มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ (μTherm-FaceSense)

การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นวิธีคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้อาการของโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก รวมถึงการติดเชื้อ COVID – 19 ที่ทำให้เกิดจุดคัดกรองอุณหภูมิมากมายในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถตรวจวัดครั้งละหลายคนพร้อมกันได้ รวมถึงไม่สามารถรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการตรวจคัดกรองได้มากนัก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ในทางกลับกันเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถทลายข้อจำกัดดังกล่าวก็มีราคาสูงด้วยเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” (µTherm-FaceSense) เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกล้องอินฟราเรดผนวกระบบตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) โดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัย มีระบบประมวลผลที่รวดเร็วแม่นยำภายใน 0.1 วินาที สามารถตรวจวัดอุณหภูมิได้ครั้งละหลายคนพร้อมกันในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร จึงช่วยลดระยะเวลารวมถึงลดความเสี่ยงจากความใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่และผู้รับการตรวจคัดกรอง พร้อมรองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารหลากหลาย

“มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา รูปทรงทันสมัย ในราคาที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตไทยเข้าถึงได้ หวังลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ สถานีขนส่งสาธารณะ สถานีรถไฟฟ้า MRT / BTS ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานสัมมนา มหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ตรวจจับใบหน้าและวัดค่าอุณหภูมิถูกต้อง แม่นยำ ภายใน 0.1 วินาที
  • ตรวจวัดอุณหภูมิครั้งละหลายบุคคลพร้อมกัน ในระยะห่างสูงสุด 1.5 เมตร
  • ตรวจจับใบหน้าบุคคลอัตโนมัติ (Face detection) แม้สวมหน้ากากอนามัย
  • กำหนดค่าอุณหภูมิเฝ้าระวัง และ ค่าชดเชยสภาพแวดล้อมได้
  • รองรับการเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย Wi-Fi รวมถึงสาย LAN
  • รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลผ่าน HDMI
  • เฝ้าระวังและลดความเสี่ยงการสูญเสียจากผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับภาวะอุณหภูมิของร่างกายที่ผิดปกติและการระบาดของโรคร้ายแรง
  • ใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงเพื่อออกประกาศการป้องกันและการดูแลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะหรือโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงทำนายอุบัติการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • สร้างโอกาสในการเกิดธุรกิจใหม่ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ให้บริการ
  • สร้างจุดเด่นให้กับสถานที่ที่ใช้งานระบบเพื่อการเอาใจใส่ดูแลและป้องกันโรคติดต่อที่คัดกรองจากอุณหภูมิได้
  • ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “อุปกรณ์และวิธีการควบคุมการวัดอุณหภูมิของวัตถุด้วยภาพรังสีความร้อน” เลขที่สิทธิบัตร 20066, 16 มิ.ย. 2549
  2. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “ระบบและวิธีการตรวจจับข้อมูลทางจิตสรีรวิทยาแบบไม่สัมผัสเพื่อใช้สำหรับการจับเท็จบุคคล” เลขที่คําขอ 0601002047, 8 พ.ค. 2549
  3. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “ระบบตรวจจับเท็จบุคคลแบบไม่สัมผัสและวิธีการตรวจจับตําแหน่งและวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตสรีรวิทยาแบบไม่สัมผัสสําหรับใช้ตรวจจับเท็จบุคคล” เลขที่คําขอ 0701000585, 9 ก.พ. 2550
  4. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “ระบบและวิธีการสําหรับคัดแยกบุคคลที่มีอุณหภูมิสูงแบบไม่สัมผัสที่มีการชดเชยผลกระทบจากสภาพแวดล้อมแบบอัตโนมัติ” เลขที่คำขอ 0701006410, 14 ธ.ค. 2550
  5. อยู่ระหว่างยื่นจด (Pending) สิทธิบัตรการออกแบบ “เครื่องคัดกรองอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัสระยะไกล”

1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ จำนวน 3 ฉบับ 

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “อุปกรณ์สอบเทียบอุณหภูมิ” เลขที่คำขอ 2001003118 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563 
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง”ระบบการตรวจวัดอุณภูมิหลายวัตถุแบบไม่สัมผัส” เลขที่คำขอ 2001003117 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563 
  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง”ระบบการตรวจวัดอุณภูมิหลายวัตถุพร้อมกันแบบไม่สัมผัสและกระบวนการประมวลผล” อยู่ระหว่างการยื่นจด

2) อนุสิทธิบัตร จำนวน 1 ฉบับ

  • อนุสิทธิบัตร เรื่อง “ระบบการตรวจวัดอุณภูมิหลายวัตถุแบบไม่สัมผัส” เลขที่คำขอ 2003001206 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563

3) สิทธิบัตรออกแบบ จำนวน 4 ฉบับ 

  • สิทธิบัตรออกแบบ เรื่อง “เครื่องมิวเทอร์ม-เฟสเซนต์” เลขที่คำขอ 2002001694 วันที่ยื่นคำขอ 20/04/2563 
  • สิทธิบัตรออกแบบ เรื่อง “กล้องถ่ายภาพหลายย่านความยาวคลื่นช่วงกว้าง” เลขที่คำขอ 2002001125 วันที่ยื่นคำขอ 13/03/2563 
  • สิทธิบัตรออกแบบ เรื่อง “เครื่องมิวเทอร์ม-เฟสเซนต์” เลขที่คำขอ 2002001124 วันที่ยื่นคำขอ 13/03/2563 
  • สิทธิบัตรออกแบ เรื่อง “เครื่องคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย” เลขที่คำขอ 1902001120 วันที่ยื่นคำขอ 22/03/2562

สถานภาพของผลงานวิจัย

  • License แล้ว

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิรายใหม่

นักวิจัย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT) กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
และทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ศศิน เชาวนกุล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :