ผลงานวิจัยอื่นๆ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 24 Mar 2021 02:58:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png ผลงานวิจัยอื่นๆ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 KidBright AI Platform http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/na23-kidbright-ai-platform/ Sat, 20 Mar 2021 07:05:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ จุดเด่นของผลงาน สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS) สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads ติดต่อสอบถาม ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ […]

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Platform

KidBright AI Platform

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        แพลตฟอร์มสื่อการเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ผ่านการสร้างชุดคําสั่งแบบบล็อก (Blockly Programming) และสามารถเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุต เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ และสร้างสรรค์

จุดเด่นของผลงาน

  • สอนกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การติดป้ายกํากับ การสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้งานบนอุปกรณ์เดียว
  • รองรับการเชื่อมต่อจากเซนเซอร์ได้หลากหลายทั้งอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Robot Operation System (ROS)
  • สร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ได้ทั้งของข้อมูลภาพและเสียง
  • สามารถทํางานได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์ หรือบนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  • เปิด Open Source ให้นําไปใช้งานเพื่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา สังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้ระบบปัญญาประดิษฐ์

เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง

        เรียนรู้ผ่าน KidBright AI IDE Web version 1.0 ที่ www.kid-bright.org/ai/downloads

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอวพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Platform appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/na15-kidbright-learning-innovation/ Wed, 17 Mar 2021 02:29:09 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15214 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี         การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง       […]

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

        การจัดอบรมครูทั้ง 12 ท่าน จาก 10 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนจารุศรบำรุง โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๖๙ (คลองหลวง) โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดสองพี่น้อง และโรงเรียนวัดฉาง เริ่มต้นจากช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ โครงการ “การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จึงริเริ่มโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อนำร่องการจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการด้าน Coding แบบ Online โดยมีวิศวกรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นวิทยากร ระยะเวลาอบรมแบบ Online ทั้งหมด 26 ชั่วโมง

        เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) คลี่คลายขึ้น ทางโครงการฯ จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Offline ขึ้น ณ โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ Fabrication Laboratory ของบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เมื่อวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2563 คุณครูต้นแบบทั้ง 12 ท่าน และทีมวิศวกรจาก NECTEC มาร่วมระดมสมองและสร้างสรรค์ผลงานสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้น และสื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน

      ต้นแบบนวัตกรรมที่มีการเชื่อมโยง AI ในการจัดการเรียนการสอน Coding โดยครูต้นแบบ ดังตาราง และสามารถอ่านรายละเอียดสื่อการสอน 12 ผลงาน ได้ที่ http://bit.ly/3bS8kOx

ตารางแสดงรายละเอียดสื่อการสอน 12 ชิ้นงาน

การวัดอุณหภูมิ

โดย นางสาวอมรรัตน์ แสงมิ
โรงเรียนวัดตะวันเรือง

ภูมิใจภาษาไทยของเรา

โดย นางสาวอรอนงค์ ครองพงษ์
โรงเรียนจารุศรบำรุง

สิ่งมีชีวิตและชีวิตของพืช

โดย นางสาวศศินันท์ หรุ่นบุญลือ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

วงล้อหรรษาพาหนูจดจำผังงาน

โดย นางสาวขวัญแก้ว นุ่มปั่น
โรงเรียนคลองบางโพธิ์

เกมเรียงลำดับอัลกอริทึม ด้วย KidBright-GoGo Bright

โดย นางสาวประภาศรี เที่ยงธรรม
โรงเรียนวัดกลางคลองสาม

Genius Matching Board

โดย นางสาวกรกนก คานนิม
โรงเรียนจารุศรบำรุง

กระดานสื่อ (อุปกรณ์คอมพิวเตอร์)

โดย นายอภิชาติ เมืองคำ
โรงเรียนวัดสองพี่น้อง

Science and Coding Box

โดยนางสาวจิราพร จำปาเทศ
โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์)

กระดาน 24 หรรษาพาคิด

โดย นางสาวบุญชนก ศิลทอง
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง)

อัลกอริทึม (โฟลว์ชาร์ต) น่ารู้

โดย ว่าที่ร้อยตรีสันติสุข ช่างเย็น
โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง

Coding Board

โดย นางสาวอัจฉริยา สุรวรเชษฐ
โรงเรียนวัดฉาง

ปริศนาจับคู่ อัลกอริทึม

โดย นายวรนารถ แสงนคร
โรงเรียนบ้านคลองเจ้าเมือง

ติดต่อสอบถาม

วสุ ทัพพะรังสี (หัวหน้าโครงการ)

The post นวัตกรรมสื่อการสอนด้วย KidBright appeared first on NAC2021.

]]>
ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/na27-zpecsen-mobile-spectrometer/ Tue, 16 Mar 2021 17:33:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15134 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง แต่ ในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก อุปกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นมีราคาแพงและตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสที่นักเรียนจะเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นไปได้ยาก นักเรียนจึงถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ZpecSen หรือ เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ZpecSen ถูกออกแบบให้ติดตั้งกับสมาร์ทโฟนได้สะดวก ใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application ที่ชื่อว่า ZpecSen App และตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ โดยแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่าน กราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ แนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น “การแนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น” ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลสำคัญ แนะนำต้นแบบ พร้อมทั้งสอนวิธีการติดตั้ง และวิธีใช้งานเบื้องต้น ส่งเสริมการเรียนรู้ […]

The post ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) appeared first on NAC2021.

]]>

ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)

ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง แต่ ในปัจจุบัน โรงเรียนหลายแห่งไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก อุปกรณ์วิทยาศาสตร์นั้นมีราคาแพงและตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โอกาสที่นักเรียนจะเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นไปได้ยาก นักเรียนจึงถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

        ZpecSen หรือ เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ZpecSen ถูกออกแบบให้ติดตั้งกับสมาร์ทโฟนได้สะดวก ใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application ที่ชื่อว่า ZpecSen App และตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ โดยแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่าน กราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ

แนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น

“การแนะนำการใช้งาน ZpecSen เบื้องต้น” ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลสำคัญ แนะนำต้นแบบ พร้อมทั้งสอนวิธีการติดตั้ง และวิธีใช้งานเบื้องต้น

ส่งเสริมการเรียนรู้ จินตนาการ และความเข้าใจ

        ZpecSen ได้ถูกออกแบบให้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามจินตนาการของนักเรียน หรือครู/อาจารย์ ซึ่งจะเสริมสร้างประสบการณ์ กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ให้แก่นักเรียนได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ครู/อาจารย์สามารถนำ ZpecSen ไปใช้ทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร หรือพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่ เพื่อใช้เสริมความรู้และความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสงให้แก่นักเรียน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน-การสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยการลงมือปฏิบัติจริง

ประโยชน์

  • ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแสง และสเปกตรัม ซึ่งสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลางของ
    • ประถมศึกษาปีที่ 2 ตัวชี้วัด 2.3.1-2
    • มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวชี้วัด 2.1.3, 2.1.6, 2.3.11-12, 2.3.15 , 2.3.17 และ 2.3.19-21
    • มัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวชี้วัด 2.3.9-10
    • สาระวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
      • สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการเรียนรู้ที่ 1.3
      • สาระเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.20
      • สาระฟิสิกส์ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการเรียนรู้ที่ 2.13
  • ใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมีหรือสารชีวภาพแบบพกพา
  • ใช้แทนเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการซึ่งมีราคาแพงและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

คุณสมบัติ

  • A dual channel monitor
  • Two measurement modes
  • Switchable four light sources
  • Built-in Spectral calibration
  • Compatible with Android and IOS

จุดเด่น

  • ราคาถูก
  • ใช้งานง่าย
  • พกพาสะดวก

กลุ่มเป้าหมาย

  • ครู / อาจารย์
  • นักเรียน / นักศึกษา

         ในอนาคตผู้พัฒนาหวังอย่างยิ่งที่จะผลักดันการนำ ZpecSen ไปใช้งานในลักษณะสื่อการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ผ่านเครือข่าย พันธมิตร มูลนิธิหรือองค์กรการกุศล

ลิงค์แนะนำผลงาน

ZpecSen เพื่อการศึกษา

แนะนำ ZpecSen

จุดเด่นของสเปกเซ้น

ติดตั้งและใช้งานง่าย

การสอบเทียบความยาวคลื่นได้ในตัวเอง

มีสองช่องการตรวจวัด

การวิเคราะห์ตัวอย่าง

การแหล่งกำเนิดแสง

เลือกแหล่งกำเนิดแสงภายในตัว

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ZpecSen: สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (Mobile Spectrometer) appeared first on NAC2021.

]]>
UtuNoi อุตุน้อย Playground http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na24-utunoi/ Tue, 16 Mar 2021 15:45:53 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15093 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป จุดเด่นของผลงาน เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล การติดตั้งสถานีอุตุน้อย 407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564) ติดต่อสอบถาม ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ […]

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>

UtuNoi อุตุน้อย Playground

UtuNoi อุตุน้อย Playground

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยที่กระจายอยู่ตามโรงเรียนทั่วประเทศและมีปริมาณมหาศาล โดยอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. อีกทั้ง สนับสนุนการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

จุดเด่นของผลงาน

  • เชื่อมต่อเซนเซอร์ตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ กับบอร์ด KidBright
  • รองรับการใช้งานข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีอุตุน้อยทั่วประเทศ และมีปริมาณมหาศาล
  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ บนพื้นฐานของพิกัดปัจจุบัน สถานีอุตุน้อยที่สนใจและทั่วประเทศ
  • สำรวจข้อมูลสภาพอากาศ ในรูปตาราง กราฟ และแผนที่ ตามสถานีอุตุน้อย ช่วงเวลา และเวลาในการสุ่มข้อมูลที่สนใจ
  • สร้างโมเดลการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ (อยู่ในระหว่างการพัฒนา)

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ผู้สนใจที่เริ่มเรียนรู้วิทยาศาสตร์ข้อมูล
na24-utunoik-04
na24-utunoik-05

การติดตั้งสถานีอุตุน้อย

        407 สถานี ใน 67 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564)

na24-utunoik-03

ติดต่อสอบถาม

ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์
ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post UtuNoi อุตุน้อย Playground appeared first on NAC2021.

]]>
ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na26-packaging-checking-quality/ Tue, 16 Mar 2021 14:43:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14990 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบวัตถุที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเปิดหีบห่อ หนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ที่มีความสามารถในการตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลาย และในขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ได้เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงพัฒนาระบบจำลองสายพานการผลิต ที่มีการนำเทคโนโลยีการสร้างข้อมูลภาพดิจิทัลด้วยคลื่นเทระเฮิรตซ์ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ซึ่งมีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี และมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ ผ้า หรือพลาสติก ตอบสนองต่อการดูดกลืนความชื้น และสะท้อนบนพื้นผิวโลหะ ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลายได้ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแสดงผลภาพได้หลายแบบ เช่น ภาพสีของภายนอกบรรจุภัณฑ์ ภาพเทระเฮิรตซ์ที่แสดงความชื้นหรือวัตถุแปลกปลอมภายในบรรจุภัณฑ์ หรือภาพซ้อนของภาพทั้งสองชนิด ซึ่งระบบสามารถแสดงผลได้แบบเวลาจริง และสามารถตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่เคลื่อนที่เร็วได้มากถึง 30 เซ็นติเมตรต่อวินาที การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณความชื้นในผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร หรือสิ่งปลอมปนที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นการตวจสอบบนสายพานการผลิต และไม่ทำลายวัตถุหรือไม่มีการฉายสารกัมมันตรังสีบนวัตถุ ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยภายใน เช่น อาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธ ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในกล่องพัสดุ สามารถรับชมการสาธิตวิธีการใช้งานจริงได้ที่ เทคโนโลยีสร้างภาพสัญญาณ Terahertz มาประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียง อินโทรแนะนำวีดีโอ xxxxxx (ถ้าไม่มีลบออกได้) ติดต่อสอบถาม […]

The post ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ appeared first on NAC2021.

