29 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 16 Jun 2021 08:29:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png 29 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss38-creative-economy-biodiversity-travelling/ Sat, 27 Feb 2021 15:48:22 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4847 ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity        “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว         ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน    […]

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรม
และความหลากหลายทางชีวภาพ

ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

Enhancing Hi-value Tourism with Cultural and Biodiversity

       “แพลตฟอร์มนวนุรักษ์” การบูรณาการข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในรูปแบบเปิด (linked data and open data) และพัฒนาโมดูลต่างๆ เพื่อขยายแพลตฟอร์มดิจิทัลให้รองรับการนําไปใช้ในบริบทการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการนําข้อมูลดิจิทัลที่มีชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูลไปต่อยอด โดยภาคเอกชนที่มีแพลตฟอร์มสินค้า  สามารถนํามาเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของชุมชนและสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้ เกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ยกระดับปราชญ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดึงความรู้ที่เป็น tacit knowledge ในการสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว 

       ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาจะประกอบด้วยแง่มุมต่างๆ ได้แก่
       1) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
       2) การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
       3) การใช้ประโยชน์ข้อมูลวัฒนธรรม ชีวภาพอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน
       4) การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยวทางวีชวภาพอัตลักษณ์ชุมชน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00 – 13.15 น.

พิธีกร กล่าวต้อนรับ และแนะนำวิทยากร

13.15-13.30 น.

กล่าวเปิดการเสวนา หัวข้อ “ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

โดย  ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

13.30-15.30 น.

การเสวนา ในหัวข้อ 

“ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ”   

1. นางสาววัชรี ชูรักษา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

2. อาจารย์ ดร.อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์
รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. อาจารย์ประสาน เสถียรพันธุ์
ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก
โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา

4. นายสมศักดิ์ บุญคำ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท โลเคิล อไลค์จำกัด (Local Alike Co,.Ltd)

5. ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG) 
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ดำเนินรายการโดย  นายสุภงช์ ไชยวงศ์  
นักวิชาการ งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ ศอ.

15.30-16.00 น.

ถาม-ตอบ

16.00 น.

กล่าวปิดการเสวนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ยกระดับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง บนพื้นฐานวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss52-alternative-battery-eco-friendly/ Sat, 27 Feb 2021 12:06:39 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5994 นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย ทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Battery innovation, a new alternative and eco-friendly battery         ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน        แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี          จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” […]

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัย

ทางเลือกใหม่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Battery innovation, a new alternative and ecofriendly battery

        ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน  ซึ่งแบตเตอรี่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในฐานะของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นในระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน ในยานยนต์ไฟฟ้า หรือในระบบกักเก็บพลังงาน

       แบตเตอรี่ที่เป็นที่นิยมในเชิงพาณิชย์ใน ปัจจุบันคือแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากสมรรถนะที่สูง อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่มีแหล่งผลิตแร่ลิเธียม ทำให้ต้องนำเข้าแร่ลิเธียมจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยเหตุนี้แบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียม เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี อีกทั้งแบตเตอรี่สังกะสียังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความ ปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี 

        จากเหตุผลที่กล่าวมา แบตเตอรี่สังกะสีจึงถูกวางให้เป็นแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ที่จะถูกพัฒนาให้เป็นแบตเตอรี่สมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศ “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้ง โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนในประเทศไทย” จึงเกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากแหล่งทุน กฟผ-สวทช. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีแบตเตอรี่สังกะสีเกิดขึ้นในประเทศไทยและในอนาคตมีแผนที่จะ จัดสร้างโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.10 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย
ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ 

09.10-09.20 น.

เปิดงานเสวนา

โดย
อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.

09.20-10.00 น.

รายงานผล “โครงการศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนจัดตั้งโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่สังกะสี-แมงกานีสไดออกไซด์ ในประเทศไทย”

โดย
ดร.ปรียากาญจณ์ เอกสุวรรณฉาย

10.00-11.30 น.

Panel discussion “แนวทางการผลักดันและส่งเสริมธุรกิจระบบกักเก็บพลังงานและแบตเตอรี่สังกะสีไอออน

โดย

  • อาจารย์พินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
    ผู้ทรงคุณวุฒิโปรแกรมร่วมสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ.- สวทช.
  • พันเอกพิพัฒน นิลแก้ว
    ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่ทหาร โรงงานแบตเตอรี่ทหาร
  • คุณปริพัตร บูรณสิน
    ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการยานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฎร
  • ดร.ไพโรจน์ ภานุกาญจน์
    ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานนวัตกรรม และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจากบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
  • รศ.ดร.สุรเทพ เขียวหอม
    อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30-12.00 น.

