30 มีนาคม 2566

3 หัวใจหลักของการส่งเสริมชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช เพื่อผลักดันการเกษตรยั่งยืนสู่ โมเดลเศรษฐกิจ BCG: ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ เกษตรกรผู้ปลูกพืช และตลาดเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์

3 Key Point of Biocontrol for Driving of Sustainable Agriculture towards BCG Model: Manufacturer Farmers and Safe/Organic Agriculture Market

วิทยากร
  • ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน
  • คุณเชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม
  • คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร 
  • ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล
  • คุณชวลิต นิตย์โฆษกุล
  • คุณวนิดา อังศุพันธุ์
  • คุณมิตรดนัย สถาวรมณี
  • คุณภีรดา ศรีสาหร่าย
  • คุณระเบียบ เพชรแอง

3 หัวใจหลักของการส่งเสริมชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช เพื่อผลักดันการเกษตรยั่งยืนสู่ โมเดลเศรษฐกิจ BCG:

ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ เกษตรกรผู้ปลูกพืช และตลาดเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์

ประเทศไทยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีศัตรูพืชหลายชนิดก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งส่งผลให้มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคและเกษตรกร อีกทั้งกระแสความต้องการสินค้าที่คำนึงถึงสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคทำให้แนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรพยายามลดการใช้สารเคมี การควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธีโดยใช้ชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ เช่น รา แบคทีเรียและไวรัส จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดหรือทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรโดยมุ่งเน้นระบบการผลิตพืชแบบเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ด้วย การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร โดยความรู้ความเข้าใจและโอกาสในการเข้าถึงชีวภัณฑ์ของเกษตร ความต้องการของภาคเอกชนสำหรับการผลิตชีวภัณฑ์ ตลอดจนภาพรวมและช่องทางการนำสินค้าเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ตลาดมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช นอกจากนี้การนำชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างยังคงประสบปัญญาและอุปสรรคสำหรับใช้งานจริง อาทิ ประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เมื่อนำไปใช้ในแปลงเกษตรกร การเข้าถึงชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทันทวงทีเมื่อพบ การระบาดของศัตรูพืช การผลิตชีวภัณฑ์ตามความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่มาของการเสวนาร่วมกันระหว่างผู้ผลิตชีวภัณฑ์ เกษตรกรผู้ปลูกพืชและตลาดเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการนำชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อผลักดันผลักดันและเพิ่มขีดความสามารถ ในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมของประเทศให้มีความปลอดภัยและยั่งยืนที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ต่อไป

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. เปิดการเสวนา

โดย ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน 

ผู้ทำงานและเลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานการสร้างความพร้อมและความสามารถในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพด้านพืชภายใต้แผนปฏิบัติการการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร

ดำเนินรายการโดย คุณเชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

09.15 – 11.15 น. การเสวนา เรื่อง “3 หัวใจหลักของการส่งเสริมชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช เพื่อผลักดันการเกษตรยั่งยืนสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG: ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ เกษตรกรผู้ปลูกพืช และตลาดเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์”

ผู้ร่วมอภิปราย หัวข้อ “ช่องทางการนำสินค้าเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์เข้า ตลาด modern trade”

คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร, ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด

หัวข้อ “ภาพรวม GAP ของประเทศไทย”

ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล, เลขานุการเครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP Net)

หัวข้อ “มุมมองของผู้ประกอบการชีวภัณฑ์และตลาดชีวภัณฑ์ใน ประเทศ”

คุณชวลิต นิตย์โฆษกุล, บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด

หัวข้อ “มุมมองของผู้ประกอบการชีวภัณฑ์และความต้องการชีวภัณฑ์”

คุณวนิดา อังศุพันธุ์, บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด

หัวข้อ “มุมมองของผู้ประกอบการชีวภัณฑ์และความต้องการชีวภัณฑ์”

คุณมิตรดนัย สถาวรมณี, บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด

หัวข้อ “โอกาสของการนำสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าตลาด modern trade”

คุณภีรดา ศรีสาหร่าย, เกษตรกรและเจ้าของฟาร์มฝันแม่

หัวข้อ “การเข้าถึงชีวภัณฑ์ที่เชื้อถือได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ทันท่วงที”        

คุณระเบียบ เพชรแอง, เกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก

ดำเนินรายการโดย ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน และ คุณเชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.

11.15 – 12.00 น. ถาม – ตอบ
เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน 
ผู้ทำงานและเลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนแผนงานการสร้างความพร้อมและความสามารถในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพด้านพืชภายใต้แผนปฏิบัติการการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร
คุณเชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.
คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร 
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด
 ดร. เมธินี ศรีวัฒนกุล
เครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย (GAP Net) หัวข้อ “ภาพรวม GAP ของประเทศไทย”
คุณชวลิต นิตย์โฆษกุล
บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด
คุณวนิดา อังศุพันธุ์
บริษัท ทีเอบี อินโนเวชั่น จำกัด
คุณมิตรดนัย สถาวรมณี
บริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด
คุณภีรดา ศรีสาหร่าย
เกษตรกรและเจ้าของฟาร์มฝันแม่
คุณระเบียบ เพชรแอง
เกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