30 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 16 Jun 2021 08:42:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png 30 มีนาคม 2564 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss54-future-modern-transports/ Fri, 26 Feb 2021 12:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=6025 การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม ยานยนต์แห่งอนาคต การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต Research and Testing System of Future Modern Transports        Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น […]

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม

ยานยนต์แห่งอนาคต

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

Research and Testing System of Future Modern Transports

       Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น และ 4) การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงของผู้โดยสาร (Infotainment) 

        ปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับได้อยู่ใน Level 3-4 อย่างเต็มรูปแบบในรถยนต์สมัยใหม่บางรุ่น ซึ่งเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยได้

        การบรรยายและการเสวนาในครั้งนี้จะนำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของงานวิจัยและพัฒนา การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และวิทยากรจากต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา การทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งจะมาช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในรูปแบบของอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 30 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

เสวนาเรื่อง การสร้าง eco system ของ Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

โดย
1)
คุณเริงศักดิ์ ทองสม
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


2) คุณพนัส วัฒนชัย
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด

3) 
คุณฐิติภัทร ดอกไม้เทศ
สถาบันยานยนต์

4) คุณธนัญ จารุวิทยโกวิท
บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (
AIS)

5) คุณธวัชชัย ฤกษ์สำราญ
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (
TRUE)

6) คุณไพรัชฏ์ ไตรเวทย์
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.

 

14.30-14.40 น.

พัก

14.40-15.10 น.

Hands-on Experience of Autonomous driving Development and Operation

by Mr. David Chen
Turing Drive Inc.

15.10-15.40 น.

Proving ground for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Dr. Lung-Yao Chang
Deputy Director, Taiwan CAR Lab, NARLabs

15.40-16.10 น.

Open road for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Mr. Younggi Song
CEO & Founder – SpringCloud Inc.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>
การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss22-empathetic-design/ Fri, 26 Feb 2021 11:21:54 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3409 การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications          การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม […]

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design)

การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาและความเป็นอยู่ที่ดี

Impactful Empathetic Design — processes and real-life examples of how to develop products for healthcare and wellbeing applications

 

       การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า (Impactful Empathetic Design) คล้ายหรือต่างจากกระบวนการการออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Design Thinking หรือ Human-Centered Design อย่างไร ทำอย่างไรจึงออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไม่ใช่แค่ใช้งานได้ แต่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ได้จริง ให้โดนใจผู้ใช้จนผู้ใช้อยากใช้ต่อ และให้สร้างผลกระทบที่ดีได้ในระยะยาว เชิญหาคำตอบได้จากทีมออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ MTEC ที่ได้หล่อหลอมกระบวนการ Impactful Empathetic Design จากบทเรียนและประสบการณ์จริงจากการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่ อุปกรณ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มในที่ทุรกันดาร เฟอร์นิเจอร์เพื่อช่วยผู้สูงอายุลกการพลัดตกหกล้ม อุปกรณ์ช่วยกระตุ้นความรู้คิดของผู้ที่มีอาการสมองเสื่อม จนถึงอุปกรณ์ช่วยดูแลผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวทางไกล

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

30 มีนาคม 2564

 
09:00 – 12:00 น.

การเสวนา: การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า — กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

โดย

ดร. สิทธา สุขกสิ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ก่อเกียรติ เศษชัยชาญ
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดร. ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

 

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การออกแบบที่โดนใจและเข้าเป้า – กระบวนการและตัวอย่างจริงของวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี appeared first on NAC2021.

]]>
ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss32-sustainable-manufacturing/ Fri, 26 Feb 2021 06:35:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3915 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์          เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC […]

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing)

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

         เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีเป้าหมายในการสร้างเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) โดยมีโครงการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ (Translation Research) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยและผลักดันให้สามารถยกระดับการผลิตไปสู่ Industry 4.0 ได้ในอนาคต โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในรูปแบบการสาธิตวิธีใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการทดลองปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ผู้พัฒนาระบบ (System Integrator: SI) นวัตกร นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องให้สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ในงานสัมมนานี้ จะเป็นการบรรยายงานสำคัญต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน SMC ดังต่อไปนี้

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

09.30 – 09.50 น.

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC): บทบาท ภารกิจ และโครงการสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน
และ รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

09.55 – 10.15 น.

แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
(IDA: Industrial IoT and Data Analytics platform)
โดย ดร. สุวัฒน์ โสภิตพันธ์ วิศวกรอาวุโส
ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม (IIARG) เนคเทค สวทช.

10.20 – 10.40 น.

Reconfigurable Manufacturing Demo-line
โดย นายอุดม ลิ่วลมไพศาล นักวิจัย
กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช.

10.45 – 11.05 น.

เทคโนโลยี 5G เพื่อโรงงานและคลังสินค้าอัจฉริยะ
(5G for smart factory and warehouse)
โดย ดร. กมล เขมะรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย เนคเทค สวทช.

11.10 – 11.20 น.

ถาม-ตอบออนไลน์

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing) จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ appeared first on NAC2021.

]]>
แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss36-international-standard-herb/ Fri, 26 Feb 2021 06:23:13 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3948 แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล         สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้          สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=R7A7UYkTKkM เอกสารประกอบการสัมมนา พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพรภก.วินิต อัศวกิจวิรี มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร คุณนาตยา สีทับทิม เสวนาเรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร […]

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล

        สมุนไพรในประเทศไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน เนื่องจากสรรพคุณทางเภสัชวิทยาที่ทำให้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การนำสมุนไพรที่พบในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด โดยการวิจัย พัฒนา ออกแบบ และวิศวกรรม เพื่อค้นคว้าสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จึงสนับสนุนให้เกิดสารสกัดและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ที่สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจึงควรผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปผลิตหรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถส่งต่อไปยังผู้ผลิต และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ 

        สวทช. จึงจัดเวทีเสวนานี้ เพื่อสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย แนวทางของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพร การขอรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการ

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13:30 – 13:45 น.

ประธานในพิธีกล่าวเปิดต้อนรับ

13:45 – 14:15 น.

พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ขอบข่ายและแนวทางการส่งเสริมมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย ภก. วินิต อัศวกิจวิรี 
ที่ปรึกษาเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

14:15 – 14:45 น.

มาตรฐานสารสกัดสมุนไพร  

โดย คุณนาตยา สีทับทิม
นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

14:45 – 14:55 น.

แนะนำผู้เข้าร่วมเสวนา

14:55 – 16:00 น.

การเสวนา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานสารสกัดสมุนไพร

โดย
1) ภก. วราวุธ เสริมสินสิริ
ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย.

2) คุณนาตยา สีทับทิม
ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดมาตรฐาน 7 กองกำหนดมาตรฐาน สมอ.

3) ดร.บังอร เกียรติธนากร
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผู้ดำเนินรายการ
ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

16:00 – 16:30 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post แนวทางการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพสารสกัดสมุนไพรสู่สากล appeared first on NAC2021.

]]>
พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss51-energy-agriculture/ Fri, 26 Feb 2021 04:25:00 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5482 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0         ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ         จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”         ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน วิดีโอบันทึกการสัมมนา https://www.youtube.com/watch?v=au555xD2lgU เอกสารประกอบการสัมมนา พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0โดย สุภกิณห์ สมศรี โซล่ารเ์ซลล์กับการเกษตรโดย ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าในโรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียมโดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ “Aqua-IoT” เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยุคเกษตรดิจิทัลโดย ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร กำหนดการ วันที่ 30 […]

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0

        ภาคการเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการผลิตอาหาร วัตถุดิบตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานทดแทน โดยเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นฐานการผลิตที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้าและการส่งออกสำหรับภาคการผลิตและบริการอื่น ๆ

        จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อควบคุมผลผลิตให้มีความสม่ำเสมอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างแม่่นยำและคุ้มค่า ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

        ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนา รวมถึงแนวทางที่จะช่วยการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการใช้พลังงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 30 มีนาคม 2564

13.00-13.15 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม

โดย ประธานบริหารโครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ. – สวทช.

13.15-14.15 น.

  • ภาพรวมเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 

คุณสุภกิณห์ สมศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

  • Case study: Solar Sharing / Agrivoltaic 

ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  • Case study: Smart farm / การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรือนเพาะปลูก  

ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร     ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ    คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

14.15-14.45 น.

การเสวนาด้านนวัตกรรมพลังงานกับภาคการเกษตร 

รายชื่อผู้ร่วมเสวนา

1. นายพินิจ ศิริพฤกษ์พงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

2. ผศ.ดร.สุรเชษฐ เดชฟุ้ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

3. รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
คณะเกษตรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

5. คุณสุภกิณห์ สมศรี 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

ดำเนินการเสวนา โดย
รศ.ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ 
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน

14.45-15.00 น.

ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post พลังงานกับการเกษตรยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 5.0 appeared first on NAC2021.

]]>