]]>

ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์

ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        ปัจจุบันมีหลากหลายเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบวัตถุที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเปิดหีบห่อ หนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ที่มีความสามารถในการตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลาย และในขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ได้เล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงพัฒนาระบบจำลองสายพานการผลิต ที่มีการนำเทคโนโลยีการสร้างข้อมูลภาพดิจิทัลด้วยคลื่นเทระเฮิรตซ์ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        ระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ซึ่งมีความปลอดภัยจากกัมมันตรังสี และมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ ผ้า หรือพลาสติก ตอบสนองต่อการดูดกลืนความชื้น และสะท้อนบนพื้นผิวโลหะ ซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบความชื้นและสิ่งแปลกปลอมภายในผลิตภัณฑ์แบบไม่ทำลายได้

        นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแสดงผลภาพได้หลายแบบ เช่น ภาพสีของภายนอกบรรจุภัณฑ์ ภาพเทระเฮิรตซ์ที่แสดงความชื้นหรือวัตถุแปลกปลอมภายในบรรจุภัณฑ์ หรือภาพซ้อนของภาพทั้งสองชนิด ซึ่งระบบสามารถแสดงผลได้แบบเวลาจริง และสามารถตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ที่เคลื่อนที่เร็วได้มากถึง 30 เซ็นติเมตรต่อวินาที

การใช้งาน

  • ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ปริมาณความชื้นในผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร หรือสิ่งปลอมปนที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นการตวจสอบบนสายพานการผลิต และไม่ทำลายวัตถุหรือไม่มีการฉายสารกัมมันตรังสีบนวัตถุ
  • ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยภายใน เช่น อาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธ ที่ถูกซุกซ่อนอยู่ในกล่องพัสดุ
  • สามารถรับชมการสาธิตวิธีการใช้งานจริงได้ที่

เทคโนโลยีสร้างภาพสัญญาณ Terahertz มาประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียง

อินโทรแนะนำวีดีโอ xxxxxx (ถ้าไม่มีลบออกได้)

ติดต่อสอบถาม

ณภัทร โคตะ และ รุ่งโรจน์ จินตเมธาสวัสดิ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ (TRT)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ระบบตรวจสอบคุณภาพในบรรจุภัณฑ์ด้วยสัญญาณเทระเฮิรตซ์ appeared first on NAC2021.

]]>
บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na25-softwate-testing/ Tue, 16 Mar 2021 13:43:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14905 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ระบบซอฟต์แวร์ บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ รองรับการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ที่เป็น Application ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  Mobile Application,  Web-Application,   Embedded System  หรือรูปแบบอื่น ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการผลิตหรือผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  โดยสามารถทดสอบตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้ *** ราคาและระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  ของ Application/ระบบ เช่น จำนวนฟังก์ชัน ระดับความซับซ้อน จำนวนส่วนประกอบ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทดสอบ หรือสภาพแวดล้อมการทดสอบ เป็นต้น Internet of Things (IoT) Internet of Things หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย (ที่มา) การทำงานเชิงหน้าที่ (Functional Suitability) เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน […]

The post บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ appeared first on NAC2021.

]]>

บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์

บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 

ระบบซอฟต์แวร์

        บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ รองรับการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ที่เป็น Application ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  Mobile Application,  Web-Application,   Embedded System  หรือรูปแบบอื่น ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการผลิตหรือผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว  โดยสามารถทดสอบตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้

        *** ราคาและระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  ของ Application/ระบบ เช่น จำนวนฟังก์ชัน ระดับความซับซ้อน จำนวนส่วนประกอบ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการทดสอบ หรือสภาพแวดล้อมการทดสอบ เป็นต้น

Internet of Things (IoT)
        Internet of Things หรือ IoT คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย โดยสรรพสิ่งต่างๆ มีวิธีการระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมาย (ที่มา)

การทำงานเชิงหน้าที่ (Functional Suitability)
        เป็นการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ รูปแบบการทดสอบเช่นเดียวกับการทดสอบ ระบบซอฟต์แวร์

ประสิทธิภาพ (Performance)
        เป็นการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงเว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าระบบมีการตอบสนองและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้ตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์

ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (CyberSecurity)
      เป็นการทดสอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของอุปกรณ์ IoT  รวมไปถึงโมบายแอปพลิเคชัน เว็บแอปพลิเคชัน และ API ที่เกี่ยวข้องว่าระบบมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ตามคำแนะนำของ OWASP

ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์

รายละเอียดการทดสอบ
       ให้บริการทดสอบ ระบบเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐาน ดังนี้

  • การทดสอบระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ มาตรฐาน มศอ 4003.1 -2560
  • การทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐาน ศอ. 2006.3 – 2558

เครื่องมือแพทย์และซอฟต์แวร์เครื่องมือแพทย์

รายละเอียดการทดสอบ
        ให้บริการทดสอบเครื่องมือแพทย์ และซอฟต์แวร์เครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน ดังนี้

ติดต่อสอบถาม

The post บริการทดสอบระบบซอฟต์แวร์ appeared first on NAC2021.

