29 มีนาคม 2566

บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

วิทยากร
  • ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
  • ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด 
  • ผศ.ดร. รัชฎา คงคะจันทร์ 
  • ดร. พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์
  • นพ. ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ 
  • ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย

บทบาทของจริยธรรมในการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงทำให้หลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชน เริ่มนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้ง ประเทศไทยซึ่งได้เริ่มผลักดันให้มีการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยและการแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศมากขึ้น ดังจะเห็นได้ในแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)

อย่างไรก็ตาม นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ที่จะได้รับจากปัญญาประดิษฐ์แล้ว การสร้างความตระหนักด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ด้วย ทั้งนี้ การพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรม จึงเป็นอีกมิติหนึ่งที่นักวิจัย ผู้พัฒนา ผู้ให้บริการ และผู้ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ รวมถึง ประชาชนในสังคมจะต้องคำนึงถึง

ดังนั้น การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ เกี่ยวกับความสำคัญของจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ และแนวทางการทำวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ และมีจริยธรรม รวมถึง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาและสังคมไทย เกิดความตระหนักด้านจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เราสามารถอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างรู้เท่าทัน โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือผลกระทบในทางร้ายต่อมนุษย์และสังคม อันเนื่องมาจากปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย

กำหนดการสัมมนา

12:30 – 13:00 น. ลงทะเบียน
13:00 – 13:10 น. กล่าวต้อนรับและแจ้งวัตถุประสงค์งานสัมมนา

โดย ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร, รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

13:10 – 13:40 น. ความจำเป็นของการมีหลักธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์

โดย ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด, ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

13:40 – 14:10 น. แนวทางการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรม

โดย ผศ.ดร. รัชฎา คงคะจันทร์, อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล, วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14:10 – 14:40 น. จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ในภาคธุรกิจ

โดย ดร. พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์, กรรมการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด

14:40 – 15:10 น. จริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ในด้านการแพทย์และสาธารณสุข

โดย นพ. ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ, ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์

15:10 – 15:15 น. ถาม – ตอบ
15:15 – 16:00 น. เสวนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็น

“ลักษณะการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย”

โดย วิทยากรทุกท่าน

ดำเนินรายการโดย ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย, ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด 
ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
ผศ.ดร. รัชฎา คงคะจันทร์ 
อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. พิชัยรัตน์ จิรานันรัตน์
กรรมการ บริษัท ที-อีโคซิส จำกัด
นพ. ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ 
ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์
ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