เทิดพระเกียรติ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 24 Mar 2021 08:05:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png เทิดพระเกียรติ – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/physic-with-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:52:52 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20226 ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4

The post เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น appeared first on NAC2021.

]]>

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ตอนที่ 4

The post เรียนรู้ฟิสิกส์จากเซิร์น appeared first on NAC2021.

]]>
การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particle-application-and-research/ Tue, 23 Mar 2021 15:21:54 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20132 The post การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค appeared first on NAC2021.

]]>

The post การประยุกต์ใช้ประโยชน์เครื่องมือวิจัยและความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาค appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particles-detectors/ Tue, 23 Mar 2021 15:21:54 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20133 The post เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors appeared first on NAC2021.

]]>

The post เครื่องตรวจวัดอนุภาค Detectors appeared first on NAC2021.

]]>
อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/higgs-particle/ Tue, 23 Mar 2021 15:15:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20115 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: Higgs-Field

The post อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ appeared first on NAC2021.

]]>

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post อนุภาคฮิกส์และสนามของฮิกส์ appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/particle-accelerators/ Tue, 23 Mar 2021 15:15:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20116 The post เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators appeared first on NAC2021.

]]>

The post เครื่องเร่งอนุภาค Accelerators appeared first on NAC2021.

]]>
อนุภาคคืออะไร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/what-is-particle-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20102 ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: Particles Fundamental

The post อนุภาคคืออะไร appeared first on NAC2021.

]]>

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post อนุภาคคืออะไร appeared first on NAC2021.

]]>
นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/23/20-years-thai-cern/ Tue, 23 Mar 2021 15:00:44 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=20086 The post นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>

The post นิทรรศการ 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี appeared first on NAC2021.

]]>
ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/alice-collaboration/ Sat, 20 Mar 2021 11:01:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=18215 นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาในเชิงทฤษฎีพบว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มาจาก ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นและผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 13.8 พันล้านปี โดยพลังงานจากทฤษฎีบิ๊กแบงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นอนุภาคมูลฐาน เช่น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน ก่อนในขั้นตอนแรก แล้วหลังจากนั้น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน จึงรวมตัวเป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ รูปที่ 1 กำเนิดเอกภพตามแนวคิดตาม ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang)ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_ee6egjqDMoM/TEh6Rv_Or8I/AAAAAAAAAA4/L7SlBktIT4/s1600/9108002%5B1%5D.jpg เพื่อที่จะทำการศึกษากระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเสี้ยววินาทีหลังจากบิ๊กแบงเรียกว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีเฉพาะควาร์กและกลูออนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นนำของโลกจากหลากหลายประเทศ จึงได้ร่วมมือกันออกแบบหัววัด ที่เรียกว่า อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE)  เพื่อตรวจหาปรากฏการณ์นี้จากการวัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก รูปที่ 2 […]

The post ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

นักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาการเกิดขึ้นของเอกภพว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ ต้องการที่จะรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จากการศึกษาในเชิงทฤษฎีพบว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้มาจาก ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นและผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 13.8 พันล้านปี

โดยพลังงานจากทฤษฎีบิ๊กแบงได้เปลี่ยนรูปไปเป็นอนุภาคมูลฐาน เช่น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน ก่อนในขั้นตอนแรก แล้วหลังจากนั้น ควาร์ก เลปตอนและ กลูออน จึงรวมตัวเป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

รูปที่ 1 กำเนิดเอกภพตามแนวคิดตาม ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang)
ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_ee6egjqDMoM/TEh6Rv_Or8I/AAAAAAAAAA4/L7SlBktIT4/s1600/9108002%5B1%5D.jpg

เพื่อที่จะทำการศึกษากระบวนการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเสี้ยววินาทีหลังจากบิ๊กแบงเรียกว่า ควาร์ก-กลูออน พลาสมา

ซึ่งเป็นช่วงที่มีเฉพาะควาร์กและกลูออนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นนำของโลกจากหลากหลายประเทศ จึงได้ร่วมมือกันออกแบบหัววัด ที่เรียกว่า อลิซ (A Large Ion Collider Experiment, ALICE)  เพื่อตรวจหาปรากฏการณ์นี้จากการวัดอนุภาคมูลฐานจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นหลังการชนของไอออนหนัก

