AV – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 16 Jun 2021 08:42:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png AV – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/energy02-autonomous-golf-cart/ Fri, 05 Mar 2021 04:36:10 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9873 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ ความสำคัญของงานวิจัย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and […]

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ความสำคัญของงานวิจัย

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS
  • ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and Ranging (LiDAR) ที่ทำงานควบคู่กับ High Density Map แบบ 3 มิติ ที่จะต้องเตรียมการจัดทำไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมี Global Navigation Satellite System (GNSS) Receiver ติดตั้งไว้บนตัวรถ เพื่อใช้รับสัญญาณจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตัวรถบนพื้นผิวโลกที่ทำงานร่วมกับ CORS Station เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของตัวรถในระดับเซ็นติเมตร ณ เวลาจริง โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการชนของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติกับสิ่งมีชีวิตมนุษย์ และวัตถุต่างๆ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ
  • ระบบจัดการฝูงรถ (Fleet Management System) ทำหน้าที่สื่อสารกับระบบนำทางอัตโนมัติของรถ โดยในโครงการนี้ได้ทดลองรถขับขี่อัตโนมัติเพียง 1 คัน ระบบดังกล่าวจึงจำกัดอยู่เพียง Application Program สำหรับค้นหาตำแหน่งรถ และเรียกรถให้มารับผู้โดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ระบบ Drive-By-Wire

เซนเซอร์

กลไกควบคุมทิศทางรถ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง และโลจิสติกส์
  • เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ต้องคำถึงตัวแปรและเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ (Localized Constrains)
  • เทคโนโลยีที่มีความพร้อมนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User) ยานยนต์ (Vehicle) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสรรพสิ่งต่างๆ

เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3)

ติดต่อสอบถาม

ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>
การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/02/26/ss54-future-modern-transports/ Fri, 26 Feb 2021 12:48:35 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=6025 การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม ยานยนต์แห่งอนาคต การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต Research and Testing System of Future Modern Transports        Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น […]

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรม

ยานยนต์แห่งอนาคต

การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต

Research and Testing System of Future Modern Transports

       Connected & Autonomous Vehicle (CAV) เป็นการใช้เทคโนโลยี  Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์เพื่อทำให้ยานยนต์เป็น Connected Vehicles ซึ่งสามารถสื่อสารกับสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น 1) การสื่อสารกับข้อมูลจากเซนเซอร์ของยานยนต์เพื่อใช้ตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ และนําข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการขับขี่ ซึ่งจะนำไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ (Automated Vehicles)  2) การสื่อสารกับสิ่งต่างๆ รอบตัว (Vehicle-to-Everything: V2X) เช่น รถยนต์คันอื่น สิ่งกีดขวาง สัญญาณไฟจราจร เป็นต้น 3) การเชื่อมต่อกับบริการเกี่ยวกับการขับขี่ (Telematics) เช่น บริการนําทาง บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล เป็นต้น และ 4) การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงของผู้โดยสาร (Infotainment) 

        ปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับได้อยู่ใน Level 3-4 อย่างเต็มรูปแบบในรถยนต์สมัยใหม่บางรุ่น ซึ่งเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยได้

        การบรรยายและการเสวนาในครั้งนี้จะนำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ทั้งในส่วนของงานวิจัยและพัฒนา การทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และวิทยากรจากต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา การทดสอบเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งจะมาช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในรูปแบบของอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 30 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

เสวนาเรื่อง การสร้าง eco system ของ Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

โดย
1)
คุณเริงศักดิ์ ทองสม
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


2) คุณพนัส วัฒนชัย
บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด

3) 
คุณฐิติภัทร ดอกไม้เทศ
สถาบันยานยนต์

4) คุณธนัญ จารุวิทยโกวิท
บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (
AIS)

5) คุณธวัชชัย ฤกษ์สำราญ
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (
TRUE)

6) คุณไพรัชฏ์ ไตรเวทย์
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช.

 

14.30-14.40 น.

พัก

14.40-15.10 น.

Hands-on Experience of Autonomous driving Development and Operation

by Mr. David Chen
Turing Drive Inc.

15.10-15.40 น.

Proving ground for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Dr. Lung-Yao Chang
Deputy Director, Taiwan CAR Lab, NARLabs

15.40-16.10 น.

Open road for Connected and Autonomous Vehicles (CAV)

by Mr. Younggi Song
CEO & Founder – SpringCloud Inc.

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การวิจัยและการทดสอบของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต appeared first on NAC2021.

]]>