covid-19 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 16th NSTDA Annual Conference Thu, 25 Mar 2021 17:28:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.1.1 ../../wp-content/uploads/2021/02/cropped-nac-web-logo-01-32x32.png covid-19 – NAC2021 http://10.228.26.24:31824/nac/2021 32 32 การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/15/vaccine01-vaccine-covid-19/ Mon, 15 Mar 2021 05:08:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=14262 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)           โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้          1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ […]

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายในคนเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ จึงอาศัยความเชี่ยวชาญจากการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาก่อโรคพีอีดีในสุกร และเทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

         1) วัคซีนประเภท Virus-like particle (VLP) ได้สร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และปรับตำแหน่งบริเวณปลายด้าน C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เพื่อความเข้ากันได้กับโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นจากพลาสมิดอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อนำส่งพลาสมิดทั้งสองเพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน (รูปภาพ) พบว่าอนุภาคไวรัสเสมือน (VLP) ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์สามารถถูกปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้และมีปริมาณใกล้เคียงกับไวรัสในธรรมชาติ

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 โดย (ก) การสร้างพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีน และมีปลาย C-terminus เป็นส่วนของโปรตีน HA ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ (ข) การสร้างอนุภาคไวรัสเสมือนจากการนำส่งพลาสมิดดีเอ็นเอที่มีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 แบบเต็มยีนและพลาสมิดที่มีการแสดงออกของโปรตีน M1 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่เพื่อแสดงออกโปรตีนทั้งสองชนิดในเซลล์เดียวกัน

         เมื่อทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง โดยการฉีดหนูทดลองจำนวน 2 เข็ม ห่างกันเข็มละ 3 สัปดาห์ พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ชัดเจน โดยเฉพาะหนูในกลุ่มที่ฉีด VLP พร้อมกับ Adjuvant ชนิด Alum สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีได้สูงมาก โดยเมื่อนำซีรั่มของหนูไปทดสอบความสามารถยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส SARS-CoV-2 (Virus neutralization test) ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าซีรั่มของหนูที่ได้รับ VLP พร้อม Adjuvant สามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:640 ถึงมากกว่า 1:2,000 (เทียบกับค่ามาตรฐาน 1:200 ที่เชื่อว่าเพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างเซลล์ที่มีการแสดงออกของทั้งโปรตีนสไปค์ และ M1 ในเซลล์เดียวกัน โดยเซลล์ดังกล่าวสามารถเลี้ยง VLP ในรูปแบบขยายขนาดได้ และแยก VLP จากน้ำเลี้ยงเซลล์มาทำให้บริสุทธิ์ได้เลย ทั้งนี้การทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของ VLP ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 คาดว่าจะดำเนินการภายในเดือนเมษายน 2564

         2) วัคซีนประเภท Influenza-based ได้สร้างวัคซีนต้นแบบโดยอาศัยระบบการสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่เข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) โดยการแทนที่ยีน Receptor Binding Domain (RBD) ของโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 ในยีน Hemagglutinin (HA) ในจีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวในเซลล์ที่ออกแบบให้มีการสร้างโปรตีน HA เพื่อทดแทนยีนของไวรัสที่สูญเสียไป (complementing cell line) (รูปภาพ)

(ก)

(ข)

         รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบ influenza-based โดย (ก) การสร้างอนุภาคไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/PR/8/34 (PR8) ที่แสดงออกโปรตีนสไปค์ของไวรัส SARS-CoV-2 และสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ครั้งเดียว (Single-cycle influenza virus, scIAV) และ (ข) การเพิ่มปริมาณไวรัสดังกล่าวใน complementing cell line

         ผลการทดสอบความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองสายพันธุ์ BALB/c แบบฉีดทางจมูกเป็นจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 14 วัน พบว่าหนูสามารถสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์ได้ดี และมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด Cell-mediated immunity โดยวัดจาก T cell ในม้ามที่สามารถสร้าง IFN-gamma ได้หลังถูกกระตุ้นด้วยเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ 

         อย่างไรก็ตามการสร้างไวรัสในรูปแบบดังกล่าวอาจเสียสภาพการสร้างแอนติเจนได้เร็ว เนื่องจากธรรมชาติไวรัสไข้หวัดใหญ่มีความไม่เสถียรของจีโนมสูง เกิด mutation ได้ง่ายและรวดเร็ว จึงได้ปรับการสร้างไวรัสให้มีความเสถียรขึ้น โดยผลการทดสอบหลังจากไวรัสถูกเลี้ยงต่อไปอย่างน้อย 5 ครั้ง พบว่าไวรัสยังสามารถสร้างแอนติเจนได้ในปริมาณสูง ซึ่งแสดงถึงเสถียรภาพของไวรัสของการนำไปใช้ต่อยอดเป็นวัคซีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด Influenza-based เข็มแรกในรูปแบบปรับปรุงใหม่ในหนูแฮมสเตอร์ที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 โดยการทดสอบวัคซีนเข็มที่สองจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 9 ม.ค. 2564 และการ challenge เชื้อในวันที่ 15 ม.ค. 2564

รูปภาพแสดงการสร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย Adenovirus serotype 5 (Ad5) ที่ผ่านการปรับพันธุกรรมให้อ่อนเชื้อ

ผลการทดสอบวัคซีนไวรัส

         ผลการทดสอบวัคซีนไวรัสในหนูทดลองครั้งแรกด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อเข็มเดียวโดยใช้ขนาด dose ที่ต่างกันคือ 108, 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร พบว่าหนูทุกตัวปลอดภัย ไม่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน หลังจากนั้นทำการการุณยฆาตหนูทดลองที่ 3 สัปดาห์เพื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีในซีรั่มต่อโปรตีนสไปค์ด้วยวิธี ELISA พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไวรัสขนาด 109 และ 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร สามารถตรวจวัดแอนติบอดีได้ 

         แต่เมื่อนำซีรั่มดังกล่าวไปตรวจสอบหาแอนติบอดีชนิด neutralizing antibody ต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 พบว่าปริมาณแอนติบอดียังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสที่ระดับ 1:20 -1:80 แต่เมื่อนำตัวอย่างม้ามของหนูทดลองไปตรวจสอบปริมาณ T cell ที่ตอบสนองต่อเปปไทด์ของโปรตีนสไปค์ พบว่ามีการตอบสนองด้วยการสร้าง Interferon gamma ที่สูงมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีน 1 เข็มสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด cell-mediated immunity (CMI) ได้ภายใน 3 สัปดาห์ 

         ผลการดำเนินงานในปี 2564 ได้เริ่มดำเนินการทดสอบวัคซีนในหนูทดลองครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พ.ย 2563 โดยการฉีดวัคซีนไวรัสแบบเข็มเดียวเข้ากล้ามเนื้อและทางจมูกด้วยความเข้มข้น 1010 อนุภาค/มิลลิลิตร และทำการการุณยฆาตหนูทดลองหลังจากฉีดที่ 4 สัปดาห์ (วันที่ 30 พ.ย. 2563) โดยพบปริมาณ IgG ต่อโปรตีนสไปค์ของไวรัสสูงถึง 1:12,800 นอกจากนี้ได้ทำการทดสอบวัคซีนแบบให้ 2 เข็มในหนูอีกชุดหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือทางจมูก (วันที่ 2 พ.ย. 2563) และอีกสามสัปดาห์ต่อมาหนูจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 (วันที่ 23 พ.ย. 2563) หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ (วันที่ 16-17 ธ.ค. 2563)

         โดยเมื่อทำการตรวจสอบภูมิคุ้มกันชนิด neutralizing antibody, T cell activation และการสร้างแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนู พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนสามารถยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสที่ระดับ 1:64 ถึง 1:1,024 โดยพบว่าทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและพ่นเข้าจมูกสามารถกระตุ้น T cells ได้ และเมื่อตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีชนิด IgA ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 ในปอดของหนูพบว่า การฉีดวัคซีนทางกล้ามเนื้อไม่สามารถกระตุ้น IgA ในปอดได้ จะต้องพ่นจมูกเท่านั้น ดังนั้นการพ่นวัคซีนเข้าสู่จมูกจึงมีประสิทธิภาพดีที่สุด

         ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือกับ USAMD-AFRIMS ในการทดสอบประสิทธิภาพการคุ้มโรคของวัคซีนชนิด Ad5-S ในหนูทดลองชนิด Human-ACE2 transgenic mice โดยการ challenge ด้วยไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องปฏิบัติการ ABSL-3 

ติดต่อสอบถาม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ (AVIG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) appeared first on NAC2021.

]]>
COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/12/medical04-coxy-amp-2/ Fri, 12 Mar 2021 13:41:03 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=13393 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)      การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)        ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO […]

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)  

     การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องประสบพบเจอ แต่ในวิกฤตมีโอกาส โดยเฉพาะนักวิจัยของไทย สถานการณ์โรคโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยทั้งในส่วนของภาครัฐ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานเอกชนมีความตื่นตัวในการคิดค้น ผลิต “นวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์” มากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

       ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด จึงได้คิดค้นชุดตรวจโควิด-19 แบบเร็ว อ่านผลง่ายและแม่นยำในขั้นตอนเดียว หรือ COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) ชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 โดยนำเอาเทคนิคแลมป์ หรือ Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยา Xylenol Orange หรือ XO เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่า โดยสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยเทคนิคแลมป์ในหลอดทดสอบ โดยหากตัวอย่างส่งตรวจมีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ มีความไว ความจำเพาะและความแม่นยำสูง ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ราคาแพง เป็นการทำงานแบบขั้นตอนเดียว ที่ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาทดสอบเพียง 75 นาที

COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP)

ติดต่อสอบถาม

คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด (IBST)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post COVID-19 Colorimetric Detection Kit (COXY-AMP) appeared first on NAC2021.

]]>
หน้ากากอนามัย Safie Plus http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical03-safie-plus/ Fri, 05 Mar 2021 09:22:24 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=9153 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)          หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99% การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์ ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน       […]

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>

หน้ากากอนามัย Safie Plus

หน้ากากอนามัย Safie Plus

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ชื่อนักวิจัย ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ส่วนงาน ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

         หน้ากากอนามัย (Safie Plus) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 และเชื้อโรค และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ยังสามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพสูงมีความหนา 4 ชั้น
  • มีแผ่นชั้นกรองพิเศษ พัฒนาด้วยเทคโนโลยีวัสดุเชิงประกอบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบบนแผ่นนอนวูฟเวนของเส้นใยธรรมชาติผสมโพลิเอสเตอร์
  • มีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและจุลินทรีย์
  • มีประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสและฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 99%

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ASTM F2299 จาก TÜV SÜD สิงค์โปร์
  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองไวรัส ASTM F2101 จาก Nelson Lab สหรัฐอเมริกา
2

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

        ส่งมอบหน้ากากอนามัย Safie Plus ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข ที่ติดต่อขอรับการสนับสนุนหน้ากากอนามัย ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 5 (เพชรบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี) โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลหาดใหญ่, โรงพยาบาลบ้านแพ้ว, โรงพยาบาลแม่ระมาด, โรงพยาบาลอุ้มผาง, โรงพยาบาลแม่สอด, โรงพยาบาลพระปกเกล้า, โรงพยาบาลระยอง, สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 2 (พิษณุโลก, ตาก, สุโขทัย, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์), ศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งหมดเป็นจำนวนกว่า 200,000 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19

ติดต่อสอบถาม

ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post หน้ากากอนามัย Safie Plus appeared first on NAC2021.

