BCG – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Wed, 19 May 2021 18:28:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png BCG – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/19/agro10-metarhiziu/ Fri, 19 Mar 2021 04:13:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=17065 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย        ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์ กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้ การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน        มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้ พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity) พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity) การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion […]

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

       ราเมตาไรเซียม Metarhizium sp. BCC 4849 หรือ ราเขียว (green muscardine fungus) เป็นราแมลงสายพันธุ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับราบิวเวอเรีย ซึ่งสามารถเข้าทำลายแมงและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยชนิดต่างๆรวมถึงด้วงปีกแข็ง และแมลงวันผลไม้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  1. เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศ จึงเหมาะสมกับการนำมาใช้กับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
  2. ปลอดภัยกับผู้ใช้เนื่องจากผ่านการตรวจสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองตามมาตรฐาน OECD GLP
  3. สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพียงใช้วัตถุดิบคือข้าวสารและหัวเชื้อที่มีคุณภาพ
  4. ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงดีที่มีประโยชน์
  5. กรณีพบการระบาดของแมงและแมลงศัตรูพืชสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

       มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภคเนื่องจากผ่านการทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง 5 รายการ จากหน่วยงานทดสอบทั้งในและต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน ดังนี้

  • พิษเฉียบพลันทางปาก (Acute oral toxicity)
  • พิษเฉียบพลันทางผิวหนัง (Acute dermal toxicity)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อผิวหนัง (Skin irritation/Corrosion Test)
  • การระคายเคืองและการกัดกร่อนต่อดวงตา (Eye irritation/Corrosion Test)
  • ความเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ (Acute pulmonary toxicity/pathogenicity)

การใช้งาน

  • ควรฉีดพ่นช่วงเย็น (ประมาณ 17.00น. เป็นต้นไป) ในช่วงที่มีความชื้นสูง หรือควรให้น้ำในแปลงเพื่อเพิ่มความชื้นก่อนฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นช่วงเช้าเนื่องจากราเมตาไรเซียมเมื่อถูกแสงแดดและรังสียูวีจะถูกทำลาย
  • ควรพ่นให้ถูกตัวแมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่หลบอยู่ใต้ใบ จึงควรฉีดพ่นเน้นบริเวณใต้ใบและทั่วทรงพุ่ม หลังฉีดพ่นควรหมั่นตรวจนับแมลงหลังจากใช้แล้ว 2-3 วัน เพื่อตรวจสอบผลการควบคุมแมลงศัตรูพืช
  • สำรวจแมลงและพ่นซ้ำทุก 3-7 วัน (ขึ้นกับการระบาด) ในกรณีพบการระบาดสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบเจือจางเพื่อลดประชากรแมลงศัตรูพืชได้

สนใจก้อนเชื้อสดเมตาไรเซียม ติดต่อ :

บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด
โทรศัพท์ 090 8801089   อีเมล sale@svgroup.co.th

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราเมตาไรเซียม ควบคุมแมงและแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/18/vaccine02-biopharmaceuticals/ Thu, 18 Mar 2021 02:52:36 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=16213 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ […]

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ และคณะ
โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ (Biopharmaceuticals) ในไทย มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยไทยมีการนำเข้ากลุ่มยาประเภทนี้มากถึง 25,000 ล้านบาท และในปีพ.ศ. 2561-2568 มีแนวโน้มอัตราการเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกถึง 17.2% การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทย เป็นการสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ครบวงจร

สำหรับยาชีววัตถุนั้นมีความแตกต่างจากยาเคมีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างมาก หากเทียบขนาดแล้วยาชีววัตถุมีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าหลายเท่า มีคุณลักษณะที่ซับซ้อนกว่า รวมไปถึงในการผลิต จะต้องใช้กระบวนการชีวภาพ (biotechnology หรือ bioprocess) ซึ่งหมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตเป็นโรงงานในการผลิตนั่นเอง ในหมวดหมู่ของยาชีววัตถุ ก็ยังแยกย่อยได้อีก และหนึ่งในนั้น คือ ยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือ biosimilar 

ยาชีววัตถุคล้ายคลึง biosimilar เป็นยาชีววัตถุที่มีตัวยาสำคัญเดียวกับยาชีววัตถุต้นแบบ คล้ายคลึงในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ หนึ่งใน biosimilar กลุ่มยา monoclonal antibody ที่มีการใช้สูงสุดในประเทศไทย คือ trastuzumab ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมกลุ่ม HER2-positive มีราคาต่อหน่วยค่อนสูงถึง 17,000 บาท ถึง 45,000 บาทขึ้นอยู่กับความแรง ทำให้คนไทยเข้าถึงยาได้ยาก ประกอบกับการที่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ทำให้ต้องนำเข้า ก่อให้เกิดการขาดดุลการค้า สูงถึงปีละกว่า 1500 ล้านบาทโดยประมาณ

สถานะปัจจุบันของงานวิจัย

         ด้วยเหตุนี้ สวทช. โดยทีมวิจัยโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ Prof Mark Smales จาก University of Kent จึงร่วมกันพัฒนา biosimilars โดยเริ่มจากการคัดเลือกเซลล์เพื่อให้ได้เซลล์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในการผลิต trastuzuma จากนั้นทดลองผลิตในระดับ lab scale เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพียงพอต่อการทำการวิเคราะห์อัตลักษณ์ของ Trastuzumab เทียบกับ Originator และถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเซลล์ที่ผลิต trastuzumab นี้ เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในระดับ 500 – 5000 มิลลิลิตร ที่ NBF เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใช้ขึ้นเองภายในประเทศไทย 

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ สวทช. ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตยาและวัคซีน ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตเป็นสถานที่ผลิตยาจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. เรียบร้อยแล้ว

         โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงานและผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศโดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วนได้แก่ การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวนการผลิต การขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลายน้ำ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ การบริการผลิตยาชีววัตถุ ที่สามารถผลิตยาชีววัตถุที่เป็นโปรตีนโดยใช้กระบวนการวิศวกรรมชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต รวมถึงการผลิตยา วัคซีนและสารชีวภาพมูลค่าสูงเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคร้ายแรงชนิดอื่น การบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ ระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP

แนะนำโรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ (NBF)

โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) เป็นโรงงานต้นแบบเอนกประสงค์ระกับกึ่งอุตสาหกรรม ออกแบบตามมาตรฐาน GMP PIC/s สำหรับการผลิตยาชีววัตถุเพื่อการทดสอบทางคลินิกได้ ให้บริการรับจ้างวิจัย รับจ้างผลิต และฝึกอบรม โดยมีห้องสะอาด ในระดับ BSL-2 พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับผลิตยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้ยีสต์หรือแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต และยาที่เป็นโปรตีนโดยใช้เซลล์สัตว์ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมเป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ลลิลทิพย์ หอเจริญ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงในประเทศไทยและประเทศภูมิภาคอาเซียน appeared first on NAC2021.

]]>
วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/vaccine05-porcine-circo-virus-pcv2/ Wed, 17 Mar 2021 10:06:17 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15639 วิจัยและพัฒนาโดย ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน […]

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2)

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

      ไวรัสเซอร์โคในสุกร ชนิดที่ 2 หรือ PCV2  พบได้ในฟาร์มสุกรทั่วโลก เป็นสาเหตุหลักของกลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านมในสุกร เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของสุกรตก ไม่สามารถทำน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนจนตายได้ ซึ่งแพร่ระบาดหนักในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรปัจจุบันมีต้นแบบมาจากไวรัสไวรัสเซอร์สายพันธุ์ 2a ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดตั้งแต่ช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แต่ในปัจจุบันไวรัสที่ระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยได้มีการกลายพันธุ์ไปถึงสายพันธุ์ 2d แล้ว ซึ่งมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากสายพันธุ์วัคซีนที่มีขายในท้องตลาดถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนที่ไม่ตรงสายพันธุ์ที่ระบาดจะสามารถให้ความคุ้มโรคจากเชื้อพิษที่ไม่ตรงกับวัคซีนได้ แต่ประสิทธิภาพในการคุ้มโรคจะลดลงจากที่ควรเป็น

     วัคซีน PCV2 ในท้องตลาดส่วนมากใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือเซลล์แมลงในการผลิตแอนติเจนและเป็นวัคซีนนำเข้า จึงมีราคาค่อนข้างสูง  ประเทศไทยนำเข้าวัคซีน PCV2 ไม่ต่ำกว่า 590 ล้านบาท

PCV2

      โครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย โดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. และโรงงานตนแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตสารชีวภัณฑ์มูลค่าสูงจากรีคอมบิแนนท์โปรตีน เช่น วัคซีนสำหรับเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2  PCV2d ชนิดใหม่ เพื่อการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

จุดเด่นของงานวิจัย

     โดยการวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบแอนติเจนจากไวรัสสายพันธุ์ที่เหมาะสม การผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาระบบที่ให้ผลผลิตสูงและมีราคาต้นทุนต่ำ การทดสอบวัคซีนต้นแบบในสัตว์ทดลอง การพัฒนาชีวกระบวนการเพื่อให้สามารถผลิตได้ในระดับใหญ่ขึ้น และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ปัจจุบันทีมวิจัยได้ผลิตต้นแบบของวัคซีน PCV2d ชนิดใหม่โดยใช้การหมักแบคทีเรียและกระบวนการทำบริสุทธิ์ขั้นตอนเดียว โดยสามารถขยายขนาดได้ถึง 30 ลิตรโดยให้ผลคงที่ทั้งในห้องปฏิบัติการที่อังกฤษและไทย และอยู่ในระหว่างการทดลองประสิทธิภาพในสุกร (ร่วมทุนระหว่างทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักรและ สวทช.) หลังจากมีผลสามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ในสัตว์เล็ก (กระต่ายและหนูทดลอง)

     ในอนาคตหลังจากได้ผลการทดลองในสุกรแล้ว จะทดลองขยายขนาดการผลิตเป็น 200 ลิตรเพื่อพัฒนากระบวนการขั้นต่อไป วางแผนขอขึ้นทะเบียนกับ อย. พร้อมกับหาความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อไป

ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพสำหรับผลิตวัคซีน PCV2 ขนาด 30 ลิตร

สถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร​

เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

     สำหรับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์นี้ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ควบคุมดูแลและสนับสนุนด้านการผลิตวัคซีน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สดใจผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้วัคซีนที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ และมีราคาถูกกว่าการใช้วัคซีนนำเข้าจากต่าง ประเทศ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

PCV2 : ไวรัสู่วัคซีน

วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) โดยโครงการการพัฒนาศักยภาพในการผลิตชีวภัณฑ์และวัคซีนสำหรับสัตว์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ GCRF

ติดต่อสอบถาม

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ
ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี (AVCT)
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วัคซีนสำหรับไวรัสเซอร์โคในสุกรชนิดที่ 2 (PCV2) appeared first on NAC2021.

]]>
ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro07-beauveria/ Wed, 17 Mar 2021 10:04:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15636 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia) เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี คัดเลือกสายพันธุ์  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค  ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  ไม่เกิดการดื้อยา  ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว  ต้นทุนการผลิตต่ำ การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย        เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง […]

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        เชื้อราบิวเวอเรีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beauveria bassiana จัดเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และ หนอนแมลงศัตรูพืช สายพันธุ์ราบิวเวอเรียที่ทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพดี คือ สายพันธุ์ BCC2660 ที่สร้างเส้นใยสีขาว สร้างสปอร์จำนวนมาก ลักษณะคล้ายผงแป้ง (powdery conidia)

เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

เพลี้ยไฟ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

คัดเลือกสายพันธุ์

  •  ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค 
  • ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต 
  • ไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 
  • ไม่เกิดการดื้อยา 
  • ป้องกันกำจัดได้ระยะยาว 
  • ต้นทุนการผลิตต่ำ

การผลิตสปอร์ราบิวเวอเรีย

       เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถผลิตโดยใช้เมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ข้าวสาร โดยนำหัวเชื้อราในรูปผงแห้ง หรือสารแขวนลอยสปอร์ผสมลงในข้าวสารที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อและบรรจุในถุงพลาสติกทนความร้อน ปริมาณ 200-500 กรัม ขยำให้เข้ากันทั่วทั้งถุง บ่มเชื้อในที่ร่มและมีอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-10 วัน เชื้อราที่ได้ในขั้นตอนนี้เป็นสปอร์ราสดที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากเก็บไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้  ทางศูนย์ฯ กำลังพัฒนาสูตรชีวภัณฑ์จากราบิวเวอเรียให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการนำไปใช้

สปอร์ราขึ้นปกคลุมบนเมล็ดข้าว

การใช้งาน

       เมื่อต้องการใช้ ให้ทำการล้างสปอร์ราออกจากเมล็ดข้าวโดยใช้น้ำสะอาดที่ผสมสารลดแรงตึงผิวหรือสารที่ช่วยให้สปอร์รากระจายตัวและเกาะติดกับผิวแมลงได้ดีขึ้น เช่น น้ำยาล้างจาน (1-2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร) หรือใช้สารจับใบตามอัตราที่แนะนำของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นำสารแขวนลอยสปอร์ไปฉีดพ่นในแปลงพืช โดยฉีดพ่นบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงเพื่อให้สปอร์ราสัมผัสกับตัวแมลงให้มากที่สุด ควรฉีดพ่นในตอนเย็นที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของรา ราบิวเวอเรียจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนและรังสียูวี ดังนั้นจึงไม่ควรฉีดพ่นเชื้อราขณะที่มีแดดจัดและความร้อนสูง

พัฒนากระบวนการผลิต

ขยายขนาดการผลิต

ผลิตภัณฑ์บิวเวอเรีย

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ราบิวเวอเรีย ปราบเพลี้ยศัตรูพืช

ข้าวไทย วิจัยพ้นวิกฤต ตอนที่ 12 บิวเวอเรีย เชื้อรากำจัดเพลี้ย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ราบิวเวอเรีย ควบคุมแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/agro-12-sea-bass/ Wed, 17 Mar 2021 07:51:35 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15392 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)          ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้          ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า “ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม […]

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ (EDC)
ทีมวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณทางวิศวกรรม (CAET)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

         ประเทศไทยประสบปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยและปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือปลาเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อน โดยการเลี้ยงปลาในปัจจุบันมีสองวิธีหลัก คือ การเลี้ยงในบ่อดินและการเลี้ยงในกระชัง ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นการเลี้ยงโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปลามีอัตราการตายสูง ประสิทธิผลในการเลี้ยงต่ำ นอกจากนี้ยังไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลาจะถูกปล่อยสู่แหล่งแม่น้ำธรรมชาติ เช่น การเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งเป็นการเลี้ยงในแม่น้ำ ของเสียที่เกิดจากปลาจะถูกปล่อยไปตามแม่น้ำ ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้

         ปัจจุบันมีระบบการเลี้ยงปลาที่ใช้ปริมาณน้ำน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาด้วยการนำน้ำที่ไหลเวียนในระบบกลับมาใช้ใหม่ โดยมีระบบบัดน้ำ ระบบเติมออกซิเจน และระบบฆ่าเชื้อ เพื่อควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลา ทำให้ปลามีอัตราการตายต่ำและอัตราการแลกเนื้อต่ำ ทำให้ประสิทธิผลในการเลี้ยงสูงตามไปด้วย ซึ่งระบบการเลี้ยงดังกล่าวเรียกว่า ระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน (Recirculation Aquaculture System: RAS)”vการเลี้ยงปลาในระบบนี้จะควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolve Oxygen: DO) ปริมาณ Ammoniaอในน้ำค่าเป็นกรดเป็นเบสในน้ำเป็นต้น โดยระบบการเลี้ยงสามารถนำของเสียจากปลาออกจากน้ำ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ขี้ปลาจะถูกนำออกจากระบบด้วยการดักกรอง และรวบรวมนำไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียน จะเป็นการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นของปลาสูง เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยทั่วไปประมาณ 30 เท่า ขึ้นอยู่กับประเภทของปลา ทำให้ระบบการเลี้ยงมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มเข้ามา ทำให้ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าราคาขายได้ แม้ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีก็ตาม

จุดเด่นเทคโนโลยี

         ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน ซึ่งมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณระบบการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติรายงานผลผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อแก้ปัญหาระบบการเลี้ยงปลาน้ำไหลเวียน โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถคำนวณและออกแบบระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม และประหยัดพลังงานในการเลี้ยงปลาแต่ละประเภท เป็นการสร้างระบบเลี้ยงปลาที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นการประหยัดพลังงานด้วย โดยโปรแกรมยังสามารถคำนวณ เพื่อหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในช่วงระหว่างการเลี้ยงอีกด้วย สำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติซึ่งมีความจำเป็นในระบบน้ำไหลเวียนที่มีการเลี้ยงปลาความหนาแน่นสูง โดยระบบจะตรวจวัด ควบคุมและแจ้งเตือนปริมาณออกซิเจนในน้ำ ค่าความเป็นกรด เป็นเบสและอุณหภูมิ ในระบบให้เหมาะสม พร้อมแสดงผลและควบคุมระบบได้บนโมบายแอปพลิเคชั่นด้วย ทำให้การเลี้ยงปลาในระบบน้ำไหลเวียนมีประสิทธิภาพสูง และมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถบริหารจัดการระบบได้อย่างทันท่วงที สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ข้อมูลการเลี้ยงที่ได้ในแต่ละครั้งสามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาพารามิเตอร์ในการเลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุดได้ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำไปขยายผลสู่ชุมชนหรือเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสุจิรา ศักดิ์พรหม
สังกัด งานบริหารโครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด appeared first on NAC2021.