]]>
AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na22-ai-for-thai/ Tue, 16 Mar 2021 10:20:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, […]

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        AI for Thai : Thai AI Service Platform เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย มุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning เพื่อเน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย เช่น

  • ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก (Retail) ใช้ Chatbot โต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน
  • กลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่
  • ด้านการแพทย์ก็เริ่มใช้ AI มาวิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ เป็นต้น
  • ด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย

        AI for Thai เกิดจากการรวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน AI ภายใต้หน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRU) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วยงานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย, งานด้านการเข้าใจภาพในบริบทของความเป็นไทยและงานด้านการรู้จำและสร้างเสียงพูดภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้งาน

  • นักพัฒนาระบบ
  • ผู้ประกอบการบริษัท SME
  • Start up และบริษัทอื่นๆ

จุดเด่น

  • มีบริการให้พร้อมเรียกใช้งาน
  • ช่วยให้สามารถต่อยอดสร้างสรรค์แอพพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว
  • ทดสอบใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย* (แบบ Limited Free Service)

APIs & Service

        โมดูลต่าง ๆ ที่รวบรวมเข้ามาให้บริการบนแพลตฟอร์ม ถูกจำแนกออกเป็น 3กลุ่ม ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งโมดูลต่าง ๆ จะพร้อมให้ใช้งานในรูปแบบ Web Service หรือ API

  • Language บริการด้านประมวลผลข้อความภาษาไทยรอบด้าน เช่น Word Segmentation, POS Tagging, Named Entity Recognition ประกอบด้วย
    • Basic NLP (ประมวลผลภาษา)
    • TAG Suggestion (แนะนำป้ายกำกับ)
    • Machine translation (แปลภาษา)
    • Sentiment Analysis (วิเคราะห์ความเห็น)
  • Vision บริการด้านวิเคราะห์และเข้าใจภาพและวิดีโอหลากหลาย เช่น OCR, Face Recognition, Person Heatmap ประกอบด้วย
    • Character Recognition (แปลงอักษรภาพเป็นข้อความ)
    • Object Recognition (รู้จำวัตถุ)
    • Face Analytics (วิเคราะห์ใบหน้า)
    • Person & Activity Analytics (วิเคราะห์บุคคล)
  • Conversation บริการด้านสนทนาแบบครบวงจร ได้แก่
    • Speech to Text (แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ)
    • Text to Speech (แปลงข้อความเป็นเสียงพูด)
    • Chatbot (ระบบโต้ตอบทางข้อความอัตโนมัติ)

ใช้บริการ AI for Thai ได้ที่ https://aiforthai.in.th

เนคเทค ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประกาศเปิดตัว AI FOR THAI

Ai for Thai

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post AI for Thai : แพล็ตฟอร์ม AI สัญชาติไทย appeared first on NAC2021.

]]>
KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na21-kidbright-kanomchan/ Tue, 16 Mar 2021 09:32:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14823 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) KidBright Virtual สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง หุ่นยนต์ขนมชั้น Virtual Kanomchan (VK) Virtual Kanomchan หุ่นยนต์ “ขนมชั้น” คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง […]

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

KidBright Virtual

       สำหรับบอร์ด KidBright เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัวที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่ง โดยผู้เรียนสามารถสร้างชุดคำสั่งผ่านโปรแกรม KidBright IDE บนคอมพิวเตอร์ โดย KidBright มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันและเทคโนโลยีด้วยตนเองในอนาคต เนื่องจากการเข้าถึงการใช้งานตัวบอร์ดจริง อาจจะมีข้อจำกัด เช่น ผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จัดหาอุปกรณ์จริงมาใช้ หรือการจัดหาอุปกรณ์จริงอาจจะมีความยุ่งยากในบางประการ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของบอร์ด KidBright ได้มากที่สุด จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาบอร์ด KidBright แบบเสมือนจริง (KidBright Virtual: KV) ที่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่สนใจก็สามารถใช้งานบอร์ด KidBright ได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

หุ่นยนต์ขนมชั้น

Virtual Kanomchan (VK)

Virtual Kanomchan

        หุ่นยนต์ขนมชั้น คือหุ่นยนต์สอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ที่ต่อยอดมาจากบอร์ด KidBright โดยมีการติดตั้งกล้อง ล้อ ลำโพง ไมโครโฟน รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆได้ และซ้อนบอร์ดวงจรขึ้นเป็นชั้น และเพื่อให้การเรียนรู้ด้าน AI ด้วย KidBright AI ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น แม้จะไม่มีหุ่นยนต์ขนมชั้นตัวจริง จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขนมชั้นเสมือนจริง (Virtual Kanomchan: VK) ซึ่งเป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ฝึกเขียนโปรแกรมด้าน AI เช่น การโปรแกรมให้ระบบหุ่นยนต์จดจำภาพวัตถุที่ต้องการ เพื่อนำการจดจำวัตถุดังกล่าว ไปใช้งานต่างๆ เช่น การเดินตามวัตถุที่จดจำได้ เป็นต้น โดยการใช้งานโปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการของการนำเทคโนโยลีด้าน AI มาประกอบเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้หุ่นยนต์ทำงานตามที่ต้องการ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล จัดแต่งข้อมูล การ Train ข้อมูลเพื่อสร้าง Model และการนำ Model ไปใช้งาน

Virtual Kanomchan

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        KidBright Virtual: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

        Virtual Kanomchan: สามารถใช้ฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานหุ่นยนต์ขนมชั้น KidBright AI ได้เหมือนการใช้งานหุ่นยนต์จริง สามารถทดลองโปรแกรมการ Train Model ในรูปแบบต่างๆที่มีอยู่โปรแกรม สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน AI และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบหุ่นยนต์

การศึกษา

การทดสอบ/วิจัย

ลดความผิดพลาด
เสียหายต่ออุปกรณ์

ประหยัดต้นทุน

KidBright Virtual Demo

ติดต่อสอบถาม

วินัย ชนปรมัตถ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post KidBright AI Simulator: KidBright Virtual and Virtual Kanomchan appeared first on NAC2021.