กล่าวปิดงาน

โดย
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นวัตกรรมแบตเตอรี่ปลอดภัยทางเลือกใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss34-atmp/ Sat, 27 Feb 2021 11:33:11 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4388 แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs   ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP         ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา         […]

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

ชื่อเสวนาไทย การบรรยาย เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง

และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP/PICs

 

ชื่อเสวนาอังกฤษ Advanced therapy Medicinal Product, ATMP

        ปัจจุบัน การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่การรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ หนึ่งในการรักษาที่กำลังเป็นที่สนใจคือการนำผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Product, ATMP)  ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซลล์บําบัดจากเซลล์มนุษย์ (Somatic Cell Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์ยีนบําบัด  (Gene Therapy Medicinal Product) ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineered Product) และผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงแบบลูกผสม (Combined ATMP) มาใช้ในการบำบัดรักษา โดยทั้งหมดนี้ถูกจัดเป็น ยา

        ในประเทศไทยได้มีการออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง แนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ชนิดผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด พ.ศ. 2561 และแนวทางการขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการขออนุญาต เช่น ข้อมูลการพัฒนาการศึกษาทั้งที่ไม่ใช่ทางคลินิก และทางคลินิก การควบคุมคุณภาพและการผลิต ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยง งานสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางที่นักวิจัยพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมของประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

9:00 – 9:20 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและวัตถุประสงค์การจัดงาน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช.

9:20 – 10:30 น.

  • แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (ATMP) ในประเทศไทย โดย สำนักยา อย. 
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ 
    • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็น ATMP 
  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.วิทวัส วิริยะบัญชา

กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด งานประเมินทะเบียนยาชีววัตถุ
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

10:30 – 11:30 น.

  • ความรู้และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ GMP ตาม Pharmaceutical Inspection
    Co-operation Scheme PIC/s

  • ข้อแนะนำ/เทคนิคการเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนตำรับยา/ผู้ผลิตยา

  • ช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและแหล่งข้อมูลเอกสารความรู้ต่างๆ

โดย ภก.ศรัณย์  นิ่มวรพันธุ์

กลุ่มกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

11:30 – 12:00 น.

ถาม-ตอบ

สอบถามรายละเอียดที่ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพการวิจัย สวทข.

025647000 ต่อ 71836-9

RQM@nstda.or.th

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง appeared first on NAC2021.

]]>
การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss50-water-management-plant-requirement/ Sat, 27 Feb 2021 11:32:36 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5968 การบริหารจัดการน้ำ ตามความต้องการพืช การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช Water Management According to Plant Requirement         ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น         ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด         การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช       สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ […]

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>

การบริหารจัดการน้ำ

ตามความต้องการพืช

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

Water Management According to Plant Requirement

        ทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งด้านการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม ฯลฯ แต่เนื่องจากปัจจุบัน มีความต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จึงนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

        ดังนั้น การจัดการให้พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามความต้องการของพืช และลดปริมาณการใช้น้ำที่เกินจำเป็น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการควบคุมคุณภาพของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในยุคที่ทรัพยากรน้ำมีจำกัด

        การวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เป็นหนึ่งในวิธีการช่วยลดต้นทุน แรงงาน ความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเพิ่มผลผลิต จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย อาทิ ระบบควบคุมน้ำในพืชไร่/พืชสวน เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor) ร่วมกับการใช้หลักการของการให้น้ำพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ประมวลผลจนกลายเป็นข้อมูลความต้องการของพืช

      สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ภายใต้สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการผ่านสื่อออนไลน์ เรื่อง “การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช” เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

แนะนำสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

13.15-14.15 น.

การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช

โดย รศ.ดร. สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.15-15.15 น.

ประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช

โดย คุณเฉลิมชัย เอี่ยมสอาด
นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร/สวทช.

15.15-15.30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการพืช appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss24-handysense/ Sat, 27 Feb 2021 10:22:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4265 นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)        ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้         ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ   […]

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense)

       ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เป็นระบบเกษตรแม่นยำโดยการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ผนวกกับอุปกรณ์ไอโอที (Internet of Thing) สู่อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ได้แก่ การให้น้ำ ปุ๋ย การป้องกันแมลง รวมทั้งการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและแสง คุณสมบัติของอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบการแสดงผล/แจ้งเตือน และระบบการควบคุม ทั้งหมดสามารถใช้งานสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของระบบเกษตรแม่นยำ