]]>
THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/food18-thz-moisture-imaging/ Wed, 17 Mar 2021 02:15:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15181 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณณภัทร โคตะศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)         การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่       จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น […]

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณณภัทร โคตะ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

        การพัฒนาต้นแบบนี้ ได้เริ่มจากการหาวัสดุที่ใช้ทำสายพานของระบบลำเลียง โดยทีมวิจัยได้เลือกใช้วัสดุจำพวกโพลีเมอร์ (Polymer) ที่สัญญาณเทระเฮิรตซ์สามารถทะลุผ่านไปยังตัวรับสัญญาณได้ จากนั้น ทีมวิจัยจึงใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (THz source) เพื่อสร้างสัญญาณเทระเฮิรตซ์แบบต่อเนื่อง (Continuous wave) ที่ความถี่ 0.1 THz สัญญาณเทระเฮิรตซ์ที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกดูดกลืนบางส่วนโดยความชื้นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ และสัญญาณที่เหลืออยู่จะตกกระทบบนตัวรับสัญญาณเทระเฮิร์ตซ์ (THz detector) ขนาด 1 x 256 พิกเซล ที่ติดตั้งอยู่ใต้สายพานและทำหน้าที่วัดความเข้มของสัญญาณที่เหลืออยู่

      จากนั้น ทีมวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมสร้างภาพความชื้นจากค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้ โดยใช้หลักการที่ว่าความชื้นที่ต่างกันจะส่งผลให้สัญญาณเทระเฮิรตซ์ถูกดูดกลืนในปริมาณที่ต่างกัน ทำให้ค่าความเข้มที่สัญญาณที่อ่านได้ต่างกัน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพดิจิตอลที่เป็นแบบการผสมสีแบบเท็จ (False color composite) ที่แสดงผลตามค่าความชื้นของวัตถุ และเมื่อรวมข้อมูลเข้ากับผลจากการทดลองที่ทำการหาเส้นปรับเทียบ (Calibration curve) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มสัญญาณที่อ่านได้กับค่าความชื้นของวัตถุ ต้นแบบที่พัฒนานี้ก็จะสามารถแสดงค่าความชื้นในเชิงปริมาณได้ เช่น ในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ความชื้น

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ระบบสายพานที่ออกแบบมานั้น จะสามารถสร้างภาพการกระจายตัวความชื้นในผลิตภัณฑ์ได้ แต่ภาพความชื้นดังกล่าวมีความละเอียดน้อย เนื่องจากข้อจำกัดในเชิงความถี่ของตัวกำเนิดสัญญาณ และขนาดพิกเซลของตัวรับสัญญาณที่ใหญ่ ทีมวิจัยจึงได้นำกล้องวีดีโอที่เก็บภาพสีของผลิตภัณฑ์ (RGB camera) มาติดตั้งเข้ากับระบบสายพาน เพื่อให้ระบบสามารถแสดงภาพการกระจายตัวความชื้นที่ซ้อนทับบนภาพสีของวัตถุจริงได้ และเนื่องจากตัวรับสัญญาณเทระเฮิรตซ์และกล้องวีดีโอให้ภาพในมุมมองที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการซ้อนทับภาพโดยอาศัยหลักการการประมวลผลภาพแบบดิจิตอล เพื่อทำให้ภาพความชื้นซ้อนทับบนภาพสีได้ในตำแหน่งและขนาดที่ถูกต้อง

สถานะผลงาน

        ทีมวิจัยกำลังดำเนินการพัฒนาต่อยอดต้นแบบให้หาค่าความชื้นในผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ร่วมกับ LiDAR sensor และ RGB video camera เพื่อหาขนาดละรูปร่างของผลิตภัณฑ์แบบอัตโนมัติและนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาค่าความชื้น

ติดต่อสอบถาม

นายปกรณ์ สุพานิช
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post THz moisture imaging : การพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ในการตรวจจับความชื้นในผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตร appeared first on NAC2021.

]]>
Low Motor Noise Design for Green Compressor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/17/energy01-low-motor-noise-design-for-green-compressor/ Wed, 17 Mar 2021 01:45:18 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=15175 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์ Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน จุดเด่นของงานวิจัย ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์ […]

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>

Low Motor Noise Design for Green Compressor

Low Motor Noise Design for Green Compressor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

       อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็กลง เป็นแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โลกมีความต้องการ Green Technology เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์เช่น คอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้คอมเพรสเซอร์ที่ดีสามารถทำให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน คอมเพรสเซอร์ยังเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลักในของระบบทำความเย็น โดยต้นกำเนิดเสียงหลักมาจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์

        ที่มาของการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบเพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์โดยทางบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ภายใต้ สวทช. (NSTDA) ร่วมวิจัยและพัฒนา ออกแบบมอเตอร์ขึ้นใหม่ที่ลดเสียงรบกวนเพื่อใช้สำหรับคอมเพรสเซอร์

      Low Motor Noise Design ได้ถูกออกแบบมาใช้แทนที่มอเตอร์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน มอเตอร์ที่ออกแบบใหม่นี้สามารถใช้คู่กับชุดห้องอัดเดิม (Mechanism) ของคอมเพรสเซอร์ได้ โดยมีจุดเด่นคือ ค่าแรงบิดกระเพื่อมที่ต่ำกว่า และสามารถลดเสียงรบกวนโดยรวมได้สูงสุดถึง 7.5 dBA  ในขณะที่ยังคงประสิทธิภาพของมอเตอร์ไว้เท่าเดิม และต้นทุนการผลิตไม่สูงขึ้นกว่าผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน

จุดเด่นของงานวิจัย

  • ลดมลพิษทางเสียงที่เกิดจาก Motor Compressor ได้สูงสุด 7.5 dBA
  • ขยายและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบริษัทฯในเรื่องการออกแบบมอเตอร์รวมถึงการทดสอบเรื่องเสียงของมอเตอร์

กลุ่มเป้าหมาย

        ลูกค้าทั่วโลก โดยเฉพาะ Zone Europe ที่มีกฎหมายเรื่องมลพิษจากเสียงรบกวนค่อนข้างเข้มงวด

สถานะของงานวิจัย

        ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเก็บผลทดสอบเพิ่มเติมนอกเหนือการทดสอบเสียง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพของคอมเพรสเซอร์ได้ตามมาตรฐานก่อนที่จะขายและส่งออกให้กับลูกค้าทั่วโลก

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Low Motor Noise Design for Green Compressor appeared first on NAC2021.

]]>
แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na09-digital-dentistry-platform/ Tue, 16 Mar 2021 09:05:22 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14764 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)        แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) เป็นการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านท้นตกรรมที่พัฒนา ในประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การนำเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรม (DentiiScan) การวางแผนการฝังรากฟันเทียมด้วยซอฟต์แวร์ (DentiPlan) เพื่อใช้ในการผลิตอุปกรณ์นำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียม (Surgical Drill Guide) ร่วมกับการใช้ระบบรากฟันเทียมไทย (Dental Implant) ตลอดจนการออกแบบและผลิตครอบฟันสะพานฟันด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC/3D Printer) ทำให้ผู้ป่วยคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ง่ายขึ้น และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง ภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม แสดงกระบวนการรักษาโดยการเก็บข้อมูล ออกแบบและผลิต ผลงาน : เครื่องเดนตีสแกน DentiiScan        เดนตีสแกน 2.0 (DentiiScan 2.0) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดมีความแม่นยำ แผลมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด […]

The post แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) appeared first on NAC2021.

]]>

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

       แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) เป็นการบูรณาการนวัตกรรมทางด้านท้นตกรรมที่พัฒนา ในประเทศแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การนำเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางทันตกรรม (DentiiScan) การวางแผนการฝังรากฟันเทียมด้วยซอฟต์แวร์ (DentiPlan) เพื่อใช้ในการผลิตอุปกรณ์นำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียม (Surgical Drill Guide) ร่วมกับการใช้ระบบรากฟันเทียมไทย (Dental Implant) ตลอดจนการออกแบบและผลิตครอบฟันสะพานฟันด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC/3D Printer) ทำให้ผู้ป่วยคนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ง่ายขึ้น และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง

ภาพแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม แสดงกระบวนการรักษาโดยการเก็บข้อมูล ออกแบบและผลิต

ผลงาน : เครื่องเดนตีสแกน DentiiScan

       เดนตีสแกน 2.0 (DentiiScan 2.0) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบลำรังสีทรงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคและวางแผนการผ่าตัดมีความแม่นยำ แผลมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยมากขึ้น สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาในงานทันตกรรมรากฟันเทียม การผ่าฟันคุด และการผ่าตัดบริเวณช่องปาก ขากรรไกร และใบหน้า รวมทั้งการตรวจดูความผิดปกติของไซนัส ผู้ป่วยที่ถูกถ่ายด้วยเครื่องเดนตีสแกนจะได้รับปริมาณรังสีที่ต่ำกว่าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ทั่วไป

     ณ เดือนธันวาคม 2561 มีเครื่องเดนตีสแกนทั้งรุ่น 1.1 และ 2.0 เปิดให้บริการแก่ประชาชนแล้ว รวมทั้งหมด 20 เครื่อง มีการใช้งานมากกว่า 5,000 ครั้ง และในปี พ.ศ. 2563 ได้มีเครื่องเดนตีสแกนให้บริการรวมทั้งสิ้น 60 เครื่องทั่วประเทศ เครื่องเดนตีสแกนผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยด้านต่างๆ และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 นอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทเอกชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ทรัพย์สินทางปัญญา

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่คำขอ 1201004688 
  • ลิขสิทธิ์เลขที่ 375450, 374098, 374096, 374102, 374099, 374100, 340768 
  • เครื่องหมายการค้าเลขที่ 857894, 940809, 684300

RadiiView-DentiiCloud

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • Login with security awareness (2 options): Use OTP, Single sign-on
  • RadiiView (viewer) แสดงผลภาพ 3 มิติผ่านระบบคลาวด์
  • ทดแทนการเขียนไฟล์ภาพใส่แผ่นซีดี
  • สามารถดูภาพได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สามารถใช้ปรึกษาระหว่างทันตแพทย์/แพทย์แบบออนไลน์ (Teleconsult)

วิจัยและพัฒนาโดย
      ดร. เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี, ดร. วลิตะ นาคบัวแก้ว ดร. ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล และคณะ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม : M-Bone แคลเซียมฟอสเฟตเซรามิกส์สังเคราะห์ชนิดมีรูพรุนต่อเนื่องสำหรับใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกมนุษย์

       M-Bone เป็นต้นแบบวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัยเนื่องจากได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพตามมาตรฐาน ISO 10993 โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และดำเนินการผลิตโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 13485 โดยมีขอบข่ายครอบคลุมกระบวนการวิจัยและพัฒนาและการผลิตต้นแบบ นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตผลิตเพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิก ขณะเดียวกันก็ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่คำโฆษณาเพื่อให้สามารถโฆษณาต่อผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าอีกด้วย

วิจัยและพัฒนาโดย
   ดร. นฤภร มนต์มธุรพจน์  ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ติดต่อสอบถาม

กุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry Platform) appeared first on NAC2021.

]]>
การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/vaccine04-metabolic-syndrome/ Tue, 16 Mar 2021 08:34:38 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14773 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่           ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic […]

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และคณะ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          ภาวะอ้วนลงพุงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศ ข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันและแคลอรีสูง ไม่เพียงทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ และอาจนำไปสู่การเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         โครงการดังกล่าวเป็นการวิจัยทั้งในระดับงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยทางคลินิก คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา “ผลของการจำกัดแคลอรีต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” พบว่า การจำกัดแคลอรีของอาหารที่บริโภค เกิดผลดีต่อการทำงานของหัวใจและสมอง อย่างไรก็ตามผลดีดังกล่าวยังน้อยกว่าการให้ยาเบาหวานในกลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) คณะวิจัยยังได้ศึกษา “ผลของฮอร์โมนไฟโบรบลาสโกรทแฟคเตอร์ 21 (FGF21) ต่อการทำงานของหัวใจและสมองในหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน” ข้อมูลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหนูที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับ FGF21 สูงขึ้น แต่การให้ FGF21 เข้าไปเพิ่ม จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทำงานของไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมองทำงานได้ดีขึ้น 

         สำหรับการศึกษาในระดับคลินิก คณะวิจัยได้ “ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพื่อศึกษาบทบาทของ FGF21 ต่อการทำงานของสมอง” ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทาง Metabolic มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และความจำ และผลจากการให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบ Montreal Cognitive Assessment scale (MoCa) พบว่า ยิ่งมีภาวะอ้วนลงพุงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความบกพร่องในการเรียนรู้และความจำมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

       คณะวิจัยยังค้นพบอีกว่า ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับ HbA1c (ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือน) และระดับ FGF21 มีความสัมพันธ์โดยตรงและสูงที่สุด ต่อการมีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้และความจำ ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และยังชี้ให้เห็นว่าควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความสำคัญของ FGF21 กับการทำงานของสมอง โดยเฉพาะส่วนการเรียนรู้และความจำ ทั้งนี้คณะวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ FGF21 และค่าทาง Metabolic ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุงว่า ระดับ FGF21 ในเลือดของผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนลงพุง อาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยคณะผู้วิจัยได้จดสิทธิบัตรองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์และตัวบ่งชี้ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม การค้นพบในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยและศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

     คณะวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (VNS) ของสมองที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและสมองของหนูที่มีภาวะอ้วนร่วมกับภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จะส่งผลให้ไมโทคอนเดรียของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำเอาองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ต่อได้

 

         ทั้งหมดข้างต้น คือ ส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้จากการสนับสนุนภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ โดยสรุป ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 160 เรื่อง ผลงานที่กำลังอยู่ในกระบวนการจดสิทธิบัตร 2 เรื่อง รางวัลระดับนานาชาติ 18 รางวัล ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท จำนวนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในทีม ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โครงการวิจัยนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพวิธีการในการดูแลรักษาและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การศึกษาตั้งแต่ระดับเซลล์ถึงผู้ป่วยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาและตัวชี้วัดชนิดใหม่ ในภาวะเมตาบอลิคซินโดรมและภาวะเหล็กเกิน เพื่อการป้องกันการสูญเสียการทำงานของหัวใจและสมอง appeared first on NAC2021.

]]>
VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพาเพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na38-vip-safe-plus/ Tue, 16 Mar 2021 07:58:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14732 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ VIP-Safe Plus หรือ ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร โดยผสาน 3 เทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ไบโอเทค เนคเทค และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็กและงานภาคสนาม ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถนำไปใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงในกระบวนการผลิตอาหารร่วมกับระบบประเมินคุณภาพอื่นๆ เช่น HACCP หรือ GMP เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารได้ คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ใช้เวลาตรวจเพียง 1 ชม. ด้วยเทคนิคแลมป์ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ใช้สารทดสอบปริมาณน้อย ด้วยขั้วไฟฟ้ากราฟีนแบบพิมพ์ได้ อุปกรณ์มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ใช้สะดวก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม เครื่องอ่านผล สามารถตรวจเชื้อก่อโรคได้ถึง 3 ชนิด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ราคาถูก ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารแบบขนาดพกพา สถานภาพของผลงาน คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703001682 ยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน […]

The post VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา<br>เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา
เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา
เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

        VIP-Safe Plus หรือ ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร โดยผสาน 3 เทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก ไบโอเทค เนคเทค และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็กและงานภาคสนาม ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถนำไปใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงในกระบวนการผลิตอาหารร่วมกับระบบประเมินคุณภาพอื่นๆ เช่น HACCP หรือ GMP เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียก่อโรคในอาหารได้

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ใช้เวลาตรวจเพียง 1 ชม. ด้วยเทคนิคแลมป์ที่มีความไวและความจำเพาะสูง
  • ใช้สารทดสอบปริมาณน้อย ด้วยขั้วไฟฟ้ากราฟีนแบบพิมพ์ได้
  • อุปกรณ์มีขนาดเล็ก พกพาง่าย ใช้สะดวก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม
  • เครื่องอ่านผล สามารถตรวจเชื้อก่อโรคได้ถึง 3 ชนิด
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ราคาถูก ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารแบบขนาดพกพา

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703001682 ยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน 2560

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่าย
  • ห้องปฏิบัติการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร

ชุดตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร VIP Safe PLUS+++

นักวิจัย สวทช. พัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคในอาหาร VIP Safe PLUS+++ ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคในกลุ่มของอาหารเป็นพิษ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อวิบริโอ คลอเรลี่, วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส และ อีโคไล สายพันธุ์โอวันไฟว์เซเว่น โดยได้มีการนำ เทคนิคแลมป์ เทคโนโลยีการผลิตขั้วไฟฟ้ากราฟีนด้วยการพิมพ์สกรีน และเทคโนโลยีตรวจวัดด้วยเซ็นเซอร์เคมีไฟฟ้า มาพัฒนาเป็นชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็ว ขนาดพกพา จุดเด่นคือใช้เวลาไม่นานในการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร เครื่องมือมีขนาดเล็กพกพาง่าย ใช้สะดวก ราคาถูก เหมาะกับการใช้งานภาคสนาม ในห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือนำไปใช้ร่วมกับระบบประกันคุณภาพของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมคุณภาพและสร้างความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลแพลตินั่ม ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุด ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่ประเทศไต้หวัน ปี 2560

