถผลิตได้ในระดับใหญ่ขึ้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ปัจจุบันทีมวิจัยได้ผลิตต้นแบบของวัคซีน PCV2d ชนิดใหม่โดยใช้การหมักแบคทีเรียและกระบวนการทำบริสุทธิ์ขั้นตอนเดียว โดยสามารถขยายขนาดได้ถึง 30 ลิตรโดยให้ผลคงที่ทั้งในห้องปฏิบัติการที่อังกฤษและไทย และอยู่ในระหว่างการทดลองประสิทธิภาพในสุกร (ร่วมทุนระหว่างทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักรและ สวทช.) หลังจากมีผลสามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในสัตว์เล็ก (กระต่ายและหนูทดลอง)

     ในอนาคตหลังจากได้ผลการทดลองในสุกรแล้ว จะทดลองขยายขนาดการผลิตเป็น 200 ลิตรเพื่อพัฒนากระบวนการขั้นต่อไป วางแผนขอขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมกับหาความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อไป

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพสำหรับผลิตวัคซีน PCV2 ขนาด 30 ลิตร

สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร​

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

     สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์นี้ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลและสนับสนุนด้านการผลิตวัคซีน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สดใจผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีราคาถูกกว่าการใช้วัคซีนนำเข้าจากต่าง ประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

PCV2 : ไวรัสู่วัคซีน

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) โดยโครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF

ติดต่อสอบถาม

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ
ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>
การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/vaccine04-metabolic-syndrome/ Tue, 16 Mar 2021 08:34:38 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14773 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่           ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic […]

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น 

         สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และความจำ และผลจากการให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบ Montreal Cognitive Assessment scale (MoCa) พบว่า ยิ่งมีภาวะอ้วนลงพุงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความบกพร่องในการเรียนรู้และความจำมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

       คณะวิจัยยังค้นพบอีกว่า ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับ HbA1c (ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือน) และระดับ FGF21 มีความสัมพันธ์โดยตรงและสูงที่สุด ต่อการมีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้และความจำ ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และยังชี้ให้เห็นว่าควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความสำคัญของ FGF21 กับการทำงานของสมอง โดยเฉพาะส่วนการเรียนรู้และความจำ ทั้งนี้คณะวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ FGF21 และค่าทาง Metabolic ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุงว่า ระดับ FGF21 ในเลือดของผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง อาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยคณะผู้วิจัยได้จดสิทธิบัตรองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์และตัวบ่งชี้ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม การค้นพบในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยและศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

     คณะวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (VNS) ของสมองที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จะส่งผลให้ไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ต่อได้

 

         ทั้งหมดข้างต้น คือ ส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จากการสนับสนุนภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ โดยสรุป ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 160 เรื่อง ผลงานที่กำลังอยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร 2 เรื่อง รางวัลระดับนานาชาติ 18 รางวัล ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท จำนวนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในทีม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โครงการวิจัยนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพวิธีการในการดูแลรักษาและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>
โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine03-emerging-infectious-diseases/ Mon, 15 Mar 2021 07:27:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14365 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า […]

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า 24 ปี  มีผลกระทบอย่างชัดเจนในการลดอุบัติการณ์ของพาหะไวรัสตับอักเสบ บี คณะวิจัยได้ใช้จังหวัดเพชรบูรณ์ นำร่องในการศึกษาด้านระบาดวิทยา การตรวจวินิจฉัย เป็นแนวทางสู่การรักษา เพื่อเป็นรูปแบบของการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่จะใช้ในการขยายกวาดล้างทั้งประเทศ

         การศึกษาเรื่องวัคซีน คณะวิจัยบุกเบิก ศึกษาผลระยะยาวการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบและโปลิโอ ศึกษาประสิทธิผลของป้องกัน  หัด หัดเยอรมันและคางทูม คณะวิจัยพบว่า การให้วัคซีนรวม 5 โรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โดยจะต้องกระตุ้นที่ 18 เดือน เพื่อให้ง่ายและเกิดความคุ้มค่า แทนที่จะให้วัคซีนรวมสามโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เท่านั้น นอกจากนี้การให้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ก็เช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถนำมาประยุกต์ต่อแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ เพื่อกำหนดตารางการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมต่อการให้วัคซีนในเด็กไทย

         การศึกษาโรคไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยเป็นผู้นำในการศึกษาโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส (hMPV) และไวรัสโรคทางเดินหายใจ ด้านระบาดวิทยาและแนวลึก เชิงโมเลกุล สายพันธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลของประเทศไทย โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และโรคท้องเสียที่เกิดจากไวรัสโรต้าและไวรัสโนโร ศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ทราบข้อมูลของประเทศไทย

        คณะวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยด้านไวรัส เช่น การตรวจไวรัสในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคมือเท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง การตรวจไวรัสโนโร ไวรัสตับอักเสบ อี  และโรคอุบัติใหม่ เช่น ไวรัสซิกา และยังได้พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อ RSV และ hMPV โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ รวมทั้ง ชุดตรวจโรค มือ เท้า ปาก ชึ่งได้ให้บริการการตรวจกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลทั่วไป

         สำหรับช่วงสถานการณ์การระบาด Covid-19 ยังได้มีการพัฒนาชุดตรวจเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ ให้เป็นมัลติเพล็กซ์ และการพัฒนาการตรวจอย่างรวดเร็ว โดยใช้ CRISPR-Cas12a  ที่ได้ผลดี โดยนำไปทดลองใช้ในภาคสนามต่อไป นอกจากนี้ คณะวิจัยยังได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัย โรค มือ เท้า ปาก ชนิด CVA6 CVA16 และ EVA71 การตรวจไวรัสตับอักเสบ อี โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ การพัฒนาดังกล่าวได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรแล้ว คณะวิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการตรวจไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา  (HPV) สาเหตุมะเร็งปากมดลูก เปรียบเทียบการตรวจในปัสสาวะเทียบกับป้ายจากปากมดลูก พบว่ามีประสิทธิผลได้ดีถึงร้อยละ 95 

         นอกจากนี้ คณะวิจัยได้ศึกษาโรคที่เกิดขึ้นระหว่างคนและสัตว์ มีการศึกษาเชื่อมโยงให้เป็นสุขภาพหนึ่งเดียว (one health)  ศึกษาไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ระหว่างคนและสัตว์ โรคไวรัสของสัตว์ที่ใกล้เคียงกับของคน เช่น  distemper ในสัตว์ โรคหัด (measles) ในคน การติดต่อระหว่างโรคอุจจาระร่วง ไวรัสโนโรในมนุษย์และสุนัข ไวรัสตับอักเสบอี คน กับสุกร เป็นต้น

        การศึกษาวิจัยภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ นอกจากได้เป็นผลงานวิจัยออกมาเป็นรูปธรรมและมีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ มากกว่า 130 เรื่อง ยังได้พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทางด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มให้ประชาคมวิจัยของประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้น ในทุกครั้งที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ หรือไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยจะได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับประชาชน ใช้องค์ความรู้ที่ทำการศึกษาให้เป็นประโยชน์กับประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล ในมาตรการการควบคุมและป้องกันโรค

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine01-vaccine-covid-19/ Mon, 15 Mar 2021 05:08:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14262 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้          1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ […]

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

         1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 โดย (ก) การสร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และมีปลาย C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน HA ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ (ข) การสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนจากการนำส่งพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีนและพลาสมิดที่มีการแสดงออกของโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน

         เมื่อทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง โดยการฉีดหนูทดลองจำนวน 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 3 สัปดาห์ พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ชัดเจน โดยเฉพาะหนูในกลุ่มที่ฉีด VLP พร้อมกับ Adjuvant ชนิด Alum สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีได้สูงมาก โดยเมื่อนำซีรั่มของหนูไปทดสอบความสามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส SARS-CoV-2 (Virus neutralization test) ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าซีรั่มของหนูที่ได้รับ VLP พร้อม Adjuvant สามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:640 ถึงมากกว่า 1:2,000 (เทียบกับค่ามาตรฐาน 1:200 ที่เชื่อว่าเพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างเซลล์ที่มีการแสดงออกของทั้งโปรตีนสไปค์ และ M1 ในเซลล์เดียวกัน โดยเซลล์ดังกล่าวสามารถเลี้ยง VLP ในรูปแบบขยายขนาดได้ และแยก VLP จากน้ำเลี้ยงเซลล์มาทำให้บริสุทธิ์ได้เลย ทั้งนี้การทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของ VLP ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 คาดว่าจะดำเนินการภายในเดือนเมษายน 2564

         2) วัคซีนประเภท Influenza-based ได้สร้างวัคซีนต้นแบบโดยอาศัยระบบการสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่เข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) โดยการแทนที่ยีน Receptor Binding Domain (RBD) ของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 ในยีน Hemagglutinin (HA) ในจีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวในเซลล์ที่ออกแบบให้มีการสร้างโปรตีน HA เพื่อทดแทนยีนของไวรัสที่สูญเสียไป (complementing cell line) (รูปภาพ)