  • ผลผลิตมีคุณภาพดีสม่ำเสมอและปริมาณคงที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีควบคุมกระบวนการเพาะปลูก
  • ประมาณการผลผลิตได้ล่างหน้า สามารถลดปัญหาผลผลิตขาดแคลนหรือล้นตลาด
  • ลดการใช้แรงงาน เหมาะกับอนาคตที่แรงงานขาดแคลน
  • สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีโดยไม่พึ่งพิงฤดูกาล
  • ใช้เทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ทำให้สะดวกเข้าถึงได้ง่าย การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกทำได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้การขยายผลสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปเป็นไปได้ง่าย ลดเวลาการลองผิดลองถูก โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมประสานการถ่ายทอดองค์ความรู้

        ทั้งหมดเหล่านี้ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทของเกษตรกรไทย คือ “ใช้งานง่าย ทนทาน และมีราคาที่จับต้องได้” รวมถึงอุปกรณ์ได้ออกแบบให้มีความทนทานเหมาะสมกับสภาวะทางการเกษตรของประเทศไทย โดยผ่านการทดสอบระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมจาถสถาบันที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ

      ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ก่อให้เกิดการผลักดันนำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะ (Open Innovation Agriculture) มีการสร้างเครือข่าย (Communities) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดิจิทัลยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคการเกษตร โดยมีความมุ่งหวังที่จะยกระดับเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้สามารถใช้อย่างอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

09.00-09.15 น.

กล่าวนำความสำคัญของการเสวนา “เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ”

โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

09.15-11.00 น.

เสวนา หัวข้อ เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ

โดย

1) ผู้แทนปราชญ์เกษตร: นายสุรพล จารุพงศ์
อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน (Smile Lemon)

2) ผู้ให้บริการ: นายประสิทธิ์ ป้องสูน
CEO : Kitforward

3) หน่วยงานภาครัฐ: นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา

4) ผู้ประกอบการ: นายณฤต ดวงเครือรติโชติ
หัวหน้าฝ่าย IoT ส่วนงาน B2B Solution Dtac

5) ผู้ร่วมเสวนา: นายนริชพันธ์ เป็นผลดี 
ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN) ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)

11.00-12.00 น.

ถาม – ตอบ ออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยนวัตกรรมระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) appeared first on NAC2021.

]]>
การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss64-operando-xas/ Sat, 27 Feb 2021 09:15:49 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13050 การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS        ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ […]

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS

Improving research and increasing industrial competitiveness through advanced nanomaterial analysis techniques by Operando/In situ XAS

       ปัจจุบันองค์ความรู้เรื่องการวิเคราะห์คุณสมบัติด้วยนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทยเพราะสามารถยกระดับการแข่งขันอย่างยั่งยืนทั้งในงานวิจัยและอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและไอที ดังนั้นการเข้าใจธรรมชาติหรือพฤติกรรมของวัสดุศาสตร์ในระดับโครงสร้างอะตอมย่อมเกิดประโยชน์ต่อการควบคุมสมบัติของชิ้นงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สมบัติทางกายภาพและเคมี ทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาวัสดุนาโนให้มีความสามารถในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับซับซ้อน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงสร้างและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนทางกายภาพและทางเคมีของวัสดุนาโนขณะสังเคราะห์และระหว่างการใช้งานก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในการอธิบายการทำงานของวัสดุนาโนเหล่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาวัสดุนาโนให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการใช้งานอีกด้วย จึงทำไปสู่การพัฒนาเทคนิค operando XAS เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของวัสดุ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว operando XAS สามารถประยุกต์ใช้วิเคราะห์ธาตุได้ตั้งแต่ คาร์บอน ไปจนถึงธาตุหนักกลุ่มโลหะทรานสิชันได้ ส่งผลให้วิเคราะห์ธาตุได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอิเล็กตรอนของวัสดุนาโน หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์บนผิวหน้าวัสดุ รวมไปถึงกลไกการถ่ายโอนอิเล็กตรอนบนโครงสร้างของวัสดุและกลไกการเกิดอันตรกิริยาบนผิวหน้าของวัสดุ เนื่องจากเทคนิค operando คือการนำเอาเทคนิค XAS มาต่อประกอบให้ทำงานควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) และหรือเทคนิค Raman และหรือเทคนิค  UV-Vis spectrophotometry (UV-Vis) และหรือเทคนิค GC-MS ตลอดจนต่อประกอบกับระบบ impedance spectroscopy (EIS) ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับอะตอมของวัสดุนาโนในขณะทดสอบปฏิกิริยาจริง ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการศึกษาระบบการทำงานของวัสดุนาโน โดยเฉพาะตัวเร่งปฏิกิริยา ระบบการอัดและคายประจุของแบตเตอร์รี่ และชิ้นส่วนจิ๋วในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

        ผู้ดำเนินการสัมมนา : ดร. พงษ์ธนวัฒน์ เข็มทอง และ ดร. กมลวรรณ ธรรมเจริญ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

13.30 – 13.45 น.