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post VIP-Safe Plus ชุดตรวจแลมป์เคมีไฟฟ้าแบบรวดเร็วขนาดพกพา<br>เพื่อการตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na37-shrimp-ems-lamp-nano-gold/ Tue, 16 Mar 2021 07:39:40 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14726 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โรคกุ้งตายด่วน (EMS) โรคที่น่ากลัวที่สุดของคนเลี้ยงกุ้ง คงหนีไม่พ้น โรคกุ้งตายด่วน ที่มาไวไปไวสมชื่อ EMS กว่าจะรู้ตัว กุ้งก็ตายเกือบหมดบ่อแล้ว แต่จากนี้ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ด้วยชุดตรวจ Amp-Gold ที่ใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับการตรวจจับ DNA โดยมีความไวในการตรวจที่ 100 CFU แถมยังใช้งานง่าย ดูสีได้ด้วยตาเปล่า ราคาถูก และไม่ต้องใช้เครื่อง PCR หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง ช่วยให้เกษตรกรตรวจเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้เองตลอดเวลา ลดปัญหากุ้งตายด่วนได้ทันท่วงที คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ทราบผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมงเร็วกว่าเทคนิค PCR 100 เท่า อ่านผลง่าย ด้วยตาเปล่า ถ้ากุ้งติดเชื้อ จะเห็นเป็นสีแดง ใช้ง่าย ราคาถูก ประสิทธิภาพสูง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สามารถใช้ตรวจสอบกุ้งได้ทุกระยะการเลี้ยง สามารถใช้สำหรับกุ้งที่เลี้ยงในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม สถานภาพของผลงาน คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1603000321 […]

The post ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold

ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

โรคกุ้งตายด่วน (EMS)

       โรคที่น่ากลัวที่สุดของคนเลี้ยงกุ้ง คงหนีไม่พ้น โรคกุ้งตายด่วน ที่มาไวไปไวสมชื่อ EMS กว่าจะรู้ตัว กุ้งก็ตายเกือบหมดบ่อแล้ว แต่จากนี้ไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ด้วยชุดตรวจ Amp-Gold ที่ใช้เทคนิคแลมป์ร่วมกับการตรวจจับ DNA โดยมีความไวในการตรวจที่ 100 CFU แถมยังใช้งานง่าย ดูสีได้ด้วยตาเปล่า ราคาถูก และไม่ต้องใช้เครื่อง PCR หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง ช่วยให้เกษตรกรตรวจเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้เองตลอดเวลา ลดปัญหากุ้งตายด่วนได้ทันท่วงที

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ทราบผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมงเร็วกว่าเทคนิค PCR 100 เท่า
  • อ่านผลง่าย ด้วยตาเปล่า ถ้ากุ้งติดเชื้อ จะเห็นเป็นสีแดง
  • ใช้ง่าย ราคาถูก ประสิทธิภาพสูง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • สามารถใช้ตรวจสอบกุ้งได้ทุกระยะการเลี้ยง
  • สามารถใช้สำหรับกุ้งที่เลี้ยงในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

สถานภาพของผลงาน

        คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1603000321 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย V. parahaemolyticus ก่อโรคตับตายเฉียบพลันในกุ้ง ยื่นคำขอวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ด้วยเทคนิค LAMP Nano gold appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na36-blueamp/ Tue, 16 Mar 2021 07:28:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14692 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) blueAMP เป็นชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในปลานิลและปลาทับทิม ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี มีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก อ่านผลตรวจได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถจัดการป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชุดตรวจนี้ยังประยุกต์ใช้กับการตรวจโรคในปลาเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นได้ด้วย เช่น ปลาสวาย ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาเทราต์ และปลาสวยงาม คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ใช้งานง่าย อ่านผลได้ทันทีด้วยตาเปล่า รวดเร็ว รู้ผลภายในเวลา 1 ชั่วโมง ต้นทุนการผลิตและการทดสอบต่ำ ถูกกว่าวิธีเดิม 5-8 เท่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สามารถใช้ในงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการได้ สามารถประยุกต์ใช้กับปลาชนิดอื่นได้ สถานภาพของผลงาน อนุสิทธิบัตรเลขที่ 11956 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ก่อโรคในปลา อนุสิทธิบัตรเลขที่ 12062 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus iniae ก่อโรคในปลา กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ ติดต่อสอบถาม […]

The post ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม <br>แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม
แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP)

ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม
แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        blueAMP เป็นชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในปลานิลและปลาทับทิม ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี มีราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก อ่านผลตรวจได้ทันทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถจัดการป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชุดตรวจนี้ยังประยุกต์ใช้กับการตรวจโรคในปลาเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นได้ด้วย เช่น ปลาสวาย ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาเทราต์ และปลาสวยงาม

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ใช้งานง่าย อ่านผลได้ทันทีด้วยตาเปล่า
  • รวดเร็ว รู้ผลภายในเวลา 1 ชั่วโมง
  • ต้นทุนการผลิตและการทดสอบต่ำ ถูกกว่าวิธีเดิม 5-8 เท่า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

  • สามารถใช้ในงานภาคสนามและห้องปฏิบัติการได้
  • สามารถประยุกต์ใช้กับปลาชนิดอื่นได้

สถานภาพของผลงาน

  • อนุสิทธิบัตรเลขที่ 11956 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ก่อโรคในปลา
  • อนุสิทธิบัตรเลขที่ 12062 เรื่อง กรรมวิธีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus iniae ก่อโรคในปลา

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโรคสัตว์น้ำ

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม <br>แบบง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ (blueAMP) appeared first on NAC2021.

]]>
Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง3 ชนิดในคราวเดียวกัน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na34-cucurbits-easy-kit/ Tue, 16 Mar 2021 07:10:23 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14655 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip) ที่มาและความสำคัญ การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ […]

The post Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง<br>3 ชนิดในคราวเดียวกัน appeared first on NAC2021.

]]>

Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง
3 ชนิดในคราวเดียวกัน

Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง
3 ชนิดในคราวเดียวกัน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

       การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip)

ที่มาและความสำคัญ

        การตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกและสามารถตรวจโรคหลายๆ ชนิดได้ในคราวเดียวกัน นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาระบาดวิทยาของโรคในแปลงปลูก เพื่อหาวิธีการจัดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนาชุดตรวจแบบรวดเร็วในรูปแบบ immunochromatographic strip test เพื่อใช้สำหรับตรวจเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัสในกลุ่มโพทีไวรัส (Potyvirus) เชื้อวอเทอร์เมลอน โมเซอิค ไวรัส-ทู (Watermelon mosaic virus-2, WMV-2) และเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac) ได้พร้อมกันใน 1 แถบตรวจ (strip)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง

สถานภาพของผลงาน

        อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10414 เรื่อง แผ่นแถบสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 เชื้อได้พร้อมกันในคราวเดียว

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเกษตร
  • เกษตรกร

นักวิจัย

        ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

  • นายสมบัติ รักประทานพร
  • นางสาวมัลลิกา กำภูศิริ
  • นางสาวอรวรรณ หิมานันโต
  • นางสาวอรประไพ คชนันทน์

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post Cucurbits-3 in 1 Easy kit ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง<br>3 ชนิดในคราวเดียวกัน appeared first on NAC2021.

]]>
VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na35-biocontrol-vippro/ Tue, 16 Mar 2021 04:21:30 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14589 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย และคณะ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) นักวิจัยพบว่าโปรตีน Vip3A ที่พบได้ในแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทย มักพบการแพร่ระบาดสร้างความเสียหายแก่พืชผักในวงกว้าง ทีมวิจัยจึงนำโปรตีน Vip3A มาพัฒนาเป็น VipPro หรือชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยคิดค้นสูตรและกระบวนการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมลงให้สูงขึ้น ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น ออกฤทธิ์เร็ว ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ปลอดภัยทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้กับแมลงศัตรูพืชที่ดื้อต่อสารเคมีแล้ว คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ศัตรูพืชหยุดกินอาหารภายใน 1 ชม. ลดความเสียหายของพืชได้มาก มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ไม่มีของเสียในกระบวนการผลิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น หรือผสมกับการให้ปุ๋ยทางใบ VipPro ออกฤทธิ์เสริมกับชีวภัณฑ์อื่นได้ดี เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช สถานภาพของผลงาน อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12300 […]

The post VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย <i>Bacillus thuringiensis</i> appeared first on NAC2021.

]]>

VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.บุญเฮียง พรมดอนกอย และคณะ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        นักวิจัยพบว่าโปรตีน Vip3A ที่พบได้ในแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) มีฤทธิ์ฆ่าแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทย มักพบการแพร่ระบาดสร้างความเสียหายแก่พืชผักในวงกว้าง ทีมวิจัยจึงนำโปรตีน Vip3A มาพัฒนาเป็น VipPro หรือชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช โดยคิดค้นสูตรและกระบวนการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมลงให้สูงขึ้น ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น ออกฤทธิ์เร็ว ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ปลอดภัยทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้กับแมลงศัตรูพืชที่ดื้อต่อสารเคมีแล้ว

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ศัตรูพืชหยุดกินอาหารภายใน 1 ชม. ลดความเสียหายของพืชได้มาก
  • มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
  • ไม่มีของเสียในกระบวนการผลิต สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน
  • ใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำแล้วฉีดพ่น หรือผสมกับการให้ปุ๋ยทางใบ
  • VipPro ออกฤทธิ์เสริมกับชีวภัณฑ์อื่นได้ดี เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

สถานภาพของผลงาน

        อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12300 เรื่อง กระบวนเพาะเลี้ยงเชื้อบีที เพื่อผลิตโปรตีน Vip3A ในระดับห้องปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ที่สนใจหรือนักลงทุนที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกร

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post VipPro ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชจากแบคทีเรีย <i>Bacillus thuringiensis</i> appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/na33-elisa-cassava/ Tue, 16 Mar 2021 03:37:56 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14534 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โรคใบด่างมันสำปะหลัง ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกตั้งแต่ร้อยละ 80-100 พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในทวีปเอเชียมีรายงานครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2499 ที่ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2558 ที่จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา และต่อมาในปีพ.ศ. 2559 ที่จังหวัดเตียนิญ ประเทศเวียดนาม ประเทศ ไทยพบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา ในจังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาพบเพิ่มเติมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สระแก้ว และนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่กระจายมากขึ้น ดังนั้นการตรวจกรองไวรัสในท่อนพันธุ์จะช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ และชะลอการแพร่กระจายของไวรัสลงได้ เทคนิค Elisa คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี ถูกต้อง แม่นยำ สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก ตรวจเชื้อไวรัสได้จาก ใบยอด […]

The post ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า

ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

โรคใบด่างมันสำปะหลัง

        ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกตั้งแต่ร้อยละ 80-100 พบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในทวีปเอเชียมีรายงานครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2499 ที่ประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกา ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2558 ที่จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา และต่อมาในปีพ.ศ. 2559 ที่จังหวัดเตียนิญ ประเทศเวียดนาม ประเทศ ไทยพบรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 ในพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา ในจังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาพบเพิ่มเติมในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สระแก้ว และนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2562 พบการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่กระจายมากขึ้น ดังนั้นการตรวจกรองไวรัสในท่อนพันธุ์จะช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่อ และชะลอการแพร่กระจายของไวรัสลงได้

เทคนิค Elisa

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ถูกต้อง แม่นยำ สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละจำนวนมาก
  • ตรวจเชื้อไวรัสได้จาก ใบยอด ก่นเขียว และ ใบอ่อนจากตาข้าง
  • มีความไวสูงกว่าและราคาถูกกว่าชุดตรวจที่นำเข้า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

        ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สถานภาพของผลงาน

        คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001000526 ยื่นคำขอวันที่ 29 มกราคม 2563

กลุ่มเป้าหมาย

        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเกษตร

นักวิจัย

        นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

  • แสงสูรย์ เจริญวิไลศิริ
  • ชาญณรงค์ ศรีภิบาล
  • สมบัติ รักประทานพร
  • มัลลิกา กำภูศิริ
  • นุชนาถ วารินทร์
  • เบญจรงค์ พวงรัตน์
  • ผกามาศ ชิดเชื้อ
  • สิริมา ศิริไพฑูรย์
  • อรประไพ คชนันทน์

ติดต่อสอบถาม

รัชวรรณ ฐานัตถวงศ์เจริญ
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

The post ชุดตรวจวินิจฉัยโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยเทคนิคอิไลซ่า appeared first on NAC2021.

]]>
เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/16/food05-ophiocordyceps-dipterigena/ Tue, 16 Mar 2021 02:49:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14476 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ไว ประทุมผายทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เกี่ยวกับเทคโนโลยี        เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้ ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน   […]

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ไว ประทุมผาย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

เกี่ยวกับเทคโนโลยี

       เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์ที่ผลิตได้จากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC 2073 เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้มีคุณสมบัติที่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ สามารถละลายน้ำและมีความหนืดสูง นำไปขึ้นรูปหรือเป็นส่วนผสมให้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความคงตัวสูง เบต้ากลูแคนชนิดนี้ยังทนต่ออุณหภูมิสูงได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส โดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหารคน อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เบต้ากลูแคนบริสุทธิ์นี้สามารถผลิตได้ด้วยอุตสาหกรรมการหมักใน ราคาต้นทุนต่ำ ผ่านการศึกษาการนำไปใช้ในสัตว์ การทดสอบความเป็นพิษ และคุณสมบัติอื่นๆ มาแล้ว จึงมีศักยภาพสูงมากที่จะนำเสนอเข้าไปในท้องตลาด โดยได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโมเลกุลสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 5-400 kDa โดยใช้รังสิแกมมาตัดลดขนาดโมเลกุล สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่าย จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มของความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ คือสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้

ผลิตภัณฑ์แบบเม็ดแคปซูลเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมในคน

        โครงการนี้มีลักษณะของความเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร แพทย์และเภสัช และเครื่องสำอาง โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนามาแล้วให้ได้สารโพลิเมอร์ชีวภาพชนิดเบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้มีขนาดโลเลกุลสม่ำเสมอขนาดประมาณ 5-400 kDaโดยใช้รังสิแกมมา สารโพลิเมอร์เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ที่ได้จะมีความบริสุทธิ์สูงอันเนื่องมาจากสายพันธุ์จุลินทรีย์พิเศษหรือเชื้อรา O. dipterigena BCC 2073 (Novel fungal strain from Thailand) ที่ผลิตสารชีวภาพดังกล่าวออกมาภายนอกเซลล์ได้ในปริมาณที่มากและทำให้สามารถลดกระบวนการทำให้บริสุทธิ์โดยการแยกเซลล์จุลินทรีย์และเบต้ากลูแคนออกได้ง่ายขึ้น

ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์

        โดยผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปใช้ในรูปแบบเดี่ยว ๆ เพื่อการเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทำให้สัตว์แข็งแรงขึ้นอันเนื่องมาจากร่างกายสามารถตอบสนองต่อการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อได้เร็วขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้สัตว์มีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นเพราะคุณสมบัติของการเป็นพรีไบโอติกหรือจะนำเบต้ากลูแคนไปใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่นใช้เป็นสารจับสารพิษเป็นต้น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารเพิ่มความหนืด เพิ่มความชุ่มชื่นผิว และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ในอุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์และเภสัชเพื่อเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคน และกระตุ้นการหายเร็วของแผล เป็นต้น

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบน้ำ)

เบต้า-กลูแคน โพลีแซคคาไรด์ (แบบผง)

เบต้า-กลูแคน โอลิโกแซคคาไรด์ (แบบผง)

รายการพลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เบตากลูแคน

ติดต่อสอบถาม

คุณตะวัน เต่าพาลี
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เบต้ากลูแคนโอลิโกแซคคาร์ไลด์ <i>Ophiocordyceps dipterigena</i> BCC 2073 appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food11-plant-based-chicken-meat/ Mon, 15 Mar 2021 10:16:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กมลวรรณ อิศราคาร ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ สถานะผลงาน ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย ติดต่อสอบถาม คุณชนิต […]

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กมลวรรณ อิศราคาร
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชถูกพัฒนาขึ้น โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของอาหาร และคุณสมบัติของโปรตีน ประกอบกับการใช้สารที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ และเส้นใยอาหารที่เหมาะสม ในการสร้างเนื้อสัมผัสให้คล้ายคลึงกับเนื้อไก่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถปั้นขึ้นรูปได้ง่ายภายหลังการปั่นผสม และสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็ง ทำให้ง่ายต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชสามารถนำไปปรุงสุกด้วยวิธีการชุบทอด ย่าง ผัด หรือ แกง ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสที่คล้ายอาหารที่ปรุงจากเนื้อไก่ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชนี้ยังมีปริมาณโปรตีนประมาณ 10-16% มีปริมาณใยอาหารประมาณ 6-10% และมีปริมาณไขมันจากพืชที่ปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลประมาณ 6-9% โดยปริมาณสารอาหาร และความนุ่มของผลิตภัณฑ์ฯ ขึ้นอยู่กับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ในสูตรที่สามารถปรับได้ตามความต้องการ

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชก่อนปรุง

ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืชหลังปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ

สถานะผลงาน

       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ขณะนี้มีบริษัทเอกชน 2 แห่ง สนใจต่อยอดผลงานจากต้นแบบนี้ และอยู่ในระหว่างพิจารณาข้อเสนอโครงการรับจ้างวิจัย

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อไก่จากโปรตีนพืช (Plant-based chicken meat) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food10-mycoprotein/ Mon, 15 Mar 2021 09:44:25 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14421 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)         คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า […]

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        โปรตีนทางเลือก หรือ มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) คือโปรตีนที่ได้จากการหมักบ่มจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร และนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ มัยคอโปรตีนจึงไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ ให้พลังงานแคลอรี่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมนูอาหารประเภทเดียวกันที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ การผลิตเนื้อเทียมจาก mycoprotein นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากสามารถทำผลิตภัณฑ์เนื้อขึ้นรูปได้เสมือนเรารับประมาณเนื้อเป็นชิ้นๆ ที่มีกล้ามเนื้อ (Whole Muscle Meat)

        คณะผู้วิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ของจุลินทรีย์กินได้ หรือจุลินทรีย์เกรดอาหาร ในระดับโรงงานต้นแบบ สำหรับใช้เป็นแหล่งมัยคอโปรตีนที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการบริโภค โดยได้มีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก หรือเนื้อเทียมประเภทมัยคอโปรตีน โดยประมาณการณ์ส่วนแบ่งตลาดที่ 5-10% ของตลาด plant-based meat ภายใน 3 ปี โดยประเมินมูลค่าการลงทุนผลิตและจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อันเป็นการสร้างนวัตกรรมสำหรับต่อยอดในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศ

มัยคอโปรตีนและต้นแบบผลิตภัณฑ์

ติดต่อสอบถาม

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัฒกรรมอาหาร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์จากโปรตีนทางเลือกจาก Mycoprotein appeared first on NAC2021.