รูปที่ 2 ภาพการรวมตัวของควาร์ก เป็น นิวเคลียส อะตอม โมเลกุล และสสาร ต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
ที่มา:https://inpp.ohio.edu/~rochej/group_page/strongly_interacting.html

หัววัดอลิซ จัด เป็น 1 ใน 7 หัววัดหลัก ที่ติดตั้งบริเวณ  เครื่องเร่งอนุภาคฮาดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider, LHC)  ณ องค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ หรือ เซิร์น  สมาพันธรัฐสวิส  การสร้างหัววัดต่าง ๆ เหล่านี้ต้องใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงที่มีความซับซ้อน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงมีพระราชดําริ ว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทํางานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนําระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศเป็นอันมาก

รูปที่ 3 พระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง มทส. และ อลิซ, เซิร์น 
ณ วังสระปทุม เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หน่วยงานในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และ  สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)   จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบติดตามทางเดินของอนุภาค (Inner Tracking System, ITS) ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เหมือนกับเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพ แต่มีความไวและความละเอียดในการวัดสูงมาก  เมื่อมีอนุภาคที่มีประจุวิ่งผ่านเซนเซอร์ เซนเซอร์จะส่งสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ทราบถึงตำแหน่งที่อนุภาคเคลื่อนที่ผ่าน 

รูปที่ 4 แสดงทางเดินและจำนวนอนุภาคที่เกิดขึ้นในการชนที่หัววัดอลิซในแต่ละครั้ง โดยเส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง

อนุภาคที่เกิดขึ้นหลังการชนกันของ LHC แต่ละครั้ง มีจำนวนมหาศาล  โดยจากรูปที่ 4 เส้นแต่ละเส้น คือ เส้นทางการเดินทางของอนุภาค 1 ตัว ที่เกิดขึ้นหลังการชน 1 ครั้ง   เส้นเหล่านี้สร้างจากการนำข้อมูลที่เซนเซอร์บันทึกไว้มาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance  Computing, HPC) 

เซนเซอร์ในระบบติดตามทางเดินของอนุภาคที่ทางประเทศไทยเข้าไปร่วมออกแบบเรียกว่า อัลไพด์ (ALICE Pixel Detector, ALPIDE) ซึ่งมีขนาดกว้าง 1.5 x 3.0 ตารางเซนติเมตร  การสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะนำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงกันเป็น แถบ(stave) แล้วนำมาเรียงประกอบกันเป็นรูปทรงกระบอกล้อมรอบบริเวณที่เกิดการชนกันของอนุภาค 

 A) รูปภาพของเซนเซอร์อัลไพด์

B) นำเซนเซอร์อัลไพด์มาเรียงเป็นแถบ

C) นำแถบเซนเซอร์มาเรียงเป็นครึ่งทรงกระบอก

 D) แถบเซนเซอร์ที่เรียงเป็นครึ่งทรงกระบอกแล้วเสร็จ

E) ครึ่งทรงกระบอก นำมาประกอบเป็นทรงกระบอกล้อมรอบ จุดที่เกิดการชนของอนุภาค

รูปที่ 5 แสดงภาพรวมการดำเนินงานของการสร้างระบบติดตามทางเดินของอนุภาค 
ที่มา: M. Keil 2015 JINST 10 C03012,  https://ep-news.web.cern.ch/alice-its-upgrade-pixels-quarks (b)
http://cds.cern.ch/record/2690228?ln=en (c), (d) Reidt 2016 JINST 11 C12038 (e)