หัวข้อบรรยาย “ขอบเขตการศึกษาโครงสร้างวัสดุนาโนเชิงลึกด้วยเทคนิค XAS”

โดย ดร.พินิจ กิจขุนทด
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

13.45 – 14.15 น.

หัวข้อบรรยาย “ขีดความสามารถของระบบ in situ XAS สำหรับงานวิจัยทางด้านวัสดุนาโน”

โดย ดร.ณัฐวุฒิ โอสระคู
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

14.15 – 14.45 น.

หัวข้อบรรยาย “การเพิ่มศักยภาพงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ด้วยระบบ  Operando XAS”

โดย ผศ.ดร.ศิรินุช ลอยหา
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.45 – 15.15 น.

หัวข้อบรรยาย “การประยุกต์ใช้ระบบ  in situ/Operando XAS ในการยกระดับงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม”

โดย ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

15.15 – 15.30 น.

กิจกรรมร่วมเสวนาและตอบข้อซักคำถามเพิ่มเติม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การยกระดับงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโนขั้นสูงแบบ Operando/In situ XAS appeared first on NAC2021.

]]>
Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss63-lean-solution-for-sme-in-industry/ Sat, 27 Feb 2021 04:57:27 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5578 ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 Lean! Solution for SME in industry 4.0 era         การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=9BR_CnU8CE0 เอกสารประกอบการสัมมนา Lean Manufacturing คืออะไร?อ.วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2563 13.30 – 13.35 น. กล่าวเปิดงานสัมมนาโดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ […]

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>

ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก

Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0

Lean! Solution for SME in industry 4.0 era

        การพัฒนาด้าน Industry 4.0 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการช่วยบริหารจัดการกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวิธีการบริหารจัดการกระบวนการผลิตนั้นอยู่ในแนวทางที่เหมาะสม ระบบการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เป็นปรัชญาและแนวทางในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก การใช้ระบบการผลิตแบบลีนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง การนำลีนไปใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ทันทีโดยมีต้นทุนดำเนินการไม่มาก อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมีประสิทธิผลมากขึ้น

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2563

13.30 – 13.35 น.

กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

13.35 – 13.50 น.

Lean Manufacturing คืออะไร?
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

13.50 – 14.05 น.

กรณีศึกษาการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME
โดย อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

14.05 – 14.20 น.

การพัฒนาระบบ IoT เพื่อสนับสนุนการใช้ Lean ในโรงงาน SME
โดย ดร. กุลชาติ มีทรัพย์หลาก กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

14.20 – 15.00 น.

เสวนาในหัวข้อ ประสบการณ์และแนวทางการนำ Lean ไปใช้ในโรงงาน SME ให้ได้อย่างมีประสิทธิผล
โดย

1. คุณ พงศ์กิตติ์ วุนวิริยะกิจ
กรรมการรองผู้จัดการ
บ.อุตสาหกรรมอะไหล่ (1999) จำกัด

2. อ. วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์
ผอ.หลักสูตรการจัดการระบบการผลิตและโลจิสติกส์แบบลีน
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

3. นาย เอกชาติ หัตถา
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

4. ดร. ธนกร ตันธนวัฒน์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ผู้ดำเนินรายการ:
ดร. นิธิพล ตันสกุล
ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

15.00 -15.15 น.

ถาม ตอบ ประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนา Lean ในกลุ่ม SME

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Lean! ทางรอด SME ในยุค 4.0 appeared first on NAC2021.

]]>
UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/27/ss61-uk-building-a-sustainable-future-through-entrepreneurship-lif/ Sat, 27 Feb 2021 04:02:43 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5458 UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided […]

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF)

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Through the Newton Leaders in Innovation Partnership Programme, 90 researchers who have an engineering-based innovation that has the potential to contribute to the social and economic development of Thailand have built their capacity on entrepreneurship and commercialisation and created their international networks.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

29 March 2021

13.30 – 13.35.

Welcome and Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.50

Keynote on
Strategy and Funding for strengthening Thailand Competitiveness
By Representatives of TSRI / PMU C and NSTDA

14.50-15.00

Celebrating an achievement of six years of the Newton Leaders in Innovation Fellowships
By Royal Academy of Engineering (RAEng)

15.00-15.45

How to start business successfully
By Oxentia

15.45-16.25

Sharing success story by LIF Alumni
(3-5 LIF alumni will be invited to the panel)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post UK Building a Sustainable Future Through Entrepreneurship (LIF) appeared first on NAC2021.

]]>