]]>
“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/na20-utherm-facesense/ Sun, 14 Mar 2021 16:37:31 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14179 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG) และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก รวมถึงการติดเชื้อ COVID – 19 ที่ทำให้เกิดจุดคัดกรองอุณหภูมิมากมายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถตรวจวัดครั้งละหลายคนพร้อมกันได้ รวมถึงไม่สามารถรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการตรวจคัดกรองได้มากนัก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ในทางกลับกันเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถทลายข้อจำกัดดังกล่าวก็มีราคาสูงด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (µTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดผนวกระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) โดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัย มีระบบประมวลผลที่รวดเร็วแม่นยำภายใน 0.1 วินาที สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้ครั้งละหลายคนพร้อมกันในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร จึงช่วยลดระยะเวลารวมถึงลดความเสี่ยงจากความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และผู้รับการตรวจคัดกรอง พร้อมรองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารหลากหลาย “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย ในราคาที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตไทยเข้าถึงได้ หวังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย […]

The post “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ appeared first on NAC2021.

]]>

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก รวมถึงการติดเชื้อ COVID – 19 ที่ทำให้เกิดจุดคัดกรองอุณหภูมิมากมายในปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถตรวจวัดครั้งละหลายคนพร้อมกันได้ รวมถึงไม่สามารถรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการตรวจคัดกรองได้มากนัก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ในทางกลับกันเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถทลายข้อจำกัดดังกล่าวก็มีราคาสูงด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

        “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (µTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดผนวกระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) โดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัย มีระบบประมวลผลที่รวดเร็วแม่นยำภายใน 0.1 วินาที สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้ครั้งละหลายคนพร้อมกันในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร จึงช่วยลดระยะเวลารวมถึงลดความเสี่ยงจากความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และผู้รับการตรวจคัดกรอง พร้อมรองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารหลากหลาย

        “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย ในราคาที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตไทยเข้าถึงได้ หวังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ สถานีขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า MRT / BTS ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานสัมมนา มหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

ความโดดเด่น

  • ตรวจจับใบหน้าและวัดค่าอุณหภูมิถูกต้อง แม่นยำ ภายใน 0.1 วินาที
  • ตรวจวัดอุณหภูมิครั้งละหลายบุคคลพร้อมกัน ในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร
  • ตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) แม้สวมหน้ากากอนามัย
  • กำหนดค่าอุณหภูมิเฝ้าระวัง และ ค่าชดเชยสภาพแวดล้อมได้
  • รองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย Wi-Fi รวมถึงสาย LAN
  • รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลผ่าน HDMI

ข้อมูลทางเทคนิค

  • Full 160×120-pixel thermal image resolution
  • Full HD visible image resolution
  • Face detection embedded with LiDAR Technology
  • Low cost & Light weight (1.7 kg)
  • Compactness (8.5×22.8×19.5 cm3)

มาตรฐานเทคโนโลยี

  • มาตรฐานการทดสอบความปลอดภัย [Information technology equipment (IEC60950-1)]
    (Information technology equipment – Safety – Part 1: General requirements)
  • มาตรฐานการทดสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า CISPR 22 (EMC Standard)
    (the information for information technology equipment, ITE for the radio disturbance characteristics for electromagnetic compatibility compliance)
  • มาตรฐานการทดสอบเทียบอุณหภูมิ (อยู่ระหว่างการทดสอบ)

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  • เฝ้าระวังและลดความเสี่ยงการสูญเสียจากผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุณหภูมิของร่างกายที่ผิดปกติและการระบาดของโรคร้ายแรง
  • ใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงเพื่อออกประกาศการป้องกันและการดูแลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงทำนายอุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • สร้างโอกาสในการเกิดธุรกิจใหม่ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ให้บริการ
  • สร้างจุดเด่นให้กับสถานที่ที่ใช้งานระบบเพื่อการเอาใจใส่ดูแลและป้องกันสุขภาพ
  • ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • สถานที่ของภาครัฐที่มีผู้คนพลุกพล่านและต้องการลดโอกาสการแพร่กระจายของโรคด้วยการคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ทัณฑสถาน สถานีขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า MRT / BTS เป็นต้น
  • ภาคเอกชนที่ต้องการเพิ่มบริการการป้องกันและดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่จัดแสดงมหกรรมสินค้า โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
  • ภาคเอกชนที่มีความต้องการและมีศักยภาพในการผลิตอุปกรณ์เชิงพาณิชย์

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)

