Biorefinery – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Fri, 26 Mar 2021 07:11:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png Biorefinery – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/na18-eeci-biorefinery-pilot-plant/ Fri, 12 Mar 2021 15:52:19 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13454 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  […]

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant)

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้านอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery)
ของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

       อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่เป็นการแปรรูปชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based product) ประเภทต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ สารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษสำหรับนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางและยา

        ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีเพื่อเป็นกลไกการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบในกลุ่มแป้ง น้ำตาล น้ำมัน และวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรที่เป็นลิกโนเซลลูโลสที่มีเป็นจำนวนมาก แต่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการทดลองการผลิตระดับขยายขนาด เนื่องจาก

  1. การลงทุนในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพจำเป็นต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยี และเชิงเศรษฐศาสตร์ (Techno-economic feasibility) ซึ่งข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการไม่เพียงพอที่จะได้ผลการประเมินที่แม่นยำ
  2. เทคโนโลยีด้านวิศวกระบวนการไม่สามารถพัฒนาและคัดเลือกกระบวนการที่เหมาะสมได้ในระดับห้องปฏิบัติการ เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่แตกต่างกัน
  3. กระบวนการพัฒนาจนได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ต้องมีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ดังนั้น การขาดหน่วยผลิตระดับขยายขนาดในขั้นตอนกระบวนการผลิตต้นทาง จะทำให้ไม่สามารถผลิตสารในปริมาณที่มากพอ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในขั้นต่อไป จึงทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและสูงได้

        อย่างไรก็ตาม การลงทุนโรงงานต้นแบบหนึ่งแห่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้น โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการการขยายขนาดกระบวนการผลิตด้านไบโอรีไฟเนอรีได้หลากหลายชนิดของวัตถุดิบ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ โดยรองรับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ ได้แก่ กระบวนการแยกองค์ประกอบชีวมวล (Biomass fractionation) กระบวนการแปรรูปด้วยชีวกระบวนการ  (Bioprocess) จนไปถึงกระบวนการแยกเพื่อเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ (Downstream process) โรงงานต้นแบบมีทั้งระบบที่ออกแบบมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร หรือเวชสำอาง ได้แก่ สารที่ให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) อาหารเสริมสุขภาพ (Nutraceutical and functional food) และระบบที่เป็น Non-GMP เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่นๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemical) และสารชีวภาพที่ให้คุณสมบัติพิเศษ (Biospecialty) โดยโรงงานแห่งนี้จะมีถังหมัก (Fermentor) มาตรฐาน GMP ที่มีขนาด 15,000 ลิตร เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดสอบตลาดได้

        โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefienry Pilot Plan) ของเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การปิดช่องว่างของนวัตกรรม (valley of death) ที่เป็นการนำเทคโนโลยีแบบพลิกโฉมฉับพลัน (disruptive technology) มาผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ให้ก้าวข้ามจากการรับจ้างผลิตแบบเดิมไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร อันเป็นฐานสำคัญของการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากการติดกับดักรายได้ปานกลางไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

        มาร่วมเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมด้วยกันกับ EECi

วีดีโอเมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS)

เมืองนวัตกรรมชีวภาพของ EECi (EECi BIOPOLIS) เป็นแพลทฟอร์ม (innovation platform) ที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-based Industry) ตามแนวคิด BCG ของรัฐบาล เพื่อให้ประเทศเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้ผลงานวิจัยได้รับการต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างก้าวกระโดด

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery Pilot Plant) appeared first on NAC2021.

]]>
เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/03/ss23-bcg-energy-materials-chemicals-challenges-solutions/ Wed, 03 Mar 2021 03:23:01 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=8223 BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions         BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ […]

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก

BCG Energy, Materials & Chemicals: Challenges and Solutions

        BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

        กลุ่มสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ:  มูลค่า GDP ของสาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มีมูลค่ารวมกันประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579

        ในส่วนของพลังงาน มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรองรับของเสียที่หลากหลายทั้งชนิดและคุณสมบัติ เช่น ขยะจากอุตสาหกรรม ครัวเรือน รวมถึงของเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเสียเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของแหล่งพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ได้แก่ การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ก๊าซชีวภาพ ที่นำไปสู่การสร้าง Site Reference ของโรงไฟฟ้าชุมชน (Community-based Biomass Power Plant) ที่มีแหล่งพลังงานทดแทนในพื้นที่ (Distributed Energy Resources, DERs) เช่น พลังงานจาก แสงอาทิตย์ ชีวมวล (รวมขยะ) และก๊าซชีวภาพ ที่เพียงพอ โรงไฟฟ้าชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟฟ้าผ่านการเชื่อมต่อระบบด้วย Smart Microgrid และใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เนื่องจากมีความสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน

        ในส่วนของวัสดุและเคมีชีวภาพมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรและของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพที่มีมูลค่าสูง อาทิ พลาสติกชีวภาพ  ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ ด้วยแนวทางทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่า GDP มากกว่า 2.6 แสนล้านบาท

     ประเทศไทยพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวคิดนี้มากน้อยแค่ไหน, เรามีความเข้าใจเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพมากพอหรือยัง และอีกหลากหลายแง่มุมควรรู้

  • ภาพรวมและแนวทางการขับเคลื่อน BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
  • กลไกของ Carbon Pricing & Carbon Credits เป็นอย่างไร
  • แนวโน้มอุตสาหกรรม Biorefinery จะไปในทิศทางใด ประเทศไทยมีแต้มต่อหรือไม่ และผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างไร
  • แนวโน้มของโลกด้าน Clean Energy และโอกาสของประเทศไทย
  • บทบาทของชุมชน ใน Smart Grid และอนาคตของ Energy Trading
  • แนวทางการผลักดันและทางออกปัญหาของ Community Energy 

     เชิญหาคำตอบร่วมกันกับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

วิดีโอบันทึกการสัมมนา

กำหนดการ

 

วันที่ 25 มีนาคม 2564

 

13.00-14.30 น.

การเสวนาช่วงที่ 1

  • ภาพรวมของ BCG สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช
ประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยบริหารและจัดการด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ – บพข. และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

  • Carbon Pricing และ Carbon Credits

โดย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ
ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน

  • Biorefinery

โดย คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ประธานกรรมการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน), อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

14.30-15.45น.

การเสวนาช่วงที่ 2

  • C-Energy (Clean & Circular)

โดย คุณอรรถ เหมวิจิตรพันธ์
ที่ปรึกษาคณะทำงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรองประธานกรรมการ ดูแลงานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด

  • Community Energy

โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน

  • Smart Grid & Energy Trading Platform

โดย คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และอดีตรองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดำเนินรายการโดย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สวทช.

15.45-16.00 น.

สรุปปิดการเสวนา กลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

โดย คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานกลุ่มพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post เศรษฐกิจ BCG สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ : ความท้าทายและทางออก appeared first on NAC2021.

]]>