The post ALICE Collaboration และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/cms-collaboration-th/ Sat, 20 Mar 2021 10:14:25 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=18079 Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจาก การชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN ในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง การศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงเป็นสาขาการวิจัยระดับแนวหน้าที่มุ่งอธิบายสมบัติทางกายภาพของธรรมชาติในรายละเอียดของสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด (ไม่สามารถแตกย่อยได้อีก) เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “อนุภาคมูลฐาน” (หมายถึง อนุภาคที่ไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่น ไม่มีโครงสร้างภายใน ไม่สามารถแบ่งแยกย่อยต่อไปได้อีก) ทั้งนี้สมบัติของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคที่พบจนถึงปัจจุบันสามารถอธิบายได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมดโดยทฤษฎีที่เรียกว่า “แบบจำลองมาตรฐาน : Standard Model” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่รวบรวมฟิสิกส์ควอนตัม ทฤษฎีเกจสมมาตร และสัมพัทธภาพพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน ในปัจจุบันตามแบบจำลองมาตรฐาน กำหนดว่ามีอนุภาคมูลฐานเป็นจำนวน 30 ชนิด และจากการทดลองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักฟิสิกส์พบว่าโดยรวมแล้วสมบัติของอนุภาคมูลฐานที่อธิบายโดยแบบจำลองมาตรฐานมีความสอดคล้องกับผลการทดลองส่วนใหญ่ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจากการชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN เพื่อศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์พลังงานสูง (Standard Model) ในระดับพลังงานที่สูงมากขึ้น รวมถึงค้นหาอนุภาคใหม่ […]

The post CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจาก การชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN ในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง

การศึกษาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงเป็นสาขาการวิจัยระดับแนวหน้าที่มุ่งอธิบายสมบัติทางกายภาพของธรรมชาติในรายละเอียดของสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุด (ไม่สามารถแตกย่อยได้อีก) เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “อนุภาคมูลฐาน” (หมายถึง อนุภาคที่ไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่น ไม่มีโครงสร้างภายใน ไม่สามารถแบ่งแยกย่อยต่อไปได้อีก) ทั้งนี้สมบัติของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคที่พบจนถึงปัจจุบันสามารถอธิบายได้ครอบคลุมเกือบทั้งหมดโดยทฤษฎีที่เรียกว่า “แบบจำลองมาตรฐาน : Standard Model” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่รวบรวมฟิสิกส์ควอนตัม ทฤษฎีเกจสมมาตร และสัมพัทธภาพพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน ในปัจจุบันตามแบบจำลองมาตรฐาน กำหนดว่ามีอนุภาคมูลฐานเป็นจำนวน 30 ชนิด และจากการทดลองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักฟิสิกส์พบว่าโดยรวมแล้วสมบัติของอนุภาคมูลฐานที่อธิบายโดยแบบจำลองมาตรฐานมีความสอดคล้องกับผลการทดลองส่วนใหญ่ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต

Compact Muon Solenoid หรือ CMS เป็นเครื่องตรวจวัดอนุภาคอเนกประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ตรวจวัดอนุภาคที่เกิดจากการชนกันของลำอนุภาคโปรตอนในเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider หรือ LHC ที่ CERN เพื่อศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์พลังงานสูง (Standard Model) ในระดับพลังงานที่สูงมากขึ้น รวมถึงค้นหาอนุภาคใหม่ ๆ ทั้งที่ทำนายไว้ในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน อาทิ อนุภาคฮิกส์ หรืออนุภาคที่ทำนายไว้ในกลุ่มของทฤษฎีนอกเหนือจากแบบจำลองมาตรฐาน (Beyond Standard Model) อาทิ อนุภาคสมมาตรยิ่งยวด หรือการไขความลับของสสารมืด (Dark matter) เป็นต้น

เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS ถูกสร้างขึ้นขนาบขดลวดตัวนำยิ่งยวดรูปทรงกระบอก ที่ผลิตสนามแม่เหล็กแรงสูงขนาดถึง 3.8 เทสลา (ความแรงมากกว่าสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 100,000 เท่า) ทำให้อนุภาคที่เกิดจากการชนกันในเครื่องเร่งอนุภาค LHC ที่มีประจุไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง สามารถช่วยจำแนกอนุภาคประจุบวกและประจุลบ รวมถึงคำนวณค่าโมเมนตัมของอนุภาคที่เกิดขึ้นได้ ระหว่างขดลวดตัวนำยิ่งยวดนี้ เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS ประกอบด้วยระบบตรวจจับ 4 ชนิด