μTherm-FaceSense : มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เนคเทค-สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (μTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/na13-automatic-overhead-crane/ Sun, 14 Mar 2021 05:20:49 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13730 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ผศ.ดร.อิทธิโชค จักรไพวงศ์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล         งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ ที่แก้ปัญหาการใช้งานในเครนทั่วไป และรองรับการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ระบบเครนที่พัฒนาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ไปตามตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอัตโนมัติ และกำจัดการแกว่งของเครนซึ่งเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของเครนประเภทนี้ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการให้บริการซ่อมบำรุง รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างต้นแบบเครนอัตโนมัติถูกเลือกเป็นอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการโปรแกรมระบบควบคุมที่ซับซ้อนได้ หน้าจอสัมผัสถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครนอัตโนมัติได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใด ๆ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี         จากการพัฒนาต้นแบบเครนพบว่า เครนสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ วิธีการควบคุมเชิงเส้นแบบป้อนกลับ PD Controller ร่วมกับการประมาณตำแหน่งเครนโดยใช้ Extended State Observer สามารถควบคุมตำแหน่งของเครนได้โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การเคลื่อนที่ของเครนแบบปกตินั้นจะทำให้เกิดการแกว่งขึ้นเป็นมุมประมาณ 5 องศา ในงานวิจัยนี้ การกำจัดการแกว่งของวัตถุในขณะเคลื่อนที่โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณ (Filter) ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถลดการแกว่งของวัตถุลงได้เหลือไม่เกิน 1 องศา ดังแสดงในรูปที่ 2 รูปที่ 2 เปรียบเทียบการแกว่งระหว่างใช้และไม่ใช้ตัวกรองสัญญาณ […]

The post ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ผศ.ดร.อิทธิโชค จักรไพวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ ที่แก้ปัญหาการใช้งานในเครนทั่วไป และรองรับการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ระบบเครนที่พัฒนาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ ไปตามตำแหน่งที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอัตโนมัติ และกำจัดการแกว่งของเครนซึ่งเป็นปัญหาโดยธรรมชาติของเครนประเภทนี้ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการให้บริการซ่อมบำรุง

รูปที่ 1 แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างต้นแบบเครนอัตโนมัติถูกเลือกเป็นอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับการโปรแกรมระบบควบคุมที่ซับซ้อนได้ หน้าจอสัมผัสถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับเครนอัตโนมัติได้โดยสะดวก โดยผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใด ๆ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

        จากการพัฒนาต้นแบบเครนพบว่า เครนสามารถเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้โดยอัตโนมัติ วิธีการควบคุมเชิงเส้นแบบป้อนกลับ PD Controller ร่วมกับการประมาณตำแหน่งเครนโดยใช้ Extended State Observer สามารถควบคุมตำแหน่งของเครนได้โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิเมตร การเคลื่อนที่ของเครนแบบปกตินั้นจะทำให้เกิดการแกว่งขึ้นเป็นมุมประมาณ 5 องศา ในงานวิจัยนี้ การกำจัดการแกว่งของวัตถุในขณะเคลื่อนที่โดยการใช้ตัวกรองสัญญาณ (Filter) ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นสามารถลดการแกว่งของวัตถุลงได้เหลือไม่เกิน 1 องศา ดังแสดงในรูปที่ 2

automatic-overhead-crane-01

รูปที่ 2 เปรียบเทียบการแกว่งระหว่างใช้และไม่ใช้ตัวกรองสัญญาณ

        นอกจากนั้นการกำจัดการแกว่งจากตัวกรองสัญญาณถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของเมื่อผู้ต้องบังคับเครนในที่แคบ เมื่อใช้และไม่ใช้ระบบกำจัดการแกว่ง ผลปรากฏว่าในการบังคับเครนเหนือศีรษะในพื้นที่แคบ ผู้บังคับเครนในโหมดไม่มีระบบกำจัดการแกว่งนั้น ไม่สามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยที่ไม่เกิดการชน เกิดการชน 11 ครั้ง ส่วนในโหมดที่มีตัวกรองสัญญาณนั้นสามารถบังคับเครนให้ไปถึงจุดหมายได้โดยไม่เกิดการชนเลย โดยที่ทั้ง 2 แบบใช้เวลาเท่ากับ 50 และ 37 วินาที ตามลำดับ ดังแสดงในรูปที่ 3

automatic-overhead-crane-02

รูปที่ 3 เปรียบเทียบการใช้งานตัวกรองสัญญาณ

        การพัฒนาส่วนการใช้งานของผู้ใช้เป็นไปตามเป้าหมาย มีอุปกรณ์หลักคือหน้าจอสัมผัสซึ่งรองรับการควบคุมเครนอัตโนมัติได้ มี 4 โหมดการทำงาน คือ โหมดควบคุมด้วยมือ โหมดบันทึกเส้นทาง โหมดเคลื่อนที่อัตโนมัติ และโหมดตรวจสอบการทำงาน เครนสามารถจดจำตำแหน่งในพื้นที่การทำงานได้ 8 จุด แต่ละจุดสามารถกำหนดเวลาหยุดรอได้ และสามารถคำนวณเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่โดยประมาณของแต่ละจุด นอกจากนี้ ฟังก์ชันการวัดน้ำหนักแบบไร้เซนเซอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการแปลงค่ากำลังไฟฟ้าของที่มอเตอร์ใช้ขณะนั้นจากอินเวอร์เตอร์ แล้วแปลงเป็นน้ำหนักมาแสดงบนจอสัมผัส รูปแบบการเก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาขึ้น ผลการทดสอบการอ่านค่าน้ำหนักบรรทุกแสดงว่าวิธีการนี้สามารถอ่านค่าได้ใกล้เคียงกับจริง ดังแสดงในรูปที่ 4 ข้อมูลการใช้งานจะถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำสำรองที่ติดตั้งไว้บนหน้าจอสัมผัสตลอดเวลา รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างภาพหน้าจอผู้ใช้งานในโหมดต่าง ๆ

automatic-overhead-crane-03

รูปที่ 4 กราฟเปรียบเทียบน้ำหนักจริงและน้ำหนักที่วัดได้ของมวลที่ใช้ทดสอบโดยใช้ฟังก์ชันวัดน้ำหนักของเครน (หน่วย กิโลกรัม)

