29 มีนาคม 2566

จากโคกอีโด่ยวัลเลย์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

From Khok E-doi Valley to Carbon Neutrality

วิทยากร
  • ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  • คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
  • รศ.ดร.แนบบุญ หุนเจริญ
  • ดร. กอบศักดิ์ ศรีประภา
  • พระปัญญาวชิรโมลี
  • ดร. นุวงศ์ ชลคุป

“วิถีธรรม วิถีชุมชน นำเทคโนโลยีพลังงาน สู่ความยั่งยืนและพลิกชะตาโลกร้อน”

จากวิกฤตสภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติที่โหมกระหน่ำหมู่มวลมนุษย์ชาติอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในสาเหตุดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในครัวเรือน,  โรงงานอุตสาหกรรม, การคมนาคมขนส่ง และการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน ล้วนปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ระบบบริหารจัดการพลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง  และการเตรียมความพร้อมไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต การนำส่ง และการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคให้สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อการใช้งานในครัวเรือนและสามารถขายเข้าสู่ระบบได้  และขับเคลื่อนนำร่องในการก้าวเข้าสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน

สอดคล้องตามแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กรอบแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model)  และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS) โดยมุ่งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ 2050  จากการร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) ครั้งที่ 27  และร่วมตระหนักถึงการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมตอบโจทย์เป้าหมายสมาคมโลกไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 – 2 องศาเซลเซียส ในปี ค.ศ 2100  โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน

เชิญทุกท่านร่วมหาคำตอบและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้รู้ที่มีประสบการณ์ในวงการพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในการทำงานจริงและในมุมของการบริหาร

กำหนดการสัมมนา

13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน
13.30 – 13.40 น. กล่าวเปิดสัมมนา

โดย  ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล, ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.

 

13.40 – 14.10 น. ความท้าทายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในระดับชุมชน

โดย  คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
อนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ

14.10 – 14.40 น. การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด

โดย  รศ.ดร. แนบบุญ หุนเจริญ, หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.40 – 14.55 น. พักระหว่างการสัมมนา
14.55 – 15.30 น. ต้นแบบโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะขนาดเล็กและแพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขาย พลังงานไฟฟ้า โดยนำร่องพลังงานชุมชน

โดย  ดร. กอบศักดิ์ ศรีประภา
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.

15.30 – 16.00 น. โคกอีโด่ยวัลเล่ย์ “ต้นแบบโซลาร์เซลล์” ปันแสง เพื่อการเกษตรยั่งยืน

โดย พระปัญญาวชิรโมลี
เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

16.00 – 16.30 น. เสวนาอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น 

“เทคโนโลยีพลังงาน สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” 

โดย

  1. พระปัญญาวชิรโมลี
  2. คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
  3. รศ.ดร. แนบบุญ หุนเจริญ
  4. ดร. กอบศักดิ์ ศรีประภา

ดำเนินรายการโดย ดร. นุวงศ์ ชลคุป,ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.

 

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร. สุมิตรา จรสโรจน์กุล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.
คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี
อนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ
รศ.ดร. แนบบุญ หุนเจริญ
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร. กอบศักดิ์ ศรีประภา
นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.
พระปัญญาวชิรโมลี
เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ดร. นุวงศ์ ชลคุป
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ, ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช.
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