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบ influenza-based โดย (ก) การสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่แสดงออกโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 และสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) และ (ข) การเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวใน complementing cell line

         ผลการทดสอบความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองสายพันธุ์ BALB/c แบบฉีดทางจมูกเป็นจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ได้ดี และมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด Cell-mediated immunity โดยวัดจาก T cell ในม้ามที่สามารถสร้าง IFN-gamma ได้หลังถูกกระตุ้นด้วยเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ 

         อย่างไรก็ตามการสร้างไวรัสในรูปแบบดังกล่าวอาจเสียสภาพการสร้างแอนติเจนได้เร็ว เนื่องจากธรรมชาติไวรัสไข้หวัดใหญ่มีความไม่เสถียรของจีโนมสูง เกิด mutation ได้ง่ายและรวดเร็ว จึงได้ปรับการสร้างไวรัสให้มีความเสถียรขึ้น โดยผลการทดสอบหลังจากไวรัสถูกเลี้ยงต่อไปอย่างน้อย 5 ครั้ง พบว่าไวรัสยังสามารถสร้างแอนติเจนได้ในปริมาณสูง ซึ่งแสดงถึงเสถียรภาพของไวรัสของการนำไปใช้ต่อยอดเป็นวัคซีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด Influenza-based เข็มแรกในรูปแบบปรับปรุงใหม่ในหนูแฮมสเตอร์ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 โดยการทดสอบวัคซีนเข็มที่สองจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 9 ม.ค. 2564 และการ challenge เชื้อในวันที่ 15 ม.ค. 2564

รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย Adenovirus serotype 5 (Ad5) ที่ผ่านการปรับพันธุกรรมให้อ่อนเชื้อ

ผลการทดสอบวัคซีนไวรัส

         ผลการทดสอบวัคซีนไวรัสในหนูทดลองครั้งแรกด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อเข็มเดียวโดยใช้ขนาด dose ที่ต่างกันคือ 108, 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร พบว่าหนูทุกตัวปลอดภัย ไม่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน หลังจากนั้นทำการการุณยฆาตหนูทดลองที่ 3 สัปดาห์เพื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีในซีรั่มต่อโปรตีนสไปค์ด้วยวิธี ELISA พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไวรัสขนาด 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร สามารถตรวจวัดแอนติบอดีได้ 

         แต่เมื่อนำซีรั่มดังกล่าวไปตรวจสอบหาแอนติบอดีชนิด neutralizing antibody ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าปริมาณแอนติบอดียังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสที่ระดับ 1:20 -1:80 แต่เมื่อนำตัวอย่างม้ามของหนูทดลองไปตรวจสอบปริมาณ T cell ที่ตอบสนองต่อเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ พบว่ามีการตอบสนองด้วยการสร้าง Interferon gamma ที่สูงมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีน 1 เข็มสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด cell-mediated immunity (CMI) ได้ภายใน 3 สัปดาห์ 

         ผลการดำเนินงานในปี 2564 ได้เริ่มดำเนินการทดสอบวัคซีนในหนูทดลองครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พ.ย 2563 โดยการฉีดวัคซีนไวรัสแบบเข็มเดียวเข้ากล้ามเนื้อและทางจมูกด้วยความเข้มข้น 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร และทำการการุณยฆาตหนูทดลองหลังจากฉีดที่ 4 สัปดาห์ (วันที่ 30 พ.ย. 2563) โดยพบปริมาณ IgG ต่อโปรตีนสไปค์ของไวรัสสูงถึง 1:12,800 นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบวัคซีนแบบให้ 2 เข็มในหนูอีกชุดหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางจมูก (วันที่ 2 พ.ย. 2563) และอีกสามสัปดาห์ต่อมาหนูจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 (วันที่ 23 พ.ย. 2563) หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ (วันที่ 16-17 ธ.ค. 2563)

         โดยเมื่อทำการตรวจสอบภูมิคุ้มกันชนิด neutralizing antibody, T cell activation และการสร้างแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนู พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนสามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:64 ถึง 1:1,024 โดยพบว่าทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและพ่นเข้าจมูกสามารถกระตุ้น T cells ได้ และเมื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนูพบว่า การฉีดวัคซีนทางกล้ามเนื้อไม่สามารถกระตุ้น IgA ในปอดได้ จะต้องพ่นจมูกเท่านั้น ดังนั้นการพ่นวัคซีนเข้าสู่จมูกจึงมีประสิทธิภาพดีที่สุด

         ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือกับ USAMD-AFRIMS ในการทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของวัคซีนชนิด Ad5-S ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice โดยการ challenge ด้วยไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 

ติดต่อสอบถาม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>