]]>
โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine03-emerging-infectious-diseases/ Mon, 15 Mar 2021 07:27:42 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14365 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า […]

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย มีผลต่อสุขภาพ ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาวิจัย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ จะเป็นการช่วยลดความรุนแรงในการระบาดของโรคและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม ได้อย่างมาก โดยทำการศึกษาวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และโรคไวรัส ที่เป็นปัญหาในประเทศไทย การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของไวรัสต่าง ๆ และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องระยะยาว ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

         การศึกษาไวรัสตับอักเสบ เอ บี  และ ซี คณะวิจัยได้ทำการศึกษาแนวกว้างและลึก ใช้ประชากรขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนการศึกษาระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงระดับประเทศ และนานาชาติ ตลอดจนใช้ในการวางแผนการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ให้หมดไปจากประเทศไทย ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก ภายในปี  2030 ประเทศไทยตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบ เอ น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสุขอนามัยในภาพรวมดีขึ้น การฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบ บี มายาวนานกว่า 24 ปี  มีผลกระทบอย่างชัดเจนในการลดอุบัติการณ์ของพาหะไวรัสตับอักเสบ บี คณะวิจัยได้ใช้จังหวัดเพชรบูรณ์ นำร่องในการศึกษาด้านระบาดวิทยา การตรวจวินิจฉัย เป็นแนวทางสู่การรักษา เพื่อเป็นรูปแบบของการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่จะใช้ในการขยายกวาดล้างทั้งประเทศ

         การศึกษาเรื่องวัคซีน คณะวิจัยบุกเบิก ศึกษาผลระยะยาวการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบและโปลิโอ ศึกษาประสิทธิผลของป้องกัน  หัด หัดเยอรมันและคางทูม คณะวิจัยพบว่า การให้วัคซีนรวม 5 โรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โดยจะต้องกระตุ้นที่ 18 เดือน เพื่อให้ง่ายและเกิดความคุ้มค่า แทนที่จะให้วัคซีนรวมสามโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เท่านั้น นอกจากนี้การให้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ก็เช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถนำมาประยุกต์ต่อแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ เพื่อกำหนดตารางการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมต่อการให้วัคซีนในเด็กไทย

         การศึกษาโรคไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยเป็นผู้นำในการศึกษาโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส (hMPV) และไวรัสโรคทางเดินหายใจ ด้านระบาดวิทยาและแนวลึก เชิงโมเลกุล สายพันธุ์ เพื่อเป็นข้อมูลของประเทศไทย โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และโรคท้องเสียที่เกิดจากไวรัสโรต้าและไวรัสโนโร ศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ทราบข้อมูลของประเทศไทย

        คณะวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยด้านไวรัส เช่น การตรวจไวรัสในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคมือเท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง การตรวจไวรัสโนโร ไวรัสตับอักเสบ อี  และโรคอุบัติใหม่ เช่น ไวรัสซิกา และยังได้พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อ RSV และ hMPV โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ รวมทั้ง ชุดตรวจโรค มือ เท้า ปาก ชึ่งได้ให้บริการการตรวจกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลทั่วไป

         สำหรับช่วงสถานการณ์การระบาด Covid-19 ยังได้มีการพัฒนาชุดตรวจเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ ให้เป็นมัลติเพล็กซ์ และการพัฒนาการตรวจอย่างรวดเร็ว โดยใช้ CRISPR-Cas12a  ที่ได้ผลดี โดยนำไปทดลองใช้ในภาคสนามต่อไป นอกจากนี้ คณะวิจัยยังได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัย โรค มือ เท้า ปาก ชนิด CVA6 CVA16 และ EVA71 การตรวจไวรัสตับอักเสบ อี โดยวิธีเรียลไทม์อาร์ที-พีซีอาร์ การพัฒนาดังกล่าวได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรแล้ว คณะวิจัยยังศึกษาเกี่ยวกับการตรวจไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา  (HPV) สาเหตุมะเร็งปากมดลูก เปรียบเทียบการตรวจในปัสสาวะเทียบกับป้ายจากปากมดลูก พบว่ามีประสิทธิผลได้ดีถึงร้อยละ 95 

         นอกจากนี้ คณะวิจัยได้ศึกษาโรคที่เกิดขึ้นระหว่างคนและสัตว์ มีการศึกษาเชื่อมโยงให้เป็นสุขภาพหนึ่งเดียว (one health)  ศึกษาไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ระหว่างคนและสัตว์ โรคไวรัสของสัตว์ที่ใกล้เคียงกับของคน เช่น  distemper ในสัตว์ โรคหัด (measles) ในคน การติดต่อระหว่างโรคอุจจาระร่วง ไวรัสโนโรในมนุษย์และสุนัข ไวรัสตับอักเสบอี คน กับสุกร เป็นต้น

        การศึกษาวิจัยภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ นอกจากได้เป็นผลงานวิจัยออกมาเป็นรูปธรรมและมีการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ มากกว่า 130 เรื่อง ยังได้พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทางด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มให้ประชาคมวิจัยของประเทศไทยมีศักยภาพสูงขึ้น ในทุกครั้งที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ หรือไวรัสที่เป็นปัญหาในประเทศไทย คณะวิจัยจะได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับประชาชน ใช้องค์ความรู้ที่ทำการศึกษาให้เป็นประโยชน์กับประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล ในมาตรการการควบคุมและป้องกันโรค

ติดต่อสอบถาม

นางสาวสิริกัญจณ์ เนาวพันธ์
สังกัด งานบริหารโปรแกรมสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยแกนนำ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และโรคทางไวรัสที่สำคัญในประเทศไทย appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/food04-biocalcium/ Mon, 15 Mar 2021 04:11:47 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อติกร ปัญญา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ที่มาและความสำคัญ         ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง         ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี […]

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อติกร ปัญญา

ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ที่มาและความสำคัญ

        ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้งจากกระบวนผลิตไข่เหลวพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งกระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเยื่อเปลือกไข่ออกจากแคลเซียมเปลือกไข่สูง โดยไบโอแคลเซียมที่ได้มีความบริสุทธิ์มากกว่า 98% ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ต่ำทำให้สามารถนำไปใช้ในอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้โดยตรงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อกลิ่นรสต่อผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่พัฒนาขึ้นยังสามารถบดเปลือกไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตไบโอแคลเซียมที่มีขนาดได้ตั้งแต่ 5 ถึง 40 ไมโครเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เช่นการใช้งานเป็นสารเจือปนอาหารเพื่อเพิ่มความเหนียวของผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เช่นแป้งชุบทอดและเส้นราเมง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แคลเซียมผงหรือเม็ดเป็นต้น เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมที่ผลิตจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง

        ผลิตภัณฑ์เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท เป็นผลิตภัณฑ์ จากเปลือกไข่ จากการศึกษาพบว่า เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท ที่ได้มีขนาดโมเลกุลที่ขนาดเล็กระหว่างน้อยกว่า 3kDa ถึง 30kDa และสามารถละลายน้ำได้ดี ในสภาวะที่เป็นกรดและด่าง และนอกเหนือจากนี้ เยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทที่ได้นั้น โดยธรรมชาติจะมีส่วนประกอบของโปรตีน โปรตีนคอลลาเจน และ polysaccharides ในกลุ่ม glycosaminoglycans (GAG) เช่น chondroitin sulfate, dermatan sulfate, hyaluronic acids เป็นต้น จากกระบวนการแยกและย่อยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ eggshell membrane hydrolysate ประกอบด้วย peptides และสารในกลุ่ม GAG ค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหารเสริมลดอาการปวดข้อกระดูก และและเครื่องสำอางเนื่องจากมีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างการสร้างคอลลาเจนในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

สถานะผลงาน

        ปัจจุบันได้โรงงานต้นแบบเพื่อผลิตไบโอแคลเซียม (Biocalcium) และเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสท (Eggshell membrane hydrolysate) เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐาน GMP จากกระบวนการผลิตนี้จะสามารผลิต Biocalcium ประมาณ 1900 กก. ต่อวัน และ eggshell membrane hydrolysate ประมาณ 200 กก. ต่อวัน ปัจจุบันโรงงานกำลังยื่นขอ GMP และ ขอขึ้นทะเบียน อย. และสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้ในปี 2021

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์ไบโอแคลเซียมและเยื่อเปลือกไข่ไฮโดรไลเสทจากเปลือกไข่ไก่เหลือทิ้ง appeared first on NAC2021.

]]>
COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/medical04-coxy-amp-2/ Fri, 12 Mar 2021 13:41:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13393 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)        ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO […]

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)  

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

       ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่า โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ โดยหากตัวอย่างส่งตรวจมีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำสูง ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ราคาแพง เป็นการทำงานแบบขั้นตอนเดียว ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทดสอบเพียง 75 นาที

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

ติดต่อสอบถาม

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/agro-13-sugarcane/ Fri, 12 Mar 2021 08:02:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13238 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง          จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น          สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform […]

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ (RNS)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

         อุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลประสบปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานมีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงคุณภาพอ้อยที่ไม่คงที่ตลอดฤดูหีบ ทั้งนี้สาเหตุของควาแปรปรวนในเรื่องของผลผลิตและคุณภาพอ้อย เนื่องจาก ฤดูกาลปลูกอ้อย สภาพแวดล้อมและการจัดการแปลงของเกษตรกร พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูก การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งการจัดการหลังเก็บเกี่ยว แนวทางหนึ่งที่กลุ่มมิตรผลใช้ในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง คือ การปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีผลผลิตและความหวานสูง รวมถึงมีอายุในการไว้ตอที่นานขึ้น แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยด้วยวิธีมาตรฐานต้องใช้เวลานาน (10-12 ปี) และมีโอกาสที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังสูง

         จากข้อจำกัดดังกล่าวของการปรับปรุงพันธุ์ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และ Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้มีลักษณะตามที่ต้องการลงเหลือ 6-7 ปี และ เพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้สูงขึ้น

         สวทช. ร่วมดำเนินการวิจัยกับกลุ่มมิตรผล ศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนที่ควบคุมความหวานในอ้อย เพื่อช่วยในการคัดเลือกพันธุ์อ้อยทีมีความหวานสูง (Marker-assisted selection (MAS) ซึ่งมีความแม่นยำสูง และพัฒนา Platform Technology ของการปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการมาใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกอ้อยลูกผสม เพื่อลดระยะเวลาและงบประมาณของการปรับปรุงพันธ์อ้อย ปัจจุบันคณะผู้วิจัยได้พัฒนาอ้อยสายพันธุ์ใหม่ คือ อ้อยภูเขียว ที่มีความหวานและผลผลิตเฉลี่ยไม่แตกต่างหรือดีกว่าพันธุ์มาตรฐาน (KK3 หรือ ขอนแก่น 3) มีลักษณะทิ้งกาบใบเร็ว จึงช่วยแก้ปัญหาการเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว โดยได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ได้มีการปลูกทดสอบการปรับตัวในพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ (จำนวน 24 แปลง) และในแปลงของเกษตรกรลูกไร่ของกลุ่มมิตรผลทั้งในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แปลง (รวมเป็นพื้นที่ 130 ไร่) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของอ้อยสายพันธุ์ใหม่ และในปี 63/64 ได้ส่งเสริมการปลูกพันธุ์อ้อยภูเขียว ในพื้นที่ของเกษตรกรลูกไร่ จำนวนพื้นที่ 450 ไร่ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

นางสาวศศิวิมล บุญอนันต์
สังกัด ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ
สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา (RDI Management)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์อ้อยแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาล appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na32-nanosensor/ Fri, 12 Mar 2021 07:03:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12972 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย : เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี : เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ติดต่อสอบถาม ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02 564 7100 E-mail: bitt@nanotec.or.th เว็บไซต์: www.nanotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: โปสเตอร์ประกอบนิทรรศการ การตรวจวัดคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโรคไตเรื้อรังจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย :

         เป็นนาโนเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งได้แก่ เหล็ก และฟลูออไรด์ รวมทั้งยาปราบศัตรูพืช เช่น พาราควอท และไกลโฟเสท โดยนาโนเซ็นเชอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังสูง ซึ่งได้แก่ พื้นที่โดยรอบเขื่อนอุบลรัตน์ และลำน้ำพอง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อสร้างความตระหนัก และเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อลดและชะลออัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี :

         เป็นการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์วัสดุนาโนชนิดพิเศษที่จับจำเพาะได้กับสารปนเปื้อนที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ และให้สัญญาณที่สามารถวิเคราะห์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจอย่างง่ายจนเกิดเป็นนาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำแบบพกพา ที่มีความไว และความจำเพาะสูง

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นาโนเซ็นเซอร์เพื่อวิเคราะห์สารปนเปื้อนในแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรคไตเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na30-fluoride/ Fri, 12 Mar 2021 06:43:20 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12999 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33 ความสำคัญของงานวิจัย : ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี: โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม […]

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ฟันตกกระ (dental fluorosis) เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์
เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่มาจากน้ำที่ดื่ม
ที่มา : McGrady et al. BMC Oral Health2012, 12:33

ความสำคัญของงานวิจัย :

       ฟลูออไรด์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและชั้นหินต่างๆ ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตามการได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระและทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis) ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อลดต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี:

         โครงการความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์นาโนเทคโนโลยีและภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาฟลูออไรด์ในน้ำบาดาลสำหรับบริโภคอย่างยั่งยืน ดังนี้

       1.    พัฒนาวัสดุกรองจากถ่านกระดูกสัตว์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีมูลค่าไม่สูง และชุมชนสามารถพัฒนาวัสดุกรองได้เอง เนื่องจากจากโครงสร้างทางเคมีของกระดูกที่ประกอบด้วยไฮดรอกซีอะพาไทต์ เมื่อผ่านกระบวนการเผาในสภาวะที่เหมาะสมจะได้วัสดุกรองที่สามารถกำจัดฟลูออไรด์ได้ดี

       2. ระบบผลิตน้ำประปาหมู่บ้านที่มีต้นทุนต่ำ บำรุงรักษาง่าย โดยออกแบบระบบกรองผสมผสานที่ประกอบด้วยถ่านกระดูกสัตว์และถ่านกัมมันต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค โดยระบบดังกล่าวนำไปประยุกต์ใช้ที่ หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ระบบกรอง ติดตั้งที่ ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน
(เพิ่มเติมเข้าระบบประปาหมู่บ้าน)

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฟลูออไรด์ปนเปื้อนในน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับพื้นที่ชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>
eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/food19-elysozyme-t2/ Fri, 12 Mar 2021 03:15:50 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13104 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง สถานะผลงาน ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ […]

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        eLYSOZYME-T2/TPC ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ มีส่วนผสมของ eLYSOZYME-T2 ซึ่งเป็นไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมขึ้นทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ถูกออกแบบให้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวและปลา ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้เลี้ยงกุ้งขาวในระดับภาคสนามแล้ว พบว่า มีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพิ่มภูมิคุ้มกันของกุ้งโดยการกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและยีนที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระของกุ้ง  และลดอัตราการตายของกุ้งขาวจากการติดเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลิตภัณฑ์ eLYSOZYME-T2/TPC ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

        ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมปศุสัตว์แล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน “eLysozyme” สารยับยั้งแบคทีเรียจากธรรมชาติ

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYSOZYME-T2/TPC อาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/10/na31-waterfliter/ Wed, 10 Mar 2021 04:25:08 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11717 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)        โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี        1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ […]

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

       โครงการนี้เป็นความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ภายใต้การดำเนินการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน ตำบลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า, ขาดการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาด และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ชาวบ้านกังวลกับการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำผิวดินของชุมชน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 10 จังหวัดอุดรธานี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และชุมชนบ้านเทพภูเงิน เป็นต้น

ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ที่ติดตั้งภายในบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง

ณ โรงเรียนตำรวจตะเวณชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       1. เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในการช่วยบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ร่วมกับระบบกรองน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ โดยพัฒนาเป็นต้นแบบบ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำหรับน้ำบาดาลที่มีสารละลายในน้ำอยู่น้อย (total dissolved solid < 500 mg/L)  โดยการใช้เทคโนโลยีการกรองด้วยอัลตร้าฟิวเตรชั่น (ultrafiltration, UF)  ซึ่งเทคโนโลยี UF เป็นเทคโนโลยีการกรองด้วยเมมเบรนละเอียด มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตน้ำดื่ม สามารถกรองเชื้อโรคในน้ำได้ดี และสามารถคงแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์ได้มากกว่าระบบรีเวิร์สออสโมซิส (RO)

       2. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF สามารถผลิตน้ำดื่มสะอาดได้ตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ใช้พลังงานต่ำเพียง 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ต่อการผลิตน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (m3) ในขณะที่เทคโนโลยี RO เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการพลังงานสูงถึง 5-6 กิโลวัตต์-ขั่วโมงต่อการผลิตน้ำดื่ม1 m3

       3. บ้านน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ UF เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคด้วยพลังงานสะอาด ร่วมกับระบบการกรองที่มีประสิทธิภาพเพราะนอกจากจะช่วยผลิตน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย ยังช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานด้านน้ำในพื้นที่ และลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ทำให้สามารถเป็นกลไกหนึ่งในการขยายการเติบโตของเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว 

ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลก่อนและหลังกรอง ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพภูเงิน จังหวัดอุดรธานี อ้างอิงตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย ปี พ.ศ. 2563

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

The post โครงการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่โรงเรียน ตชด. และชุมชนชายขอบ appeared first on NAC2021.