รูปที่ 5 ตัวอย่างหน้าจอผู้ใช้งาน

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบเครนเหนือศีรษะอัตโนมัติ: การปรับปรุงความแม่นยำและเที่ยงตรงของการควบคุม appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na14-refurbished-robot/ Fri, 12 Mar 2021 15:21:55 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13425 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตชั้นสูง (AMI) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโครงการวิจัยนี้ หุ่นยนต์ (Refurbished robot) ถูกสั่งการด้วยกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้น (Refurbished controller) โดยผ่านโปรโตคอล EtherCAT เวอร์ชันล่าสุดของ  IgH EtherCAT® Master อยู่ในส่วน Real-time linux extension  การพัฒนาหุ่นยนต์ขัดพื้นผิวชิ้นงานจึงประกอบด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ผ่านการทดสอบการทำงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งส่วนสำคัญคือการกำหนดเวอร์ชันของเคอร์เนล (Kernel Version) ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ RT_PREEMPT เพื่อรับประกันประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ การเลือกใช้เวอร์ชันของเคอร์เนล และฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญ EtherCAT® Master ของ IgH ที่จะเชื่อมต่อกับไดรฟ์เซอร์โว และ I/O โดยใช้โปรโตคอล CANopen-over-EtherCAT (CoE)  ในบางครั้งการคอมไพล์เคอร์เนลที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้ CPU หรือ Chipset ของ Gigabit LAN ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การทำงานในแบบเรียลไทม์ไม่มีประสิทธิภาพ  […]

The post ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ผศ.ดร.สันทัด ชูวงค์อินทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตชั้นสูง (AMI)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

       ในโครงการวิจัยนี้ หุ่นยนต์ (Refurbished robot) ถูกสั่งการด้วยกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้น (Refurbished controller) โดยผ่านโปรโตคอล EtherCAT เวอร์ชันล่าสุดของ  IgH EtherCAT® Master อยู่ในส่วน Real-time linux extension  การพัฒนาหุ่นยนต์ขัดพื้นผิวชิ้นงานจึงประกอบด้วยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ผ่านการทดสอบการทำงานแบบเรียลไทม์ ซึ่งส่วนสำคัญคือการกำหนดเวอร์ชันของเคอร์เนล (Kernel Version) ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ RT_PREEMPT เพื่อรับประกันประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ การเลือกใช้เวอร์ชันของเคอร์เนล และฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญ EtherCAT® Master ของ IgH ที่จะเชื่อมต่อกับไดรฟ์เซอร์โว และ I/O โดยใช้โปรโตคอล CANopen-over-EtherCAT (CoE)  ในบางครั้งการคอมไพล์เคอร์เนลที่ไม่เหมาะสม หรือการใช้ CPU หรือ Chipset ของ Gigabit LAN ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การทำงานในแบบเรียลไทม์ไม่มีประสิทธิภาพ  โดยรูปที่ 1 แสดงหุ่นยนต์และกล่องควบคุมที่ถูกพัฒนาขึ้นในโครงการวิจัยนี้

รูปที่ 1: Refurbished Robot และ Refurbished Motion Controller
โดยใช้โปรแกรม CiRA Polishing เพื่องานขัดพื้นผิว

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       ในส่วนการใช้งานแพลตฟอร์ม CiRACORE เพื่อขัดพื้นผิวชิ้นงาน นั้นเป็นแบบ Node flow programming ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robot Operating System : ROS) หลักการของ Node flow programming คือแต่ละโหนด (Node) หรือกล่องคำสั่งจะเป็นส่วนที่ทำการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับข้อมูลที่ส่งเข้ามา ซึ่งในที่นี้เราเรียกว่าการไหลของข้อมูล (Data flow) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ JSON format ในแต่ละกล่องคำสั่ง หรือ Node จะเป็น C++ object ที่จะจัดการกับการไหลของข้อมูล และส่งออกไปเป็นเอาท์พุทต่อๆไป CiRACORE จะมี Nodes ที่จัดเป็นหมวดหมู่สำหรับงานต่างๆ โดยเริ่มจาก flow control and manipulation, CiRA AI และ I/O & communication ในกระบวนการขัดนั้น ใช้กล่องคำสั่ง Button Run เพื่อเริ่มการทำงาน และกระบวนการขัดจะใช้อีกกล่องคำสั่ง BezierGrind เพื่อสั่งงานและปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆสำหรับงานขัด ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2: แสดงการใช้งานกล่องคำสั่งงานให้หุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

การปรับค่าพารามิเตอร์สำหรับการขัดพื้นผิว

  1. ผู้ใช้งานสามารถ Browse หาไฟล์ที่ต้องการนำมาสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ให้หุ่นยนต์เคลื่อนไปขัดพื้นผิวชิ้นงาน ที่ตำแหน่งมุมขวาบน CAD file Path 
  2. การตั้งค่าตำแหน่งของชิ้นงานสามารถทำได้โดยใช้ปลายแขนเป็นตัวระบุการตั้งค่า ซึ่งสามารถทำได้โดยนำปลายแขนหุ่นยนต์ไปสัมผัสที่จุดของชิ้นงานเพื่อใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งเริ่มต้นของชิ้นงาน
  3. พารามิเตอร์การขัด ประกอบด้วย 3.1) grind disk width: ปรับขนาดหัวขัดชิ้นงาน 3.2) covering percent: เปอร์เซ็นต์ที่แสดงความถี่ของการขัด เพิ่มจำนวนจุดการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ให้มีจำนวนมากขึ้น 3.3) extrication radius: รัศมีที่หัวขัดยกขึ้นเหนือชิ้นงาน เพื่อไปขัดในแนวขัดถัดไป และ 3.4) lean angle:  ปรับมุมเอียงระหว่างหัวขัดกับชิ้นงาน มีหน่วยเป็นองศา
  4. Tools Offset เป็นการปรับตำแหน่งระหว่างชิ้นงานกับหุ่นยนต์ เป็นการชดเชยระยะห่างและมุม

รูปที่ 3: แสดงหน้าต่างการปรับค่าพารามิเตอร์ในกล่องคำสั่งหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน

        ในการขัดพื้นผิวชิ้นงาน ความเร็วและความเร่งที่สม่ำเสมอในการขัดชิ้นงานมีความสำคัญ ดังแสดงในรูปที่ 4 ส่งผลให้พื้นผิวชิ้นงานที่ถูกขัดราบเรียบสม่ำเสมอ  ดังรูปที่แสดง ช่วงเวลาของการขัดและช่วงยก ซึ่งจากราฟจะเห็นว่าช่วงการขัดความเร็วค่อนข้างสม่ำเสมอ ในขณะที่ความเร็วในช่วงไม่ได้ขัดหรือช่วงยกจะมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีผลต่อพื้นผิวชิ้นงาน

รูปที่ 4: แสดงความเร็วในช่วงการขัดพื้นผิวชิ้นงานและในช่วงที่ขัดสุดทางแล้วหุ่นยนต์ยกขึ้น

        สำหรับโครงการวิจัยนี้ทางทีมวิจัยได้พัฒนากล่องควบคุม (Motion Controller) สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ 6 แกนเพื่องานขัดพื้นผิวที่สามารถติดต่อกับระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (ROS Industrial) โดยได้คุณสมบัติใกล้เคียงของเดิมเท่ากับ ±0.05 mm (Repeatability) อีกทั้งได้พัฒนาโปรแกรมการขัดพื้นผิวชิ้นงาน CiRA Polishing ซึ่งเป็น GUI สำหรับ สร้าง path planning จาก point cloud และทำการควบคุมหุ่นยนต์ตามเส้นทางที่ได้วางแผนไว้ โดยรันอยู่บนแพลตฟอร์ม CiRACORE และได้ผลประเมินความสามารถหุ่นยนต์ในการขัดพื้นผิวชิ้นงานโดยมีความเรียบเฉลี่ย ±500 µm เมื่อเทียบกับ CAD ไฟล์ที่ รวมทั้งสามารถควบคุมความเร็วและความเร่งของหุ่นยนต์เพื่อความเรียบในการขัดพื้นผิวชิ้นงานได้เป็นอย่างดี

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบหุ่นยนต์ขัดชิ้นงาน appeared first on NAC2021.

]]>
แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/na28-non-lithium-ion-batteries/ Tue, 09 Mar 2021 03:31:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12122 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ […]

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

       ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน

      ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ ไม่เป็นพิษ และมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งแหล่งผลิตยังมีกระจายอยู่ทั่วโลก โดยเน้นให้แบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถใช้กระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีอยู่แล้ว

รายละเอียดผลงานวิจัย

Non-Lithium Ion Batteries

        แบตเตอรี่สังกะสีที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นนั้นได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 180-200 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 180-200 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 1.2 – 1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 1000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดและสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนบางชนิดได้ แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม จัดตั้งและดำเนินการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ หากประเทศไทยสามารถผลิตแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนได้ จะช่วยให้เราไม่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในยามวิกฤตที่ไม่สามารถนำเข้าลิเทียมได้ และยังส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เป็นงานวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ สร้างเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ของคนไทย 
  2. สร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางพลังงานของประเทศ เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางพลังงานและมีเสถียรภาพทางด้านพลังงาน
  3. คุณสมบัติเด่นคือ ปลอดภัย ไม่ระเบิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุดิบที่ผลิตได้เองภายในประเทศ

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

       กลุ่มผู้ใช้งานแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเดิมและผู้ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าใช้ในบ้านพักอาศัย, ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่, ยานยนต์ขนาดใหญ่ (รถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้า), เรือ, Station และงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น สถานีวิทยุสื่อสารทหาร แท่นขุดเจาะน้ำมัน

สถานะงานวิจัย

       การพัฒนางานวิจัยอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามเบื้องต้น

ติดต่อสอบถาม

คุณกลดธิดา ญาณุกุล
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>
Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/na41-greetings-from-narlabs-in-taipei-taiwan/ Sun, 07 Mar 2021 13:34:40 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11238 Dr. Kuang-Chong Wu, President of NARLabs, blessing for the 30th anniversary of NSTDA Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan. The entire team at the National Applied Research Laboratories is so happy to hear that NSTDA is celebrating its 30th anniversary this year, which is certainly a milestone to be proud of. Having given so much […]

The post Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan appeared first on NAC2021.

]]>

Dr. Kuang-Chong Wu, President of NARLabs, blessing for the 30th anniversary of NSTDA

Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan.

        The entire team at the National Applied Research Laboratories is so happy to hear that NSTDA is celebrating its 30th anniversary this year, which is certainly a milestone to be proud of. Having given so much to Thailand’s society and scientific development, NSTDA is a role model for many national institutions in the South-east Asian region.

        Therefore, NARLabs would like to extend its sincerest congratulations to NSTDA, whose talent and diligence have attracted the cooperation with many other scientific and technological institutions such as ours. During the time we have worked together, we have learned that NSTDA is a vital player in the region’s quest for excellence, and it is precisely why we hope there will be many more years of collaboration between our two institutions.

        The NARLabs team wishes you all the best and we share your excitement to continue our joint research projects. May this 30th anniversary be the celebration of past achievements and the blessing of future collaborations.

        Finally, NARLabs, including its Bangkok Office, is also working on several activities to support joint research program and bilateral conferences. With this NARLabs-NSTDA partnership, we expect to create more opportunities and benefits for our prospering countries.

ติดต่อสอบถาม

Ms. Chatchanan Sangkanchai

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Greetings from NARLabs in Taipei, Taiwan appeared first on NAC2021.

]]>