  • ระบบตามรอยแบบซิลิกอน (Silicon Tracker System)
    ประกอบด้วยระบบตามรอยแบบ pixel และแบบ silicon strip ซึ่งทำให้เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS สามารถหาเส้นทางของอนุภาคที่เกิดจากการชนกันให้มีความแม่นยำสูง ระบบตามรอยสามารถตรวจสอบเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคมิวออนพลังงานสูง อิเล็กตรอน และฮาดรอน (อนุภาคที่มีควาร์กเป็นส่วนประกอบ) รวมไปถึงตรวจสอบเส้นทางการสลายตัวของอนุภาคที่มีอายุสั้น เช่น บีควาร์กและซีควาร์ก ซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาอนุภาคจากทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวดได้
  • เครื่องตรวจวัดพลังงาน Electromagnetic Calorimeter หรือ ECAL
    เป็นเครื่องตรวจวัดพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคโฟตอน (อนุภาคแสง) แบบเป็นเนื้อเดียวกัน คือทำจากวัสดุที่สามารถทำให้เกิดการสลายตัวและวัดพลังงานได้ภายในเนื้อเดียวกัน วัสดุที่ว่านี้คือแท่งแก้วคริสตัล lead tungstate ซึ่งจะเกิดเป็นประกายแสงเมื่อมีอนุภาคผ่านเข้ามา ปริมาณของประกายแสงจะขึ้นอยู่กับพลังงานของอนุภาค ทำให้สามารถนำมาคำนวณพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคโฟตอนได้

  • เครื่องตรวจวัดพลังงาน Hadron Calorimeter หรือ HCAL
    เป็นเครื่องตรวจวัดพลังงานแบบเนื้อผสม ประกอบไปด้วยชั้นของวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง อาทิ ทองเหลืองหรือเหล็กสลับกัน และเครื่องตรวจวัดพลังงานด้วยแสง (plastic scintillator) ที่ทำให้เกิดประกายแสงเมื่อมีอนุภาควิ่งผ่าน โดยเฉพาะอนุภาคฮาดรอนที่มีควาร์กเป็นส่วนประกอบ อาทิ โปรตอน นิวตรอน พายออน และเคออน เป็นต้น

  • เครื่องตรวจวัดเส้นทางของอนุภาคมิวออน หรือ Muon Chamber
    ติดตั้งอยู่ภายนอกขดลวดแม่เหล็กทรงกระบอก โดยทำการวัดตำแหน่งการชนของอนุภาคมิวออนกับอะตอมของก๊าซภายในสี่เครื่องตรวจวัดย่อย แต่ละเครื่องตรวจวัดสอดแทรกอยู่ระหว่างโลหะควบคุมทิศทางสนามแม่เหล็กหรือ return yoke เมื่อนำข้อมูลจาก Muon Chamber ทั้งสี่เครื่องตรวจวัดมารวมกับระบบตามรอยอนุภาคซิลิกอน จะสามารถระบุเส้นทางการเคลื่อนที่ของมิวออนได้อย่างแม่นยำ

เมื่อรวมระบบตรวจจับ 4 ชนิด เครื่องตรวจวัดอนุภาค CMS สามารถตรวจวัดพลังงานแบบครอบคลุมทุกทิศทาง เพื่อสามารถระบุ “พลังงานที่หายไป” จากอนุภาคที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ อาทิ อนุภาคนิวตริโน และนิวตราลิโนในทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด เป็นต้น การตรวจวิเคราะห์อนุภาคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแบบจำลองหรือแนวคิดทางทฤษฎีต่าง ๆ จะนำไปสู่การค้นพบอนุภาคชนิดใหม่หรือทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ประเทศไทยนำโดยทีมนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินความร่วมมือกับ CMS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา โดยมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางฟิสิกส์ การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ของ CMS การจัดการข้อมูลผลการทดลอง และการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาคฮาดรอน ซึ่งนักวิจัยไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในหลากหลายส่วนงานดังต่อไปนี้

  • ความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางฟิสิกส์
    ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐานผ่านกระบวนการเกิดท็อปควาร์ก 4 ตัว (tttt production) และกระบวนการเกิดคู่อนุภาคฮิกซ์ (Higgs pair production) รวมถึงการค้นหาฟิสิกส์นอกเหนือแบบจำลองมาตรฐาน ได้แก่ การค้นหาแม่เหล็กขั้วเดียว (monopole) และการค้นหาอนุภาคฮิกซ์ที่มวลอื่น ๆ (heavy Higgs searches)