]]>
Ecosystem of Informatics for Sustainability ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/circular01-tiis/ Tue, 09 Mar 2021 04:02:00 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12161 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) การเปิดเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเด็นการกีดกันด้านการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) ทวีความรุนแรงและมีข้อเรียกร้องจากคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท จึงควรเตรียมการความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งสุภาษิตว่าข้อมูลสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลความยั่งยืนนั้นถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันขาดความพร้อมในหลายด้าน จากประเด็นดังกล่าว สวทช. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายด้าน บางสาขามีความพร้อมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนยังขาดการบูรณาการ หากกล่าวถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเกษตรที่ยั่งยืน เมืองและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไทยยังขาดข้อมูลอีกมาก การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในอนาคต ต้องพัฒนาในรูปแบบ data driven approaches ที่เกิดพัฒนาควบคู่กับการใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพช่วยในการตัดสินใจ การทำข้อมูลและระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานหลายด้าน และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ การดำเนินงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมหรือ กระทรวงพลังงาน […]

The post Ecosystem of Informatics for Sustainability <br>ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Ecosystem of Informatics for Sustainability
ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS)

        การเปิดเขตการค้าเสรีในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเด็นการกีดกันด้านการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barrier) ทวีความรุนแรงและมีข้อเรียกร้องจากคู่ค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าสำคัญหลายประเภท จึงควรเตรียมการความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิตัล ซึ่งสุภาษิตว่าข้อมูลสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูลความยั่งยืนนั้นถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยเนื่องจากปัจจุบันขาดความพร้อมในหลายด้าน จากประเด็นดังกล่าว สวทช. จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายด้าน บางสาขามีความพร้อมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี บางส่วนยังขาดการบูรณาการ หากกล่าวถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การเกษตรที่ยั่งยืน เมืองและการก่อสร้างที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาจกล่าวได้ว่าไทยยังขาดข้อมูลอีกมาก

        การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีบทบาทหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้การดำเนินกิจกรรม กระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้น การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในอนาคต ต้องพัฒนาในรูปแบบ data driven approaches ที่เกิดพัฒนาควบคู่กับการใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพช่วยในการตัดสินใจ การทำข้อมูลและระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานหลายด้าน และจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ

การดำเนินงานภายใต้สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

        สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐในการบูรณาการเพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมหรือ กระทรวงพลังงาน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกันคือ ข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินงานของสถาบันฯครอบคลุม Eco system ทั้งระดับต้นน้ำจนระดับปลายน้ำ ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาแหล่งที่มาของข้อมูล ตามความเหมาะสมกับโจทย์ในแต่ละเรื่อง
  2. กระบวนการสร้างข้อมูล โดยมาจากการข้อมูลที่จากหลายแหล่งที่น่าเชื่อถือ (ข้อมูลทุติยภูมิ) หรือการเก็บข้อมูลจริงตามความเหมาะสม (ข้อมูลปฐมภูมิ) บางครั้ง อาจบันทึกแบบอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ รวมถึงการ ซื้อข้อมูล หรือการรับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาต่อยอดเป็นชุดข้อมูลใหม่
  3. การจัดเก็บข้อมูล เป็นการเนื้อหาที่ต่อจากกระบวนการสร้างข้อมูล เพื่อให้ผลลัพธ์ถูกหลักสากล สามารถแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่น และสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะจัดเก็บลง แฟ้มข้อมูล หรือระบบการจัดการฐานข้อมูล
  4. การประมวลผลและวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อค้นหาความหมายของชุดข้อมูลนั้นๆ โดยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ใช้มุมมองที่หลากหลายวิเคราะห์ข้อมูล ใช้งานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
  5. กระบวนการเผยแพร่ข้อมูล เป็นการแชร์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ อาทิ การทำเป็นกราฟเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย หรือแสดงผลตาม dashboard รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ปรึกษา หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่อยงาน

Data Ecosystem

รายละเอียดผลงานวิจัย (กระบวนการคิด)

       สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมีบทบาทและหน้าที่สนับสนุนให้กับหน่วยงานในหลายส่วน ซึ่งลักษณะงานของสถาบันฯ แบ่งออกเป็นสองด้าน คือ (1) การพัฒนาข้อมูล ระเบียบวิธีการและระบบสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน (2) การนำข้อมูลไปประยุกต์ต่อยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบของโครงการนำร่อง หรือการเป็นที่ปรึกษาแก่ภาครัฐและเอกชน โดยมีบทบาทและหน้าที่หลายภาคส่วนอาทิ
   – จัดทำและให้บริการข้อมูลความยั่งยืนของประเทศไทย
   – จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
   – จัดทำคลังข้อมูลวัฏจักรชีวิตของวัสดุพื้นฐาน พลังงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ
   – วิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
   – ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการจัดทำตัวชี้วัดประเภทต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐ เช่นตัวชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียว (Green GDP) ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Data Ecosystem

ประโยชน์ที่ได้รับ

        ได้ข้อมูลการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเติมเต็มข้อมูลของประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้มีอันดับที่สูงขึ้น และยังสามารถบูรณาการข้อมูลกับหน่วยทุกภาคส่วน

ด้านเศรษฐกิจ

  • นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานหรือประยุกต์ใช้ในการจัดทำนโยบายต่างๆ อาทิ การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวในประเทศ (Green GDP) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GPP) การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 (SDGs, goal 12) เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชน โดยใช้ฐานข้อมูล LCI เป็นข้อมูลต้นทางในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง ด้วยการพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้กับอันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตและสร้างโอกาสในการเปิดตลาดต่างประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
  • รักษาและเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไปยังสหภาพยุโรป/ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ในอุตสาหกรรมส่งออก เช่น อาหาร สิ่งทอ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ในการซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ
  • ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.03 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์เพิ่มกำไร/เพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการผลิต 1.90 ล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์

ด้านการศึกษา

  • สามารถขอรับบริการข้อมูลวัฏจักรชีวิตของประเทศ (National LCI Database) ซึ่งเป็นข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับต่อยอดการศึกษา ค้นคว้างานวิจัยทั้งในระดับเชิงลึกและเชิงการประยุกต์
  • สามารถบูรณาการหรือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์/วิจัย ร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อนำผลการวิจัยในระดับจุลภาคไปต่อยอดในระดับมหภาค ให้เกิดประโยชน์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืนครบทุกมิติ

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณในทางวิทยาศาสตร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำตัวชี้วัด หรือกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหักด้วยต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Gross Domestic Product : Green GDP) การจัดทำข้อเสนอภาษีสิ่งแวดล้อม (Green Tax) ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อมีการบังคับใช้ จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่สาธารณะ และช่วยลดงบประมาณการบริหารจัดการมลพิษของภาครัฐ นอกจากนี้ จะส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ลดการเจ็บป่วย หรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และลดภาระด้านการรักษาพยาบาลและบุคลากร

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

  • กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ประยุกต์ข้อมูลเพื่อพัฒนาประเทเทศสู่ความยั่งยืน ได้แก่
    – กลุ่มที่จัดทำนโยบาย เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
    – กลุ่มที่เป็นผู้ออกข้อบังคับ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน
    – กลุ่มที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ
    – กลุ่มภาคเอกชน มีความต้องการข้อมูลเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าและเพื่อความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิต เช่น – กลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มการบริการ กลุ่มการท่องเที่ยว เป็นต้น
    – ภาคประชาสังคม สามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาประเทศในองค์รวม
    – ภาคการศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ติดต่อสอบถาม

นายจิตติ มังคละศิริ
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Ecosystem of Informatics for Sustainability <br>ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน appeared first on NAC2021.

]]>
แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/09/na28-non-lithium-ion-batteries/ Tue, 09 Mar 2021 03:31:37 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=12122 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ […]

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

       ความมั่นคงของประเทศ ได้ถูกกำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) โดยมีเป้าหมายสำคัญในเรื่องของการสร้างความมั่นคงปลอดภัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ โดยมีประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรับมือภัยต่อความมั่นคงและเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน
ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกเริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัย การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการขนส่งและวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนในเชิงนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการมุ่งวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพให้เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน

      ในปี ค.ศ. 1991 แบตเตอรี่ลิเธียมได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสมรรถนะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ กลายเป็นระบบกักเก็บพลังงานที่ได้รับความนิยมในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่ให้สมรรถนะที่ดี แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและปัญหาด้านความปลอดภัยอันเนื่องมาจากการใช้อิเล็กโตรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษ การติดไฟของลิเธียมและปริมาณที่จำกัดของแร่ลิเธียม ส่งผลให้การพึ่งพาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพียงชนิดเดียว ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนและอาจนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานในอนาคต ดังนั้นแบตเตอรี่ทุติยภูมิชนิดใหม่ๆ เช่น แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แบตเตอรี่แมกนีเซียมไอออน แบตเตอรี่อลูมิเนียมไอออน และแบตเตอรี่สังกะสีไอออนจึงได้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ในบรรดาแบตเตอรี่ที่กล่าวมานั้นแบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้รับความสนใจจากนักวิจัยอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากจุดเด่นของขั้วแอโนดสังกะสี ซึ่งสามารถจ่ายอิเล็กตรอนได้สองตัว ค่าศักย์ไฟฟ้าสมดุลต่ำ ต้นทุนต่ำ มีปริมาณมากในธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้สมรรถนะที่ดี ซึ่งสมบัติเหล่านี้ส่งผลดีต่อการใช้เป็นแอโนดในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ นอกจากนี้สังกะสียังมีปริมาณที่มากในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ดอยผาแดง จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งแร่สังกะสีทุติยภูมิแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ดังนั้นทีมวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสี ซึ่งเป็นโลหะที่มีปริมาณมาก ราคาต่ำ ไม่เป็นพิษ และมีความปลอดภัยสูง อีกทั้งแหล่งผลิตยังมีกระจายอยู่ทั่วโลก โดยเน้นให้แบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถใช้กระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีอยู่แล้ว

รายละเอียดผลงานวิจัย

Non-Lithium Ion Batteries

        แบตเตอรี่สังกะสีที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นนั้นได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนได้ค่าการเก็บประจุสูงถึง 180-200 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 180-200 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 1.2 – 1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 1000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดและสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนบางชนิดได้ แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม จัดตั้งและดำเนินการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัยที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความมั่นคง เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและเป็นศูนย์กลางในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ หากประเทศไทยสามารถผลิตแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนได้ จะช่วยให้เราไม่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานในยามวิกฤตที่ไม่สามารถนำเข้าลิเทียมได้ และยังส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. เป็นงานวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ทางเลือกใหม่ สร้างเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ของคนไทย 
  2. สร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางพลังงานของประเทศ เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางพลังงานและมีเสถียรภาพทางด้านพลังงาน
  3. คุณสมบัติเด่นคือ ปลอดภัย ไม่ระเบิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีวัตถุดิบที่ผลิตได้เองภายในประเทศ

กลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี

       กลุ่มผู้ใช้งานแบตเตอรี่ตะกั่วกรดเดิมและผู้ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าใช้ในบ้านพักอาศัย, ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่, ยานยนต์ขนาดใหญ่ (รถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้า), เรือ, Station และงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น สถานีวิทยุสื่อสารทหาร แท่นขุดเจาะน้ำมัน

สถานะงานวิจัย

       การพัฒนางานวิจัยอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนามเบื้องต้น

ติดต่อสอบถาม

คุณกลดธิดา ญาณุกุล
ฝ่ายวิจัยกราฟีนและนวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post แบตเตอรี่ปลอดภัยไร้ลิเทียม (Non-Lithium Ion Batteries) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food02-premix-probiotic/ Mon, 08 Mar 2021 04:04:05 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11572 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์           ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 […]

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร และทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ศช. ร่วมกับภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์โพรไบโอติก และพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สารเสริมชีวนะยีสต์โพรไบโอติกที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ (การผลิตเซลล์) และกระบวนการปลายน้ำ (การเก็บเกี่ยวและการทำแห้งเซลล์ยีสต์ และพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์) ทำให้ได้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกที่มีสเปคตามข้อกำหนดของกองควบคุมอาหารและยา กรมปศุสัตว์ และจดทะเบียนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ SYMPRO PLUS, SYMPRO STAR และ SYNMUNE GUARD ผลทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระดับภาคสนาม พบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาหารไก่เนื้อ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตยีสต์โพรไบโอติกให้กับบริษัทเพื่อการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ 

         ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ยื่นจดความลับทางการค้าจำนวนทั้งสิ้น 5 เรื่อง ก่อให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและงานวิจัยในปี 2564 รวม 14.4 ล้านบาท และเกิดผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจ้างงาน ลดการนำเข้าจุลินทรีย์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ และลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟารม์ปศุสัตว์ รวม 4.26 ล้านบาทต่อปี

สถานะผลงาน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนเรียบร้อยแล้ว

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน ยีสต์โพรไบโอติก ทางเลือกใหม่สำหรับสุขภาพ

ติดต่อสอบถาม

ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารผสมล่วงหน้า (premix) ชนิดสารเสริมชีวนะโพรไบโอติกในอาหารสัตว์ appeared first on NAC2021.

]]>
eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/08/food03-elys-t1/ Mon, 08 Mar 2021 03:59:11 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11571 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) มารู้จักกับ eLYS-T1 eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL […]

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.วีระพงษ์ วรประโยชน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

มารู้จักกับ eLYS-T1

       eLYS-T1 ไลโซไซม์จากไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย กระบวนการเฉพาะของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ให้เป็นไลโซไซม์ประสิทธิภาพสูงที่ยับยั้งแบคทีเรียได้ครอบคลุมทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสียและแบคทีเรียก่อโรคที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium, และ Listeria monocytogenes ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดลองใช้ยืดอายุการเก็บรักษาไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์แล้ว พบว่า มีประสิทธิภาพในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ Total plate count E. coli, coliform, S. aureus, Yeast & Mold และ lactic acid bacteria ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนานถึง 8 สัปดาห์ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ไข่รวมเหลวพาสเจอร์ไรซ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้นอย่างน้อย 4 สัปดาห์ eLYS-T1 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุเจือปนอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว  ภายใต้ชื่อ eLYS-T1/ESL

ผลิตภัณฑ์ eLYS-T1/ESL ในบรรจุภัณฑ์ที่วางจำหน่ายจริง

สถานะผลงาน

     ผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตภัณฑ์ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว สำหรับจำหน่ายแบบ B2B ให้กับโรงงานผลิตอาหาร 

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post eLYS-T1 ผลิตภัณฑ์ไลโซไซม์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร appeared first on NAC2021.

]]>
M-Pro Jelly Drink http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food12-m-pro-jelly-drink/ Sun, 07 Mar 2021 05:29:34 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10444 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT) ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)         M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า   สถานะผลงาน       ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร […]

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>

M-Pro Jelly Drink

M-Pro Jelly Drink

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)

ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ
ทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร (FOMT)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

        M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนถั่วเขียว ที่มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้าง และขนาดอนุภาคของโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจล จากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีน หรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า

  สถานะผลงาน

      ผลงานนี้มีระดับเทคโนโลยีอยู่ที่ TRL 4 ได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร องค์ประกอบของเครื่องดื่มโปรตีนชนิดเจลจากโปรตีนพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (ยื่นคำขอ พฤษภาคม 2563) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาการยืดอายุการเก็บรักษาด้วยการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไลซ์อยู่ระหว่างหาผู้ประกอบการเพื่อรับถ่ายทอด หรือทำร่วมวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอด

ติดต่อสอบถาม

คุณชนิต วานิกานุกูล
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post M-Pro Jelly Drink appeared first on NAC2021.

]]>
Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการอาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food16-data-analytics-platform/ Sun, 07 Mar 2021 05:24:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10462 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)           • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ           • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) […]

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ
อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

          • การเชื่อมโยงข้อมูล KidDiary และ Thai School Lunch เพื่อการวิเคราะห์สุขภาวะเด็ก โดยบูรณาการข้อมูลจากหลายมิติทั้งด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการ และโภชนาการ นำเข้าสู่ Data Analytics Platform เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนหรือนโยบายในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการจัดการด้านอาหารและสุขภาวะของเด็กนักเรียนในประเทศ

          • ต่อยอด Thai School Lunch เพื่อการประเมินคุณค่าโภชนาการในอาหารเช้า โดยเริ่มใช้งานแล้วในระบบ Thai School Lunch for BMA สำหรับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

          • เพิ่มวัตถุดิบใหม่ในระบบ Thai School Recipes รวมถึงวัตถุดิบท้องถิ่นหรือวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ เพื่อให้สามารถสร้างตำรับอาหารได้หลากหลายและครอบคลุมอาหารทั่วทุกภูมิภาค 

          • การคำนวณคุณค่าโภชนาการอาหารสำหรับทุกช่วงวัย สามารถนำไปต่อยอดกับระบบอาหารเพื่อผู้สูงอายุ (ElderMeal) และ ระบบอาหารสำหรับเด็กเล็ก

          • พัฒนาการเชื่อมต่อกับระบบ Thai School Lunch for Catering เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียนสามารถบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตควบคู่ไปกับการจัดการรายการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเหมาะสม

          • เชื่อมโยงข้อมูลความต้องการวัตถุดิบกับระบบ Farm to School เพื่อรองรับการบริหารจัดการวัตถุดิบและส่งเสริมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สนับสนุนการผลิตและป้อนวัตถุดิบที่ปลอดภัยกลับสู่โรงเรียนได้อย่างยั่งยืน

          • พัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแบบอัตโนมัติ (KidSize) สามารถช่วยให้การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ โดยมี AI ตรวจสอบท่ายืนที่ถูกต้อง ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเข้าสู่ Platform โดยอัตโนมัติและแปลผลผ่านระบบ KidDiary ได้ทันที

แผนภาพ Platform Big Data

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนแล้ว

         1. Thai School Lunch for Catering 

         2. KidSize 

ติดต่อสอบถาม

คุณจันทิมา จันทร์ศักดิ์ศรี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post Data Analytics Platform เพื่อการบริหารจัดการ<br>อาหารและสุขภาวะนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/food15-anti-cough-takabb/ Sun, 07 Mar 2021 05:06:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10440 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. กอบกุล เหล่าเท้งกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ  ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ สถานะผลงาน          ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิราศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: […]

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร (IFIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          คณะผู้วิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม และทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร กับบริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด มีความร่วมมือในการพัฒนาและนวัตกรรมกระบวนการผลิตยาแก้ไอแผนโบราณ โดยประยุกต์ใช้ความองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีชีวกระบวนการและวิศวกรรมอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ พร้อมผนวกกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของบริษัท ฯ ที่สะสมมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี ทำให้สามารถพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แก้ไอในรูปแบบสเปรย์น้ำ ซึ่งคงสรรพคุณของตัวยาสำคัญ รสชาติ และการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์แก้ไอแบบลูกกลอน ผลิตภัณฑ์ที่นวัตกรรมขึ้นนี้ รองรับกลุ่มผู้บริโภคต่างๆในปัจจุบัน โดยมีแผนการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจยาแผนโบราณและสมุนไพรของประเทศ 

ภาพผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ

สถานะผลงาน

         ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ แล้ว

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ฺBIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สเปรย์แก้ไอ appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/07/potato-balls/ Sat, 06 Mar 2021 19:35:33 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=11725 นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” 29 มีนาคม 2564 เวลา 13:00 – 16:30 น. ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว       ชวนเด็ก ๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางของน้องหัวมัน ตั้งแต่ต้นทางการปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้ได้หัวมันคุณภาพสูง จนถึงกระบวนการแปรรูปที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตแป้งจากหัวมัน ให้มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเมนูอาหารที่หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับมันสำปะหลังไทย กำหนดการ วันที่ 29 มีนาคม 2564 12.30 – 13.00 น. เข้าระบบเพื่อเตรียมความพร้อม 13.00 – 14.00 น. บรรยาย จุดเริ่มต้นการเดินทาง เรียนรู้กระบวนการปลูก การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และธาตุอาหารของพืชหัวโดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด 14.00 – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.10 – 15.00 […]

The post นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมอาหารและการเกษตร "ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน"

29 มีนาคม 2564 
เวลา 13:00 – 16:30 น.

ขออภัย ขณะนี้จำนวนผู้เข้าสมัครเต็มแล้ว

      ชวนเด็ก ๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางของน้องหัวมัน ตั้งแต่ต้นทางการปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้ได้หัวมันคุณภาพสูง จนถึงกระบวนการแปรรูปที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตแป้งจากหัวมัน ให้มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเมนูอาหารที่หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับ
มันสำปะหลังไทย

กำหนดการ

วันที่ 29 มีนาคม 2564

12.30 – 13.00 น.

เข้าระบบเพื่อเตรียมความพร้อม

13.00 – 14.00 น.

บรรยาย จุดเริ่มต้นการเดินทาง
เรียนรู้กระบวนการปลูก การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และธาตุอาหารของพืชหัว
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

14.00 – 14.10 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

14.10 – 15.00 น.

กิจกรรม น้องหัวมันแปลงกาย
รู้จักกับแป้งจากพืชชนิดต่าง ๆ รอบตัว และเรียนรู้กระบวนการแปรรูปจากหัวมันสู่แป้งมัน ซึ่งถูกดัดแปลงคุณสมบัติต่าง ๆ ให้มีความพิเศษเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

15.00 – 15.40 น.

กิจกรรม เมนูอาหารจากแป้งน้องหัวมัน
เรียนรู้การนำแป้งจากหัวมัน มาประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ ตามคุณสมบัติของแป้ง เช่น ความกรอบ ความเหนียว เป็นต้น
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

15.40 – 16.00 น.

บรรยายพิเศษ เส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
ในอุตสาหกรรมด้านอาหารและการเกษตร
โดย วิทยากรจาก บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

หมายเหตุ กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นวัตกรรมอาหารและการเกษตร “ตอน การเดินทางของน้องหัวมัน” appeared first on NAC2021.

]]>
กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food07-pineapple-vinegar/ Fri, 05 Mar 2021 10:10:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10337 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณยุทธนา กิ่งชา ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้ ติดต่อสอบถาม คุณศุกร์นิมิต สุจิรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์: 02-5646700 ต่อ 3308 E-mail: suknimit.suj@biotec.or.th เว็บไซต์: www.biotec.or.th ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ: เอกสารเผยแพร่

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณยุทธนา กิ่งชา
ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

สรุปเทคโนโลยี/กระบวนการที่พัฒนา

ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด

  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรดในขั้นตอนเดียวแบบ slow process ที่อาศัยกิจกรรมของต้นเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมซึ่งสามารถผลิตเอทานอลไปพร้อมๆกับการสร้างกรดอะซิติค
  • เป็นกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักต้นทุนต่ำที่สามารถหมักน้ำสับปะรดในถังหมักพลาสติกขนาด 100 ลิตร (food-grade) ให้ได้ผลผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานของ อย. ได้ภายในระยะเวลา 115 วัน 
  • เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นในการรองรับการผลิตน้ำส้มสายชูหมักในปริมาณต่างๆ เพียงแค่ทำการปรับเพิ่มหรือลดจำนวนของถังหมักและปรับระบบการให้อากาศ รวมทั้งจัดการรอบของการหมักให้สำพันธ์กับปริมาณการผลิตที่ต้องการได้

ติดต่อสอบถาม

คุณศุกร์นิมิต สุจิรา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด appeared first on NAC2021.

]]>
ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro08-npv/ Fri, 05 Mar 2021 09:09:58 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10241 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) รู้จักไวรัสเอ็นพีวี          ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้ กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี          เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช […]

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

รู้จักไวรัสเอ็นพีวี

         ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาและผลิตไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้หอม ไวรัสเอ็นพีวีของหนอนกระทู้ผัก และไวรัสเอ็นพีวีหนอนเจาะสมอฝ้าย

  • เป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย
  • มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรูพืช ปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ
  • ใช้ได้กับเกษตรเคมี เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์
  • ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม ไม่มีพิษตกค้างในพืช
  • เกษตรกรสามารถต่อเชื้อใช้เองได้

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี

         เมื่อหนอนกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนใบพืขอาหาร ไวรัสเข้าสู่กระเพาะอาหาร ผลึกโปรตีนที่ห่อหุ้มอนุภาคของไวรัสจะถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง อนุภาคไวรัสจะหลุดออกมาและเข้าทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร หนอนจะลดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ผนังลำตัวสีเขียวของหนอนจะเริ่มซีดจาง หลังจากนั้นอนุภาคไวรัสขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายในลำตัวของหนอน เข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ เซลล์ในร่างกายถูกทำลาย ผนังลำตัวจะมีสีขาวหรือสีครีม หนอนจะหยุดกินอาหารและพยายามไต่ขึ้นบริเวณส่วนยอดของต้นพืช และตายโดยห้อยหัวและส่วนท้องลงเป็นรูปตัว “วี” หัวกลับ (V Shape) ผนังลำตัวของหนอนที่ตายแล้วจะแตกง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีดำอย่างรวดเร็ว ของเหลวภายในซากหนอนจะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส

กลไกการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี ​

หัวใจสำคัญของการใช้ไวรัสเอ็นพีวี

  • รู้จักชนิดของหนอน
    • หนอนกระทู้หอม
    • หนอนกระทู้ผัก
    • หนอนเจาะสมอฝ้าย
  • ประเมินความรุนแรงของการระบาด เพื่อเลือกปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
    • ระบาดน้อย ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน
    • ระบาดปานกลาง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 15 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน
    • ระบาดรุนแรง ใช้ไวรัสเอ็นพีวี 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นวันเว้นวัน จนกว่าหนอนจะลดลง
  • เทคนิคการใช้ไวรัสเอ็นพีวี
    • ฉีดพ่นหลังบ่ายสามโมง
    • ผสมสารจับใบ ช่วยให้ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดใบ
    • หัวสเปรย์แบบฝอยให้ละอองมากกว่าหัวสเปรย์ใหญ่ ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดบนใบได้ดีกว่า
    • เก็บขวดไวรัสเอ็นพีวีให้พ้นแสงแดด

วิธีสังเกตหนอน

การเลือกใช้ปริมาณไวรัสเอ็นพีวี ให้เหมาะสมกับระดับการระบาด

เทคนิคการต่อเชื้อไวรัสเอ็นพีวีสำหรับใช้ครั้งต่อไป

  • ใช้ทันที
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 2 ตัว ผสมน้ำ 1 ลิตร
  • เก็บเพื่อรอใช้
    • นำหนอนที่ตายจากไวรัสเอ็นพีวี 30 – 40 ตัว ใส่ขวดสีชา เติมน้ำสะอาดท่วมตัวหนอน เก็บในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) สามารถเก็บได้นาน 1 ปี
    • เมื่อจะนำไปใช้ ให้เขย่าขวดแล้วเทลงถังพ่นยา (15 ลิตร)
    • เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วจึงฉีดพ่น

หนอนที่ตายในช่วงที่เป็นสีขาวขุนจะได้เชื้อเอ็นพีวีดีที่สุด

ติดต่อสอบถาม

คุณสัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (AVBT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC)

The post ไวรัสเอ็นพีวี (Nucleopolyhedro Virus: NPV) appeared first on NAC2021.

]]>
ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/food06-nazxon/ Fri, 05 Mar 2021 08:19:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10076 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร. วรายุทธ สะโจมแสง ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)         ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย         สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต […]

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์
ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร. วรายุทธ สะโจมแสง
ทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งเเวดล้อม (ENV)
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

        ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มากกว่า 80% ในไทย เลือกใช้ยาปฏิชีวนะตลอดวงจรการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การรักษาโรค ป้องกันโรค และเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ รวมถึงพบการดื้อยาหลายขนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งมีการออกกฎหมายห้ามใช้หรือการควบคุมที่เข้มงวดสำหรับยาปฏิชีวนะ รวมถึงการระงับการนำเข้าและส่งคืนสินค้าที่มาจากประเทศไทยและมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นที่น่าสนใจในการนำมาใช้จัดการสุขาภิบาลในโรงเรือนสัตว์ โภชนาการอาหารและน้ำดื่ม เพื่อทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์รองรับแผนการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในอนาคต ส่งเสริมให้สินค้าอาหารของไทยมีความปลอดภัย

        สวทช. จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติด้วยไอออนประจุบวกของซิงค์เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยา โดยไอออนประจุบวกของซิงค์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ประจุบวกของซิงค์ไอออนมีความว่องไว สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้รวดเร็ว และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับเกลืออนินทรีย์ซิงค์ทำให้ใช้ความเข้มข้นน้อย การใช้ซิงค์ไอออนฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อทดแทนการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลและซัลโมเนลลา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่มีชีวิต นอกจากนี้ สามารถต่อยอดไอออนจากธาตุอาหารเสริมสู่ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในโรงเรือน ฟาร์มสัตว์ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์ การใช้งานสามารถเจือจางผลิตภัณฑ์ด้วยน้ำ 1:10-20 ในปริมาตร 1 ลิตรต่อวัตถุดิบอาหารสัตว์

        นวัตกรรมซิงค์ไอออนสามารถแก้ปัญหาเชื้อจุลินทรีย์และไวรัส ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้ สามารถนำไปฆ่าและป้องกันเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (African swine fever virus, ASFV) ได้ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 74,600 ล้านบาทต่อปี หากไม่มีการป้องกันเชื้อดังกล่าว จะทำให้สุกรเสียชีวิตมากกว่า 50% และยังสร้างผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อย่างมหาศาล

จุดเด่น

  • ใช้ทดแทนสารฟอร์มาลินหรือฟอร์มาลดีไฮด์
  • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
  • ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อสูง >6 log10 reduction
  • ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อภายใน 5-30 นาที
  • ออกฤทธิ์การฆ่าเชื้อได้ยาวนานไม่สลายตัว
  • ไม่ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆที่อยู่ในวัตถุดิบอาหารสัตว์
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน
  • ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสัตว์
  • ต้นทุนต่ำ

สถานะผลงาน

  • นวัตกรรมนี้ได้จดอนุสิทธิบัตรและได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทเพื่อผลิตและจำหน่ายซิงค์ไอออนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสจากธรรมชาติในฟาร์มปศุสัตว์ ในชื่อของ “Naxzon”
  • ผู้รับการถ่ายทอด: บริษัทยูนิซิล กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562
  • ทรัพย์สินทางปัญญา: อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903001426 องค์ประกอบสำหรับเตรียมสารฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรควันที่ยื่นคำขอ 31 พฤษภาคม 2562

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากธรรมชาติในวัตถุดิบอาหารสัตว์<br>ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ (NaxZon) appeared first on NAC2021.

]]>
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro4-tissue-culture-bioreactor/ Fri, 05 Mar 2021 07:45:57 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10044 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)         ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย         ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น […]

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

        ปัจจุบัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การขยายต้นกล้าพันธุ์ดีจากภาครัฐและภาคเอกชนออกไปสู่เกษตรกร  ซึ่งถ้าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอายุสั้น มีการเจริญเติบโตทางยอดได้ง่าย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมหรือเมล็ดพันธุ์แท้ออกสู่ตลาดได้เลย ก็จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไม่ยากนัก แต่หากเป็นพืชที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตช้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มอื่น พืชสมุนไพรบางชนิด หรือแม้กระทั่งแม้ยื่นต้นเนื้อแข็งบางชนิด ทีไม่สามารถใช้เมล็ดที่เกิดจากการผลมตัวเองออกไปเพาะเป็นต้นกล้าได้ เนื่องจากมีการกระจายตัวทางพันธุกรรมสูง  ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น จะมีความต่างจากต้นพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นหรือเกิดการกลายพันธุ์ให้ลักษณะที่ต่างไปจากต้นพ่อแม่ รวมถึงมีต้นทุนในการจัดการสูง ทั้งในเรื่องของแรงงาน พื้นที่ และอุปกรณ์ในการผลิตต้นกล้าด้วยการเพาะเมล็ด ตัวอย่างเช่น การเพาะต้นกล้ามะพร้าวจากผลมะพร้าว นอกจากจะใช้เวลานานแล้วยังใช้พื้นที่และแรงงานในการจัดการดูแลสูงจำนวนต้นกล้าพันธุ์ดีที่ได้จากการเพาะเมล็ดนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคเกษตรกรผู้ผลิต นอกจากนั้น ในพืชที่มีลักษณะแยกเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เช่น อินทผาลัม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้ต้นต้วผู้มากกว่าต้นตัวเมีย ทำให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทผาลัมเกิดความเสียหายเนื่องจากได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดหมาย

        ขณะนี้ ทางหน่วยวิจัยฯ ร่วมกับกับหน่วยการอื่น ได้แก่ สวก. และ iTAB ได้พัฒนาโครงการต้นแบบเพื่อการพัฒนาต้นกล้าปาล์มและมะพร้าวพันธุ์ดีแบบก้าวกระโดด เพื่อการขยายผลออกสู่เกษตรกร โดยใช้ทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่มีอายุยาว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการนำเอาเซลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีดีเอ็นเอในการขยายพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน แรงงาน และร่นระยะเวลาทั้งการผลิตและปรับปรุงพันธุ์  เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศให้เกิดความมั่งคง มั่งคั่งและยั่งยืน

        ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นปาล์มน้ำมัน มะพร้าว แม้กระทั่งอินทผาลัมนั้น ทางห้องปฏิบัติการฯจะเลือกใช้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อพืชที่กำลังมีการพัฒนา ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ ใบอ่อน ช่อดอกอ่อน ตาข้าง มาฟอกฆ่าเชื้อและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโต (Plant growth regulator) บังคับให้เนื้อเยื่อมีการพัฒนาเป็นเซลหรือเนื้อเยื่อ รวมถึงเป็นต้นอ่อนที่มียอดและรากที่สมบูรณ์

        ปกติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่จะใช้ระบบอาหารแข็งโดยมี gelling agent หรือวุ้น ในการชักนำให้เกิดกลุ่มเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นต้นอ่อนได้ เรียกว่า แคลลัส (callus) และจึงพัฒนาเป็นต้นอ่อนสมบูรณ์ในสภาพปลอดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยทางหน่วยฯ ได้พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันและมะพร้าว โดยใช้ระบบอาหารเหลวและนำเอาระบบ bioreactor มาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อการลดต้นทุน แรงงาน เวลา ในการพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

         การนำเอาระบบอาหารเหลวมาใช้ร่วมกับระบบ bioreactor แบบกึ่งจม หรือ Temporary Immersion System (TIS) โดยมีหลักการการทำงานแบ่งเป็น 4  phases  ได้แก่

  1. Stationary phase : เนื้อเยื่อในระบบ อยู่ในสภาพปกติ โดยมี culture vessel ด้านบนที่มีเนื้อเยื่ออ และ media vessel ด้านล่างที่มีอาหารเหลว
  2. Immersion phase  เป็นระยะของการดันลมส่งให้อาหารเหลวใน vessel ด้านล่าง ขึ้นมาท่วมเนื้อเยื่อที่อยู่ใน vessel ด้านบน
  3. Drain phase  การปล่อยให้อาหารเหลวไหลกลับลงสู่ vessels  ด้านล่างตามแรงดึงดูดโลก
  4. Ventilation phase ระยะของการดันอากาศเข้าทาง vessels ด้านบน

         ซึ่งการนำเอาระบบ bioreactor นี้มาใช้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็น somatic embryo และพัฒนาเป็นต้น ( Plant regeneration) ได้รวดเร็วกว่าวิธีการใช้อาหารแข็งปกติประมาณ 3-4 เท่า นอกจากจะสามารถร่นระยะเวลาในการผลิตต้นอ่อนจากต้นแม่สายพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการในตลาดต้นกล้าแล้ว ยังสามารถควบคุมสารอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดสารออกฤทธิ์ตามที่เราต้องการในพืชสมุนไพรบางชนิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นลดต้นทุน แรงงาน และเวลารวมถึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการขยายพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดดได้ในอนาคต

ติดต่อสอบถาม

ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต
ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร (APFT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบ Bioreactor appeared first on NAC2021.