]]>
ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical05-bodiiray-r/ Fri, 05 Mar 2021 08:20:46 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10096 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)     บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay R Specifications Detector Type Amorphous Silicon TFT Scintillator CsI Detector Size 43 […]

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

    บอดีเรย์ อาร์ คือชุดแปลงเอกซเรย์ให้เป็นดิจิทัล (Digital Radiography Retrofit) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อบอดีเรย์ อาร์ ซึ่งเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงระบบเอกซเรย์แบบเก่าให้เป็นระบบเอกซเรย์ดิจิทัล โดยจะอัปเกรดเฉพาะส่วนรับรังสีและสร้างภาพให้เป็นระบบดิจิทัล แต่ยังคงใช้ประโยชน์จากส่วนฉายรังสีเอกซ์จากเครื่องเดิม ประกอบไปด้วย ฉากรับรังสีดิจิทัลแบบไร้สาย เครื่องคอมพิวเตอร์ และจอแสดงผลภาพ ส่วนซอฟต์แวร์สามารถบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ บันทึกการตั้งค่าการฉายรังสี ประมวลผลภาพและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (BodiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • สำหรับอัพเกรดระบบเอกซเรย์รุ่นเก่าให้เป็นเอกซเรย์ดิจิทัล
  • ปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับการใช้งานของโรงพยาบาล
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานที่หลากหลายและสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • แสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay R Specifications

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Scintillator

CsI

Detector Size

43 cm x 36 cm (17″ x 14″)

43 cm x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Detector Output

Wireless or Wired

A/D Conversion

16 bits

Trigger Mode

AED

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การใช้งาน BodiiRay R

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานกับเครื่องเอกซเรย์ทั้งแบบแขวนเพดานและแบบเคลื่อนที่ได้ในการแปลงระบบเอกซเรย์เดิมในเป็นระบบดิจิทัล เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป ณ โรงพยาบาลแม่ระมาด จ.ตาก และโรงพยาบาลห้วยยอด จ.ตรัง และเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และโรงพยาบาลสนาม วัดช่องลม โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post ชุดแปลงเอกซเรย์เป็นดิจิทัล BodiiRay R (บอดีเรย์อาร์) appeared first on NAC2021.

]]>
เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/05/medical02-bodiiray-s/ Fri, 05 Mar 2021 08:14:39 +0000 https://www.nstda.or.th/nac/2021/?p=10045 วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย วิจัยและพัฒนาโดย ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)       บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้ จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) BodiiRay S Specifications Tube Voltage 40 – 125 kV Tube Current 10 – 400 mA Exposure […]

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส)

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

วิจัยและพัฒนาโดย

ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

      บอดีเรย์ เอส คือเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก (Digital Chest Radiography) ที่วิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ชื่อ บอดีเรย์ เอส เหมาะสำหรับเอกซเรย์อวัยวะภายในแบบสองมิติเพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นเน้นบริเวณปอดประกอบด้วย แหล่งกำเนิดเอกซเรย์ ฉากรับรังสีแบบดิจิทัล ซอฟต์แวร์บริหารจัดการและจัดเก็บภาพถ่ายเอกซเรย์ ซอฟต์แวร์สำหรับตั้งค่าและควบคุมการฉายเอกซเรย์ และซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงภาพเอกซเรย์แบบดิจิทัล (RadiiView Software) โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บสื่อสารข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ได้

จุดเด่นของงานวิจัย/เทคโนโลยี

  • ระบบจัดท่าผู้ป่วยแบบขึ้นลงพร้อมกันทั้งเอกซเรย์และฉากรับรังสี
  • สามารถแสดงผลภาพเอกซเรย์ได้ทันที
  • ซอฟต์แวร์ใช้งานง่าย และสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์แบบฟิล์ม
  • สามารถเชื่อมต่อกับระบบจัดเก็บและสื่อสำรข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS)

BodiiRay S Specifications

Tube Voltage

40 – 125 kV

Tube Current

10 – 400 mA

Exposure Time

1 ms – 10 s

mAs Range

0.1 – 630 mAs

Generator Power

32 kW

Focal Spot

0.6/1.5 mm

Detector Type

Amorphous Silicon TFT

Detector Size

43 x 43 cm (17″ x 17″)

Detector Pitch

0.139 mm

Source to Detector

180 cm

Power Requirement

220VAC, 50Hz, Single Phase

การทดสอบความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ความปลอดภัยทางรังสีจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
  • ความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC)
  • มาตรฐาน ISO 13485 จากบริษัท TÜV SÜD

การใช้งาน BodiiRay S

ปัจจุบันได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจสุขภาพ ณ ศูนย์ตรวจสุขภาพธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, และได้นำไปติดตั้งและใช้งานเพื่อตรวจคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 1 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี และใช้งานเพื่อตรวจและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ระลอกที่ 2 ณ โรงพยาบาลสนาม วัฒนาแฟคตอรี่ โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ โรงพยาบาลสนาม ตำบลท่าทราย โดยโรงพยาบาลสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

ติดต่อสอบถาม

ดร.อุดมชัย เตชะวิภู
ทีมวิจัยระบบสร้างภาพทางการแพทย์ (MIS)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ:

The post เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลสำหรับถ่ายทรวงอก BodiiRay S (บอดีเรย์ เอส) appeared first on NAC2021.

]]>
การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ http://10.228.26.24:31824/nac/2021/2021/03/02/ss37-covid19-vaccine/ Tue, 02 Mar 2021 14:52:28 +0000 http://10.228.25.4:10075/nac/2021/?p=4734 การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้ งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต กำหนดการ วันที่ 26 […]

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>

การพัฒนา

วัคซีนโควิด-19

การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่

COVID-19 vaccine development : Progress and Preparedness tools for emerging infectious diseases

        จากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนใช้จึงเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับการอนุญาตและมีการฉีดให้แก่ประชาชนแล้วในหลายประเทศ เนื่องจากวัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองและมนุษย์ และมีกำลังการผลิตอยู่ค่อนข้างจำกัด ทำให้หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยน่าจะมีโอกาสถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

        ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางวัคซีน บริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยทั่วโลกจึงมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยจากข้อมูลล่าสุด (11 ก.พ. 64) มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยในมนุษย์ (Clinical study) 98 ตัว และยังมีวัคซีนที่อยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลอง (Preclinical study) อีกอย่างน้อย 170 ตัว ซึ่งการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทยโดยเฉพาะ สวทช. ยังอยู่ในส่วนที่เป็น preclinical study เป็นหลัก โดยมีวัคซีนดีเอ็นเอของบริษัทไบโอเนท-เอเชียจำกัด และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะเข้าทดสอบในมนุษย์เร็วๆนี้

        งามสัมมนานี้จะทำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานภาพการเข้าถึงและได้รับวัคซีนของประชาชน และความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาวัคซีนจากกลุ่มวิจัยชั้นนำของประเทศไทย รวมทั้งความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมพัฒนาวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

กำหนดการ

วันที่ 26 มีนาคม 2564

13.00-13.20 น.

ล็อกอินเข้าระบบออนไลน์

13.20-13.30 น.

เปิดสัมมนาและกล่าวภาพรวมของสถานการณ์ของโรค COVID-19

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

13.30-14.00 น.

สถานภาพการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่สำคัญและ Technology trend สำหรับการพัฒนาวัคซีนต่อโรคอุบัติใหม่

โดย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

14.00-14.30 น.

สถานภาพการเข้าถึงวัคซีน และ การได้รับวัคซีนของคนไทย และแผน BCG ด้านวัคซีน 

โดย นพ.นคร เปรมศรี สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

14.30-16.30 น.

ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนของประเทศไทย

โดย
1) ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2) ภญ.ดร.วาสนา วิจักขณาลัญฉ์
บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด

3) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เกี่ยวกับวิทยากร:

The post การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 : ความก้าวหน้าและการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ appeared first on NAC2021.

]]>