  • ความร่วมมือด้านการพัฒนา CMS ซอฟต์แวร์
    เพื่อการจำลองและประมวลผลของ CMS สำหรับ High Luminosity LHC โดยทดลองใช้เทคนิค Loop optimization เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ การประสานงานและติดตามการปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ทั้งทางด้าน Physics performance และความต้องการ computing resource ในการประมวลผล 

  • ความร่วมมือด้านการจัดการหรือ operation
    นักวิจัยไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในทีมบริหารของ CMS เพื่อทำหน้าที่ดูแลการจัดการข้อมูลผลการทดลองและการจำลองด้วยวิธีมอนติคาร์โล และตรวจสอบคุณภาพของ CMS ซอฟต์แวร์ รวมถึงการดูแลให้ทุกส่วนงานใน CMS สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ความร่วมมือด้านการพัฒนาเครื่องตรวจวัดอนุภาครุ่นใหม่
    โดยทำการศึกษาคุณสมบัติของซิลิกอนเซนเซอร์ ที่จะนำไปใช้ในส่วนของการพัฒนาเครื่องตรวจวัดพลังงานความละเอียดสูง (High-granularity calorimeter, HGCAL) สำหรับ High-Luminosity LHC ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องในปี ค.ศ. 2027 ต่อไป

The post CMS และความร่วมมือกับประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น ตามแนวพระราชดำริฯ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/princess-project-with-cern/ Sat, 20 Mar 2021 08:50:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17873 โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค DELPHI (Detector with Lepton, Photon and Hadron Identification) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ การประชุม RSIS: Role of Science in Information Society ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม […]

The post พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น <br>ตามแนวพระราชดำริฯ appeared first on NAC2021.

]]>

โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ทรงมีพระราชดำริที่จะให้นักวิทยาศาสตร์จากประเทศไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่เซิร์น ทรงแสดงความสนพระทัยในงานของเซิร์นโดยได้ทรงเสด็จนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค DELPHI (Detector with Lepton, Photon and Hadron Identification) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP)

ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ณ การประชุม RSIS: Role of Science in Information Society

ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค Compact Muon Solenoid (CMS) สำหรับเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC)

ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ศูนย์ต้อนรับนักท่องเที่ยวเครื่องตรวจวัดอนุภาค ATLAS (A Toroidal LHC ApparatuS) และศูนย์ทดสอบแม่เหล็ก SM18

ครั้งที่ 5

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทรงเป็นสักขีในการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ CERN และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค และเครื่องตรวจวัดอนุภาคเพื่อการแพทย์, CMS Crystal factory และเครื่องเร่งอนุภาค Low Energy Ion Ring (LIER)

ครั้งที่ 6

ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ เครื่องตรวจวัดอนุภาค ALICE (A Large Ion Collider Experiment) และศูนย์ประกอบ Inner Tracking System (ITS)
รุ่นที่ 2

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา หน่วยงานในประเทศไทยได้มีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานของเซิร์นรวมทั้งหมด 6 ฉบับ และการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศกับเซิร์น (International Cooperation Agreement – ICA) ตามลำดับ การลงนามในครั้งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นหลังจากการพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านการศึกษา การวิจัย การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศร่วมกับเซิร์นที่พัฒนามากยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การลงนามเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest : EOI)

ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และ Compact Muon Solenoid (CMS) Collaboration ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ณ CERN Point-5, CMS detector หมู่บ้าน CESSY ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น เพื่อสนับสนุนความร่วมมือวิจัยระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับเซิร์น ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านวิชาการ CERN-DESY-GSI/FAIR  และได้เริ่มจัดกิจกรรมการคัดเลือกนักศึกษา และครูสอนฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนเซิร์น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

2. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

3. การลงนาม MoU ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ CMS Collaboration

ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองของเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ วังสระปทุม

4. การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Worldwide LHC Computing Grid (WLCG)

ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับเซิร์น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 ณ วังสระปทุม

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

5. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ของเซิร์น

ในความร่วมมือด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และประยุกต์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ เซิร์น

6. การลงนาม MoU ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนและ ALICE Collaboration

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ณ วังสระปทุม

7. การลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Cooperation Agreement – ICA)

ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ วังสระปทุม เป็นยกระดับความร่วมมือกับเซิร์น จากระดับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ขึ้นมาเป็นระดับรัฐบาล

การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเซิร์น

ความร่วมมือกับเซิร์นเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทย ได้เรียนรู้ความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ไทยได้เข้าร่วมทำงานวิจัยกับบุคลากรของเซิร์น เข้าใช้เครื่องมือและข้อมูลที่ไม่สามารถจัดซื้อหรือจัดสร้างได้ในประเทศไทย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องตรวจวัดอนุภาค และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้หลาย ๆ อย่างได้รับการนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อการประยุกต์ใช้  รวมถึงด้านการศึกษาที่เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของเซิร์นในการให้การศึกษากับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรในอนาคต รวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และการสร้างกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. การคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาและครูฟิสิกส์เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นที่เซิร์น ดังนี้

A. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Programme)

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นให้แก่นักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยรับนักศึกษาที่ศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อมาเรียนรู้พันธกิจของเซิร์น แนวทางการวิจัยและพัฒนาทางด้านฟิสิกส์อนุภาคในอนาคต ตลอดจนร่วมในการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม 

จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้จัดส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว รวมจำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563) 
มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 30 คน

B. โครงการครูภาคฤดูร้อน (High School Teacher Programme)

เป็นโครงการที่จัดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541  เพื่อที่จะพัฒนาการสอนฟิสิกส์อนุภาคในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก่ครูสอนฟิสิกส์ผ่านการอบรม และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยมุ่งหวังให้ครูที่ผ่านการอบรมนำความรู้ที่ได้กลับไปเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียนต่อไป รวมถึงต้องการให้ครูแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการสอนระหว่างครูที่เข้าร่วมโครงการจากหลากหลายเชื้อชาติ ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนผู้เข้าร่วมจากครูฟิสิกส์ เป็นครูวิทยาศาสตร์ และเมื่อปี พ.ศ. 2561 เซิร์นได้เพิ่มกิจกรรม International Teacher Weeks Programme สำหรับครูวิทยาศาสตร์ขึ้นอีกหนึ่งกิจกรรม 

ประเทศไทยได้จัดส่งครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อน แล้วรวม จำนวน 11 รุ่น (พ.ศ. 2553 – 2563)
มีครูฟิสิกส์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน

C. โครงการจัดส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปศึกษาดูงานที่เซิร์น (High School Visit Program at CERN)

เป็นโครงการคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อไปศึกษาดูงานที่เซิร์น เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานที่เซิร์น และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง โดยโครงการความร่วมมือไทย-เซิร์นได้ร่วมกับ 7 หน่วยงานในประเทศไทย ประกอบด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project, JSTP) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจิตรลดา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คัดเลือกนักเรียน จำนวน 12 คน และครูผู้ควบคุมนักเรียน จำนวน 2 คน เพื่อเป็นตัวแทนนักเรียนและครูผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563) มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน รวม 108 คน

จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 8 รุ่น (พ.ศ. 2556 – 2563)
มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 94 คน
ครูฟิสิกส์ ผู้ควบคุมนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 คน
รวม 108 คน

2. คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย CMS

โดยมีอาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี โท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย CMS ร่วมถึงโครงการปริญญาเอกร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นที่เป็นสมาชิก CMS ด้วยกัน มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาโท 3 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความร่วมมือกับสถานีวิจัย ALICE ในการออกแบบและพัฒนาระบบตรวจจับทางเดินภายใน (Inner Tracking System, ITS)

โดยมีอาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ในหัวข้อร่วมกับสถานีวิจัย ALICE มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ระดับปริญญาตรี 2 คน ระดับปริญญาโท 7 คน และระดับปริญญาเอก 1 คน

4. การจัดตั้งภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติทางด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium)

เป็นความร่วมมือของ 5 พันธมิตร อันได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่มีความจุข้อมูลสูง และมีสมรรถนะในการคำนวณที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากที่เกิดจากการทดลองของเซิร์น ปัจจุบันมีพันธมิตรเพิ่มเติมอีก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในการร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล เพื่อรองรับการวิจัยด้าน e-Science ในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง และในสาขาอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารทรัพยากรน้ำ พลังงานและสิ่งแวดล้อม Big Data จักรวาลวิทยา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และการวิจัยผลกระทบของอวกาศที่มีต่อโลก

5. หน่วยงานในประเทศได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการปรับปรุงระบบตรวจจับทางเดินภายใน (ITS Upgrade) ของสถานีวิจัย ALICE

ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ ในการค้นหาวัสดุที่เหมาะสมในการผลิตเซนเซอร์ ทดสอบประสิทธิภาพของเซนเซอร์ต้นแบบ จำลองสถานการณ์การวัดอนุภาคทางฟิสิกส์ที่น่าสนใจ และออกแบบระบบควบคุมและจัดการข้อมูล (Online and Offline computing System, O2) ให้แก่สถานีวิจัย ALICE โดยหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

6. จากการลงนามบันทึกความเข้าใจทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อการแพทย์และการประยุกต์

นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับใช้ทางการแพทย์ และยังได้มีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องเร่งอนุภาคไปใช้ในการพัฒนา โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรงสำหรับฉายรังสีผลไม้ และการทำวัลคาไนเซชั่นน้ำยางธรรมชาติ นอกเหนือจากนั้นยังได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ยังไม่มีในประเทศไทย อาทิ การเชื่อมโลหะแบบพิเศษ ที่เรียกว่า การเชื่อมแบบแล่นประสาน (Brazing) ซึ่งใช้ในการเชื่อมวัสดุต่างชนิดกัน อันช่วยลดอัตราการพึ่งพิงต่างประเทศในการนำเข้าและจัดสร้างเครื่องมือเหล่านี้

The post พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง โครงการความร่วมมือไทยกับเซิร์น <br>ตามแนวพระราชดำริฯ appeared first on NAC2021.

]]>
เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/20/cern-organization/ Sat, 20 Mar 2021 08:04:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17735 นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 จนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากของยุโรปได้ย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของยุโรปและสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีสถาบันวิจัยทางฟิสิกส์ระดับแนวหน้าในยุโรป การเกิดขึ้นของสถาบันวิจัยนี้เพื่อหยุดยั้งการสมองไหลของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นส่วนช่วยให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นของยุโรปอีกครั้งภายหลังสงคราม เซิร์นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรชั่วคราวในปี ค.ศ. 1952 มีหน้าที่เพื่อวางรากฐานการก่อตั้งสถาบันวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ขึ้น และการก่อตั้งได้สำเร็จลุล่วงลงในวัน 29 กันยายน ค.ศ. 1954 สถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research หรือ Organisation Européenne pour la Recherche Nucléaire ในภาษาฝรั่งเศส) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา หากแต่ยังคงใช้ชื่อย่อขององค์กร CERN ตามเดิม สถานที่ก่อตั้งองค์กรได้เลือกพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเจนีวา โดยมีพื้นที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส ภาพถ่ายพาโนรามาที่คาดว่าเป็นภาพถ่ายภาพแรกของที่ตั้งของเซิร์นบ้านเล็กๆ […]

The post เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ appeared first on NAC2021.

]]>

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1939 จนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากของยุโรปได้ย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวิสัยทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของยุโรปและสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีสถาบันวิจัยทางฟิสิกส์ระดับแนวหน้าในยุโรป การเกิดขึ้นของสถาบันวิจัยนี้เพื่อหยุดยั้งการสมองไหลของนักวิทยาศาสตร์ และเป็นส่วนช่วยให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นของยุโรปอีกครั้งภายหลังสงคราม เซิร์นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา

สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือเซิร์น (ตามชื่อย่อในภาษาฝรั่งเศสของ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire, CERN) เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งเพื่อเป็นองค์กรชั่วคราวในปี ค.ศ. 1952 มีหน้าที่เพื่อวางรากฐานการก่อตั้งสถาบันวิจัยฟิสิกส์นิวเคลียร์ขึ้น และการก่อตั้งได้สำเร็จลุล่วงลงในวัน 29 กันยายน ค.ศ. 1954 สถาบันวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research หรือ Organisation Européenne pour la Recherche Nucléaire ในภาษาฝรั่งเศส) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา หากแต่ยังคงใช้ชื่อย่อขององค์กร CERN ตามเดิม สถานที่ก่อตั้งองค์กรได้เลือกพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเจนีวา โดยมีพื้นที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส

ภาพถ่ายพาโนรามาที่คาดว่าเป็นภาพถ่ายภาพแรกของที่ตั้งของเซิร์นบ้านเล็กๆ
ที่ด้านขวาของภาพ คือ ชายแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิส และประเทศฝรั่งเศส

วัตถุประสงค์ของการเซิร์นนั้นได้เขียนเอาไว้ในอนุสัญญาการก่อตั้งเซิร์น (CERN’s convention) ว่าองค์กรจะต้องจัดให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐในยุโรปในการวิจัยนิวเคลียร์ในรูปลักษณะของการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และในการวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก องค์กรจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานตามความต้องการทางทหาร และจะต้องเผยแพร่ผลการศึกษาทั้งด้านทดลองและทฤษฎีโดยการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่โดยสาธารณะ 

วัตถุประสงค์ของการเซิร์นยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมจนถึงปัจจุบัน หากแต่ขอบเขตของงานวิจัยได้ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ต้องการศึกษาฟิสิกส์อะตอม และฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นไปยังฟิสิกส์อนุภาคมากขึ้น ในปัจจุบันเราจึงได้รู้จักเซิร์นในฐานะสถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคแห่งยุโรป (European laboratory for particle physics หรือ Laboratoire européen pour la physique des particules ในภาษาฝรั่งเศส)

ในปัจจุบันเซิร์นมีจำนวนสมาชิก (Member states) รวม 23 ประเทศ และประเทศที่เป็นสมาชิกสมทบ (Associate Members) และประเทศที่จะเข้าสู่การเป็นสมาชิก รวม 9 ประเทศ สมาชิกของเซิร์นในปัจจุบันไม่ได้จำเป็นจะต้องเป็นประเทศในยุโรปเท่านั้น อิสราเอลเป็นประเทศแรกนอกยุโรปที่เข้าเป็นสมาชิก สำหรับประเทศจากทวีปเอเชียมีอินเดียและปากีสถานที่เป็นสมาชิกสมทบ นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีส่วนร่วมสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานของเซิร์นและองค์กรที่ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับเซิร์นเป็นผู้สังเกตการณ์ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (EU) สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ (JINR) และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

กลุ่มประเทศสมาชิกของเซิร์น (ณ วันที่ 5 ม.ค. 2021)
https://cds.cern.ch/record/2751160/files/map-etats-membres-2021_Map_EN.png

สำหรับประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือกับเซิร์น (International Cooperation Agreements, ICAs) เพื่อใช้เป็นกรอบความร่วมมือในการพัฒนาการวิจัยและความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ภาพแสดงระกับความร่วมมือในระดับต่าง ๆ ของแต่ละประเทศกับเซิร์น
https://international-relations.web.cern.ch/stakeholder-relations/Participation-CERN

ในปัจจุบัน เซิร์นเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อนุภาคเชิงการทดลองของยุโรปที่เดินเครื่องเร่งอนุภาคที่ทรงพลังที่สุดของโลก ณ ปัจจุบัน (CERN Large Hadron Collider) มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และพนักงานรวมกันกว่า 2,500 คน และมีนักวิจัยจากทั่วโลกลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานมากกว่า 12,000 คน

จำนวนผู้ใช้ (User) ที่ลงทะเบียนกับเซิร์น ตามสัญชาติ (ณ วันที่ 27 ม.ค. 2020)
https://cds.cern.ch/record/2708658/files/World_users_by_Nat_2020-01.png

ภารกิจของเซิร์นนั้นรวมถึง:

  1. จัดหาเครื่องเร่งอนุภาค และการสนับสนุน เพื่อทำให้เกิดการวิจัยในระดับแนวหน้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของมนุษยชาติ
  2. เป็นศูนย์วิจัยที่เป็นเลิศในระดับนานาชาติของฟิสิกส์พื้นฐาน
  3. รวบรวมนักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อผลักดันพรมแดนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

The post เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ appeared first on NAC2021.

]]>
วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/14/thai-cern-vdo/ Sun, 14 Mar 2021 09:08:34 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14034 สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในหัวข้อการวิจัยด้านฟิสิกส์ อนุภาคฮิกส์กับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ. 2556 ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์น ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3

The post วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN appeared first on NAC2021.

]]>

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3

The post วีดิทัศน์เกี่ยวกับโครงการ Thai – CERN appeared first on NAC2021.

]]>