]]>
ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/energy02-autonomous-golf-cart/ Fri, 05 Mar 2021 04:36:10 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9873 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ ความสำคัญของงานวิจัย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and […]

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ความสำคัญของงานวิจัย

          โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous-Driving Vehicle Technology) เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายและความต้องการใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง ในอนาคตของประเทศไทย โดยเริ่มจากการพัฒนายานยนต์ขับขี่อัตโนมัติสำหรับการใช้งานขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด (Geo-fenced Area) ที่มีการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมและสั่งการแบบอัตโนมัติเพื่อนำไปติดตั้งและบูรณาการเข้ากับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Platform) ซึ่งในโครงการได้เลือกใช้รถกอล์ไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนของระบบขับเคลื่อนน้อย และสามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีผู้ขับฉุกเฉิน (Emergency Driver) ทำหน้าที่ควบคุมรถในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ (Level-3) ดำเนินการในพื้นที่ Sandbox ซึ่งมีการรบกวนจากการจราจร ยวดยานอื่นๆ และผู้ร่วมใช้ถนนไม่หนาแน่น เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในศึกษาการใช้งานของระบบควบคุมและสั่งการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ โดยระบบของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ระบบ Drive-By-Wire หรือเรียกว่าระบบควบคุมสั่งงานการขับขี่ (พวงมาลัย เบรก และคันเร่ง) ซึ่งจะสื่อสารด้วย Protocol CAN BUS
  • ระบบนำทางอัตโนมัติ ในโครงการนี้ได้เลือกใช้เซ็นเซอร์นำทางแบบ Light Detection and Ranging (LiDAR) ที่ทำงานควบคู่กับ High Density Map แบบ 3 มิติ ที่จะต้องเตรียมการจัดทำไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมี Global Navigation Satellite System (GNSS) Receiver ติดตั้งไว้บนตัวรถ เพื่อใช้รับสัญญาณจากดาวเทียมระบุตำแหน่งตัวรถบนพื้นผิวโลกที่ทำงานร่วมกับ CORS Station เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของตัวรถในระดับเซ็นติเมตร ณ เวลาจริง โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัวรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการชนของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติกับสิ่งมีชีวิตมนุษย์ และวัตถุต่างๆ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ
  • ระบบจัดการฝูงรถ (Fleet Management System) ทำหน้าที่สื่อสารกับระบบนำทางอัตโนมัติของรถ โดยในโครงการนี้ได้ทดลองรถขับขี่อัตโนมัติเพียง 1 คัน ระบบดังกล่าวจึงจำกัดอยู่เพียง Application Program สำหรับค้นหาตำแหน่งรถ และเรียกรถให้มารับผู้โดยสารผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ระบบ Drive-By-Wire

เซนเซอร์

กลไกควบคุมทิศทางรถ

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3) ที่มีความพร้อมสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดใช้งานในภาคการคมนาคม-ขนส่ง และโลจิสติกส์
  • เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่ต้องคำถึงตัวแปรและเงื่อนไขในเชิงพื้นที่ (Localized Constrains)
  • เทคโนโลยีที่มีความพร้อมนำไปใช้งานเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User) ยานยนต์ (Vehicle) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และสรรพสิ่งต่างๆ

เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 (Autonomous Driving Technology Level#3)

ติดต่อสอบถาม

ดร. จาตุวัฒน์ ราชเรืองระบิน
ทีมวิจัยเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่ง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติเพื่อการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ปิด appeared first on NAC2021.

]]>
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro02-rice-gene/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:21 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9872 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดารักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ข้าวเพื่อความมั่นคง ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน   ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน            ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ […]

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา
รักษาการรองผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ข้าวเพื่อความมั่นคง

ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

 ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน 

          ข้าวเหนียว “พันธุ์ธัญสิริน” เกิดจากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานโรคไหม้แบบกว้าง โดยการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข6 ที่ไม่ต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์แม่ และพันธุ์เจ้าหอมนิล ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ เป็นสายพันธุ์พ่อ ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 4 ปี โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคไหม้และคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือกร่วมกับ การปรับปรุงพันธุ์แบบวิธีมาตรฐานแบบสืบประวัติ และมีการปลูกทดสอบและคัดเลือกความต้านทานต่อ โรคไหม้ ณ ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และในพื้นที่แปลงผลิตของเกษตรกร จนได้พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้านทานโรคไหม้ ไวต่อช่วงแสง แตกกอดี ใบยาวสีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรงกว่าพันธุ์ กข6 ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเปลือกสีน้ำตาล คุณภาพการขัดสีดีกว่าพันธุ์ กข6 คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนเหนียวนุ่ม ข้าวสุกเมื่อเย็นคงความนิ่ม เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค ได้รับพระราชทานชื่อพันธุ์จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “ธัญสิริน” เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553

ข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคา

ข้าวเหนียวหอมนาคา

         ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ได้จากการผสมระหว่างข้าวสายพันธุ์ RGD10033-77-MS22 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD11169-MS8-5 เป็นสายพันธุ์พ่อ ที่ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อปี 2556 จนได้ลูกผสมชั่วที่1 แล้วคัดเลือกลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว และลักษณะข้าวเหนียว โดยวิธีสืบประวัติร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก จากนั้นทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.ลำปาง จ.พะเยา และ จ.เชียงราย โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เมื่อปี 2562 จนคัดเลือกได้ข้าวเหนียว “พันธุ์หอมนาคา” ซึ่งมีลักษณะขาวเหนียว กลิ่นหอม นุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 930 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา

ข้าวเจ้าพันธุ์หอมจินดา 

        ข้าวเจ้า “พันธุ์หอมจินดา” ได้จากการผสมข้ามพันธุ์แบบดั้งเดิมระหว่างข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวสายพันธุ์ RGD07097-1-MAS-8-9-0-0 เป็นสายพันธุ์พ่อ ณ ห้องปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ได้ปลูกทดสอบและคัดเลือกร่วมกับมูลนิธิรวมใจพัฒนา แล้วประเมิณลักษณะคุณภาพการหุงต้มทางกายภาพและทางเคมี ณ ทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จนคัดเลือกได้ข้าวเจ้าหอมนุ่ม“พันธุ์หอมจินดา” ซึ่งมีลักษณะเมล็ดมีกลิ่นหอม นุ่ม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลางให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 838 กิโลกรัมต่อไร่

ข้าวเจ้าพันธุ์ธัญญา6401

ข้าวพันธุ์ธัญญา6401

      ข้าวพันธุ์ “ธัญญา6401” (RGD12123-B-MS178-MS2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง ทรงต้นตั้งตรง ลำต้นแข็งแรง แตกกอดี ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (มียีน xa5+xa33+Wxb) คุณภาพหุงต้มนุ่ม

      ข้าวสายพันธุ์นี้ ได้จากการผสมข้ามระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ กข47 เป็นสายพันธุ์แม่ และข้าวเจ้าสายพันธุ์ปรับปรุง RGD07097-1-MAS-8-9 (มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง xa5+Xa21+xa33+Wxb) เป็นสายพันธุ์พ่อ จากนั้นคัดเลือกยีนเป้าหมายด้วยเครื่องหมายโมเลกุล และทำควบคู่กับการคัดลักษณะทรงต้นและผลผลิตไปพร้อมกัน จนได้สายพันธุ์ปรับปรุงที่มียีนคงตัว และทำการทดสอบผลผลิตและทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ก่อนนำไปปลูกคัดเลือกประเมินลักษณะผลผลิตภายในสถานีวิจัยรวมใจพัฒนา ในปี 2560 และ 2561 จากนั้นทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดี และทำการปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกร ณ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นนทบุรี ปี 2561 และ 2562 พบว่า สายพันธุ์ RGD12123-B-MAS-178-MAS-2-1-1-RJP-1-1-B-B) เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดี ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 750-800 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จึงทำการปลูกขยายและผลิตเมล็ดพันธุ์

ข้าวสรรพสี

จากข้าวไรซ์เบอร์รี่สู่ข้าวสรรพสี

ข้าวสรรพสี

      เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง พันธุ์พ่อ ‘ข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว’ กับ พันธุ์แม่ ‘ข้าวก่ำหอมนิล’ จากนั้นทำการคัดเลือกต้น F2 โดยเน้นจากความหลากหลายของเฉดสีบนแผ่นใบ รูปร่างใบ ขนาดใบ ซึ่งพบการกระจายตัวของสีใบตั้งแต่เขียวสลับขาว ชมพู ม่วง คัดเลือกลักษณะทรงต้นที่ดี สีใบและรูปร่างใบ มีความสม่ำเสมอ เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่เป็นตัวแทนแต่ละเฉดสีใบจากรุ่น F2 ที่ดีที่สุด จนในปี 2558-2559 ได้ข้าวสรรพสีที่มีสีของใบแตกต่างกัน ความสูงต่างกัน ทรงกอตั้ง ไม่ไวแสง อายุยาว จำนวน 5 สายพันธุ์

ประกอบด้วย
1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01),
2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02),
3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03),
4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

       รงควัตถุที่พบในข้าวสรรพสี คือ anthocyanin ที่สะสมอยู่จนทำให้ใบและทุกส่วนของก้านดอกข้าว มีสีสวยงามตั้งแต่ม่วงไปจนถึงชมพู anthocyanin ที่พบในข้าวสรรพสี มีส่วนผสมกันของ cyaniding-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peonidin-3-glucoside (สีส้ม-แดง), peargomidin-3-glucoside (สีส้ม) และ delphinidin-3-glucoside (สีน้ำเงิน-แดง)
สาร anthocyanin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในข้าว เพราะมีปริมาณมากที่สุดและสามารถละลายน้ำได้ ถูกดูดซึมได้ง่าย การบริโภคข้าวกล้องที่มีสี รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีสี จึงช่วยลดสภาวะ Oxidative stress ภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น anthocyanin ยังเป็นสารกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในเส้นเลือดแดง โดยเฉพาะเส้นเลือดฝอย ต่อต้านการสะสมไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

เครือข่ายพันธมิตร

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การปรับปรุงพันธุ์ข้าว appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/agro16-chelate-fertilizer/ Fri, 05 Mar 2021 04:12:02 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9871 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ความสำคัญของงานวิจัย การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้ • […]

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)

ความสำคัญของงานวิจัย

        การปลูกพืชนั้น หากดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ก็จะทำให้พืชแคระแกร็นและให้ผลผลิตต่ำ นอกจากการเติมปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N P K แล้ว การเติมธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ให้แก่พืชก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน

        พืชที่ขาดธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะแสดงความผิดปกติออกทางส่วนต่างๆ และส่งผลสำคัญต่อผลผลิตของพืชด้วย โดยทั่วไปการเติมธาตุอาหารเสริมทางดินนั้น ไม่ค่อยได้ผลดีเนื่องจากธาตุอาหารตกตะกอนในดินได้ง่าย พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ นาโนเทค สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาสารคีเลตของธาตุอาหารพืช ซึ่งสารคีเลตนี้เป็นสารอินทรีย์เพื่อใช้ฉีดพ่นให้กับพืชทางใบ เป็นวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาการตกตะกอน และการสูญเสียธาตุอาหารเสริมทางดิน โดยเมื่อฉีดพ่นสารคีเลตซึ่งมีคุณสมบัติช่วยพาธาตุอาหารเข้าสู่พืชได้ง่ายขึ้นแล้ว พืชจะสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

สารละลายธาตุอาหารสำหรับใช้ในการปลูกพืชแบบไร้ดินหรือใช้ฉีดทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือบำรุงรักษาต้นไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งสารละลายนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีความเสถียรในการเก็บ เนื่องจากไม่สลายตัวง่ายเมื่อถูกแสงหรือความร้อน และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนให้กับพืช ทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ เช่น EDTA สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดินนี้ ประกอบด้วยสารอาหารจุลธาตุอาหารพืชเหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบหรือใช้ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหารหลักทางราก โดยสารละลายจุลธาตุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดีของนวัตกรรมปุ๋ยคีเลตนี้

• เพิ่มจุดเด่นและความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์
• เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืช
• เพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบ
• เพิ่มกรดอะมิโนให้แก่พืช
• เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• ลดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยเคมีที่เกินความจำเป็น
• ลดปัญหาการตกตะกอนของสารละลายคีเลต
• ลดความเป็นอันตรายจากการใช้สารสังเคราะห์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คำขออนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1503000472
เรื่อง สูตรองค์ประกอบของธาตุอาหารสำหรับพืชไร้ดิน
ยืนคำขอ วันที่ 1 เมษายน 25581

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

The post นวัตกรรมปุ๋ยคีเลต สำหรับพืชไร้ดินและพืชทั่วไป (ฉีดพ่นทางใบ) appeared first on NAC2021.

]]>
วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro09-vippro/ Thu, 04 Mar 2021 10:27:13 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9154 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน      โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด […]

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

     วิปโปร (VipPro) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากโปรตีน Vip3A (Vegetative insecticidal protein) ซึ่งเป็นโปรตีนฆ่าแมลงที่พบได้ในบีที (Bacillus thuringiensis) บางสายพันธุ์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกนอกเซลล์ในระยะที่เซลล์กำลังเจริญก่อนเข้าสู่การสร้างสปอร์ บีทีต่างสายพันธุ์สามารถสร้างโปรตีน Vip3A ได้แตกต่างกันและออกฤทธิ์ต่อแมลงได้ต่างกัน โปรตีนกลุ่มนี้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าหนอนแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อและหนอนผีเสื้อกลางคืน (Lepidoptera) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูหลักของพืชเกือบทุกชนิด โดยมีค่า LD50 ใกล้เคียงกับ Cry toxin ซึ่งเป็นโปรตีนผลึกสร้างโดยบีทีและมีใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน

     โปรตีน Vip3A สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อ Cry toxin ได้อย่างดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์และการจดจำตัวรับ (receptor) ที่แตกต่างกัน จากการค้นหา Vip3A ตัวใหม่จากบีทีสายพันธุ์ที่คัดแยกได้ในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 500 ตัวอย่าง เราได้โปรตีนที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและก่อความเสียหายอย่างมากกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดของประเทศไทย

จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)

         จุดเด่นของชีวภัณฑ์ VipPro คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว (ทำให้แมลงหยุดกินอาหารภายในหนึ่งชั่วโมง) ลดความสูญเสียและร่องรอยตำหนิบนใบพืช ออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี (NPV) ราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) และโปรตีนผลึกจากบีที (Cry toxins) ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ชีวภัณฑ์เหล่านั้นอย่างน้อยสิบเท่าเมื่อใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ VipPro และสามารถใช้ได้กับแมลงที่ดื้อต่อสารเคมีหรือดื้อต่อโปรตีนผลึก ผลการทดสอบภาคสนามกับพืชหลายชนิด เช่น ข้าว คะน้า หอมแดง หน่อไม้ฝรั่ง พบว่าผลิตภัณฑ์ VipPro สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชใด้ดีมากในทุกแปลงทดสอบ ได้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใช้สารเคมี

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

“วิปโปร” ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช​

  • VipPro ออกฤทธิ์ต่อแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อและผีเสื้อกลางคืนได้หลายชนิด ซึ่งแมลงเหล่านี้เป็นแมลงศัตรูพืชที่ก่อความเสียหายอย่างมากต่อพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์ต่อหนอนแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลง และแมลงที่ดื้อต่อโปรตีนผลึกของบีที
  • VipPro สามารถออกฤทธิ์เสริม (synergism) กับชีวภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอนพีวี ราบิวเวอเรีย โปรตีนผลึกจากบีที ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้ในโปรแกรมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management: IPM)

การประยุกต์ใช้งาน

     ใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชผักผลไม้ เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอนผีเสื้อทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนที่เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนใยผัก หนอนคืบ เป็นต้น

ทดสอบกับหน่อไม้ฝรั่ง

หนอนที่ตายจากการกิน VipPro

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร เช่น ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่เน้นการผลิตแบบปลอดภัย (GAP) และเกษตรอินทรีย์

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการด้านการเกษตร ที่ต้องการผลิตและจำหน่ายชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย ไร้สารพิษ
  • นักลงทุนที่สนใจ

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

     มีต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการและระดับก่อนโรงงานต้นแบบ (Pre-pilot scale) รอผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาเป็นระดับโรงงานต้นแบบและการผลิตเชิงพาณิชย์

ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชเพื่อเกษตรปลอดภัย

ติดต่อสอบถาม

ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post วิปโปร (VipPro) ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช appeared first on NAC2021.

]]>
AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/agro14-agritec-station/ Thu, 04 Mar 2021 09:42:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9117 ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)          สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น         บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น         หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ […]

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย

นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

         สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร หรือ สท. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

        บทบาทของสำคัญ สท. คือการเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

        หนึ่งในกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ การพัฒนาจุดเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 56แห่ง ใน 31 จังหวัดทั่วประเทศ (48 อำเภอ) ประกอบด้วย 1) ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ 2)ภาคกลาง ได้แก่ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพ นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี 3) ภาคอีสาน ได้แก่ เพชรบูรณ์  ร้อยเอ็ด  เลย  กาฬสินธุ์ สุรินทร์  อุบลราชธานี  นครพนม ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา อุดรธานี 4) ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ปราจีนบุรี ตราด จันทบุรี ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา 5) ภาคใต้ ได้แก่ พัทลุง โดยแบ่ง 3 ระดับคือ ระดับชุมชน 48 แห่ง ระดับภูมิภาค 7 แห่ง และสถานีเรียนรู้กลาง 1 แห่ง หรือที่เรียกว่า AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ซึ่งเป็นแปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ

        AGRITEC Station คือ แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมได้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง facebook สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

AGRITEC Station Journey

แนะนำ AGRITEC Station แปลงสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร
โดย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ติดต่อสอบถาม

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

The post AGRITEC Station ปลูกความรู้สู่ประชาชน appeared first on NAC2021.

]]>
นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/04/food14-food-machine/ Thu, 04 Mar 2021 08:17:26 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9036 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อัมพร โพธิ์ใยศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)         ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต          โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน […]

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อัมพร โพธิ์ใย
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

        ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม(DECC)ได้ดำเนินโครงการด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการพัฒนาเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร (Food Machine) มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การวิเคราะห์ การกระจายตัวของอณุหภูมิ และ Ventilation ภายในตู้ อบลมร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาในการทำอุณหภูมิและลดปริมาณการใช้พลังงาน

การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น

เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น

การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า

เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

         โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น, การพัฒนาตู้อบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน เพื่อให้ได้ความยาวตามขนาดที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น การพัฒนาเครื่องรีดสำหรับแปรรูปถั่วแระญี่ปุ่น เพื่อทดแทนแรงงานคน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถผลิตได้ทันเวลาในปริมาณที่ต้องการ และทำให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น   การพัฒนาเครื่องหั่นมะม่วงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบสำหรับหั่นชิ้นปลาอินทรีย์

เพื่อให้ได้ขนาดและน้ำหนักของชิ้นปลาตามมาตรฐาน เพื่อลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา เพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

การพัฒนาเครื่องตัดแต่งข้าวโพดอ่อน

เพื่อให้ได้ขนาดของชิ้นมะม่วงที่ต้องการ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลา และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น

          จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของ DECC ในการออกแบบ วิเคราะห์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอาหารให้กับผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง DECC จึงเล็งเห็นความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการไมโคร SMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยการนำ วทน. เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร สุขอนามัยและความสะอาดของร้านและผู้ปรุงอาหาร รวมถึงคุณภาพของการให้บริการ ให้สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ของรัฐบาล DECC จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการยกระดับ Thai Street Food โดยเริ่มจากการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์ในการประกอบอาหารสำหรับผู้ค้าขายอาหารริมทาง ได้แก่ เตาปิ้งย่าง และ รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

รถเข็นนวัตกรรมรักษ์โลก

        เพื่อยกระดับสตรีทฟู้ดไทยให้ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ถูกสุขลักษณะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ติดต่อสอบถาม

คุณปวริศา นาคจู
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post นวัตกรรมเครื่องจักรอาหาร (Food machine) appeared first on NAC2021.

]]>
เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss29-drive-thailand-industries-by-circular-economy/ Wed, 03 Mar 2021 07:24:17 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3194 เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนDrive Thailand’s industries by circular economy            ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ 1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า            สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ […]

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>

เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
Drive Thailand’s industries by circular economy

           ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นคุณค่าและทำให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เป็นแนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนพ.ศ. 2564-2569 ที่มุ่งเน้น 2 ตัวชี้วัดสำคัญ คือ

1) การลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3 จากปัจจุบัน
2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

           สำหรับกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ในการดำเนินการจัดปัญหาตั้งแต่ต้นทาง คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจว่าขยะ/ของเสียคือ ทรัพยากรที่ยังสามารถหมุนเวียนใช้ประโยชน์ได้ หากมีการแยก จัดเก็บ หมุนเวียน และใช้ประโยชน์ จะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกตกค้าง ขยะพลาสติกทะเล ขยะอินทรีย์ (ขยะเกษตรและอาหาร) เศษวัสดุก่อสร้าง ขยะทั่วไป และของเสียอื่นๆ ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม

           ขณะที่ผู้ผลิตร่วมกับนักวิชาการทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทฺธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยนำขยะหรือของเสียกลับมาใช้ใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียนขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

ดำเนินรายการโดย : ดร.สมชาย ฉินสกลธนากร
ฝ่ายบริหารโครงการความร่วมมือวิจัยขนาดใหญ่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

13.30 – 13.40 น.

กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม 
โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย/อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

13.40 – 14.10 น.

ทิศทางการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกลไก PPP
วิทยากร ดร.วิจารย์ สิมาฉายา
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG  Model 
สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน

14.10 – 14.40 น.

เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้าง
วิทยากร ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2562 
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.40 – 15.10 น.

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเพื่อความยั่งยืน
วิทยากร ดร.วิกรม วัชระคุปต์  
ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15.10 – 15.40 น.

ธุรกิจยุคใหม่กับการลดขยะอาหารบนฐานเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน 
วิทยากร นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์
ประธานกรรมการฝ่ายกิจการ บรรษัท โลตัส ประเทศไทย

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เปิดแนวคิด เทรนด์อุตสาหกรรม ด้วยหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Drive Thailand’s industries by Circular Economy) appeared first on NAC2021.

]]>
Newton UK-Thailand Joint Research on BCG http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss60-newton-uk-thailand-joint-research-on-bcg/ Wed, 03 Mar 2021 02:58:05 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=5429 Newton UK-Thailand Joint Research on BCG Newton UK-Thailand Joint Research on BCG         The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, […]

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

Newton UK-Thailand Joint Research on BCG

        The UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund is the first formal research and innovation partnership programme between the UK and Thai Governments. To date, there has been total of 19 Newton programmes which are divided into three categories: people, research and translation. The UK and Thailand will jointly invest £46 million (THB 1,840 million) from 2014 until 2021.

        Over seven years of implementation, the UK-Thailand Research and Innovation Partnership Fund has contributed to improving Thailand’s research and innovation system, and consequently has made a material difference to the quality of people’s lives through funding providing fund to Ph.D. students, researchers and government officials.

        Because problems from resource scarcity (such as food, water and energy), environmental degradation, increasing vulnerability to the effects of climate change and risks from disease and natural hazards have still disproportionately impacted on Thailand, three joint research programmes on health and agritech which have co-funded by NSTDA are highlighted.

  • UK-Thailand Health Research to tackle the important infectious diseases focusing on vaccine development, drug resistance, detection, diagnostic kits, and outbreak prediction system.
  • Rice Research to build on the combined strengths of academic research groups within China, the Philippines, Thailand, Vietnam and the UK to work together on collaborative interdisciplinary research that underpin the long-term sustainable production of rice.
  • Swine and Poultry Research underpin the development of novel strategies to diagnose, prevent, manage or treat microbiological diseases of swine and poultry, to promote safe, healthy, resilient and sustainable food production systems in China and/or South East Asia and reduce the potential incidence of zoonotic disease.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

25 March 2021

13.30 – 13.35

Introduction to session
By Pijarana Samukkan
Research and Innovation Programme Manager, British Embassy

13.35 – 14.45

Opening Remarks &
Keynote on
UK Research and Innovation Collaboration in Thailand and beyond : Strategy, Activities and Achievements
By Ms. Nicola Willey
Regional Director South East Asia Science and Innovation,
British High Commission, Singapore

14.45-15.00

UK’s International Research Partnership: strategy and priorities by

  • Medical Research Council, UKRI
  • Biotechnology and Biological Sciences Research Council, UKRI

15.00-15.40

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-Thailand Joint Health Call focusing on infectious diseases

  • Analysis of flavivirus infection on the cellular lipidome – implications for virus particle production and replication.
  • Dissecting global protective immune response to dengue virus at a single-cell resolution
  • Deep Mutational Scanning of Dengue Viruses for Vaccine Development
  • Using whole genome sequencing to characterise drug resistant Mycobacterium tuberculosis in Thailand

15.40-16.30

Presentation from grant-holders (10 min each)
UK-China-Philippines-Thailand Swine and Poultry Research Initiative

  • China/UK/Thailand Program on Poultry Biosafety for Salmonella, E. coli and Campylobacter (CUT-SEC)
  • Development of live attenuated vaccine candidates for Newcastle Disease Virus
  • Rapid diagnostics and control strategies for enteric bacterial pathogens in backyard and commercial poultry production in Thailand and the Philippines
  • Broadly protective vaccines for porcine reproductive and respiratory syndrome and swine influenza virus infections
  • The development of a phage food additive with the aim to control Salmonella in swine and poultry

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Newton UK-Thailand Joint Research on BCG appeared first on NAC2021.

]]>
นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss12-future-nanorobotics/ Tue, 02 Mar 2021 15:35:24 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=3677 The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment          เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต […]

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>

The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment

นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง

The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment

         เนื่องด้วย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการสร้าง สนับสนุน และส่งเสริม ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยี ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ให้กับสังคม ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในประเทศให้มีความพร้อมในการรับข่าวสารข้อมูลนาโนเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG economy ด้านการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) ให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนโรบอทต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้สูงที่สุด การกำหนดแผนที่นำทางและวัตถุประสงค์ในแต่ละช่วงงานวิจัยผ่านกลไกความร่วมมือทั้งระดับภายในประเทศและต่างประเทศจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

         ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายทีมวิจัยด้านนาโนโรบอทเพื่อต่อสู้กับมะเร็งในอนาคต โดยเครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย นักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีขั้นสูง บุคลากรทางการแพทย์ และผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อออกแบบกลไกการทำงานเชิงเทคนิคของหุ่นยนต์ระดับนาโน ทั้งนี้ ประโยชน์ของการทำงานด้านนาโนโรบอท คือ การสร้างความตระหนักทั้งในด้านเทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างกำลังคน และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนาโนโรบอทผ่านเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 

         งานสัมมนา เรื่อง “The Future of Nanorobotics : A Revolution Era of Medical Treatment” ดังกล่าวได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุตินานาชาติ ได้แก่ Prof. Sylvain Martel จาก Polytechnique Montreal ประเทศแคนาดา และ Prof. Kazunori Kataoka จากสถาบัน Innovation Center of NanoMedicine (iCONM) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิทยากรด้านนาโนโรโบติกส์ระดับแนวหน้าของโลก

หัวข้อหารือ ประกอบด้วย
1) ความสำคัญและประโยชน์ของ Nanorobotics
2) อัพเดตข้อมูล/ทิศทาง Nanorobotic ใน 10 ปีข้างหน้า
3) แนวโน้มประโยชน์จากมุมมองแพทย์
4) เหตุผลที่ควรลงทุนและ Positioning สู่การเป็น Game Changer

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

09.00 – 12.00 น.

งานเสวนา “นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง”

(The Future of Nanorobotics: A Revolution Era of Medical Treatment)

ดำเนินรายการโดย คุณสุทธิชัย หยุ่น

ผู้ร่วมเสวนา

  1. Prof. Sylvain Martel,
    Director, NanoRobotics Laboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา
  2. Prof. Kazunori Kataoka,
    Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น
  3. ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  1. ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร
    ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)
  1. คุณเฉลิมพล ปุณโณทก
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด
  1. ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
    ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในระหว่างการเสวนา จะมีการเปิดวิดีโอจากวิทยากรต่างประเทศ 2 วิดีโอ ซึ่งวิทยากรต่างประเทศผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่านให้เกียรติบันทึกเทปไว้เพื่อร่วมเสวนา

1. วิดีโอ Medical Nanorobotics: More Real Than Fiction ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Sylvain Martel, Director, NanoRoboticsLaboratory – Polytechnique Montréal ประเทศแคนาดา

2. วิดีโอ Initiatives of Nanorobotics at iCONM toward “In-Body Hospitals” ระยะเวลาประมาณ 20 นาที บรรยายโดย Prof. Kazunori Kataoka, Director General, Innovation Center of NanoMedicine (iCONM), Kawasaki Institute of Industry Promotion ประเทศญี่ปุ่น

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post นาโนโรโบติก พิชิตมะเร็ง appeared first on NAC2021.

]]>
จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss28-genomic-medicine/ Tue, 02 Mar 2021 14:29:16 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4735 บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model         การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน   […]

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>

บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model

Genomics Thailand: Genomic Medicine Service drive the BCG Economy Model

        การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) เป็นนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมเฉพาะบุคคลร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ มาใช้ในการวินิจฉัย รักษา และทำนายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการแพทย์อย่างก้าวกระโดดในการสร้างสุขภาพที่ดีของประชากรตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนกระทั่งเสียชีวิต ตลอดจนการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศ ปัจจุบันการแพทย์จีโนมิกส์มีบทบาทสำคัญกับระบบสาธารณสุข และเริ่มมีการให้บริการในหลายประเทศภายใต้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯและสิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) ปี พ.ศ. 2563–2567 ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ รวมถึงเกิดโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้นำศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน

        งามสัมมนานี้จะเป็นการนำเสนอสถานภาพการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ความก้าวหน้าในการวิจัย พัฒนาและให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

เอกสารประกอบการสัมมนา

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post จีโนมิกส์ประเทศไทย: บริการการแพทย์จีโนมิกส์สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model appeared first on NAC2021.

]]>
Taiwan Data Cube workshop http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss21-taiwan-data-cube-workshop/ Tue, 02 Mar 2021 10:14:47 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4313 Taiwan Data Cube workshop Taiwan Data Cube workshop         The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable […]

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>

Taiwan Data Cube workshop

Taiwan Data Cube workshop

        The growing Earth Observation satellite data requires an open and freely accessible exploitation tool to facilitate the development and sustainability of applications on land use and land cover change, water resources and forest monitoring, etc. The Open Data Cube (ODC) is especially suitable for geospatial data management & analysis for modern Thai Agriculture, one of the focused topics under the BCG model.

        Open Data Cube (ODC) was initiated by the Committee on Earth Observation Satellites (CEOS) to provide a solution with new computing technologies, to promote free and open EO satellite data and application algorithms, and to lower the technical barriers for users to exploit the data. Currently, based on ODC infrastructure Taiwan Data Cube (TWDC) is under developing and operating for distributing Analysis Ready Data (ARD) and delivering corresponding application for geospatial data users in Taiwan. In this workshop, not only the system framework and data preparation of ODC will be provided, the practical applications of TWDC will also be introduced. Following topics will be discussed in this workshop: (1) Overview and framework of TWDC, (2) Preparation and usage of ARD in TWDC. (3) Introduction to the applications of TWDC. Through this workshop, the valuable experience and practice of TWDC will be shared and exchanged with international participants to establish localized ODC for foreign countries and third-party international organizations. Under the collaboration with CEOS, hope that the staged achievement of TWDC can be an example in international cooperation projects of ODC.

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

Agenda

26 March 2021

09:00 – 09:20

NSPO Introduction
By Mr. Eddy Yang, Principal Engineer, NSPO

9:20 – 10: 10

Overview and Framework of Taiwan Data Cube (TWDC)
By Ms. Charlotte Hsu, Engineer, NSPO

10:10 -11:10

ARD Preparation and Usage in Taiwan Data Cube
By Dr. Chang Li-Yu, Researcher, NSPO

11:10 – 12:00

TWDC Demo
By Mr. Wei Hsuan-Cheng, Engineering, NSPO

12.00 – 13.00

Break – Lunch time

13:30 – 13:50

Data Cube Applications
By Ms. Cynthia Liu, Division Director, NSPO

13:50 – 15:20

TWDC application in Thailand
By Dr. Noppadon Khiripet, NECTEC

15:20 – 16:00

Q&A

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post Taiwan Data Cube workshop appeared first on NAC2021.

]]>