วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566

อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีจากมันสำปะหลัง

Starch based biorefinery

วิทยากร
  • รศ.ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต
  • ดร. เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ
  • ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
  • ดร. ถาวร รัตติทิวาพาณิชย์

อุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีจากมันสำปะหลัง

ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบต่างประเทศด้านความเข้มแข็งของภาคการเกษตร โดยเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตร อาทิ แป้งมันสำปะหลัง เป็นลำดับต้นๆในระดับโลก มีโรงงานแป้งมันสำปะหลังมากกว่า 100 โรงงาน มีแรงงานที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมมากกว่า 1 ล้านคน จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่อุปทานของภาคการเกษตรซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังอาทิ แป้งมันสำปะหลัง รายใหญ่ลำดับต้นของโลก อย่างไรก็ตาม จากผลของการที่สหภาพยุโรปมีนโยบายลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตลาดภูมิภาคเอเชียเกือบทั้งหมดโดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งมีสัดส่วนสูงสุด ทั้งนี้ การที่อุตสาหกรรมต้องมีการพึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลักโดยไม่มีการต่อยอดเพิ่มมูลค่าหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ย่อมเป็นความเสี่ยงของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของประเทศ เนื่องจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยจะเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่มีความเสี่ยงของการแข่งขันด้านราคาและการตลาดที่รุนแรงในตลาดโลก อีกทั้งความต้องการเอทานอลเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงมีแนวโน้มลดลงจากการสนับสนุนนโยบายรถไฟฟ้า (EV) ทำให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเพื่อไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีโอกาสที่จะเพิ่มมูลค่าทางการตลาด อีกทั้งมีโอกาสเติบโตและมีความต้องการจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมด้านเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ พลาสติกย่อยสลายได้ อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น

 

อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ซึ่งได้รับการผลักดันเป็นอุตสาหกรรม New S-curve ในแผนประเทศไทย 4.0 ที่ผ่านมา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ดำเนินการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมมีการพัฒนาเศรษฐกิจจากการใช้ผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งอย่างคุ้มค่าด้วยการลดของเสียและนำของเสียมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Zero waste discharge) ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นต้นแบบอุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)  ไบโอเทค ได้ดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง โดยพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดและจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เกิดเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green economy) ที่มีกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ อีกทั้งยังดำเนินการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เพื่อเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์หรือสารมูลค่าสูงจากวัตถุดิบชีวมวลด้วยกระบวนการทางกายภาพ เคมี และ/หรือชีวภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ (Bio-based products) สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิง/พลังงาน เคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ พลาสติกย่อยสลายได้  อาหาร  อาหารสัตว์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวตอบสนองต่อเป้าหมายการดำเนินงานหลักของประเทศตามเป้าหมายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ของประเทศไทย

กำหนดการสัมมนา

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.25 น. โอกาสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทยในตลาดโลก  

โดย รศ.ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต, บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

09.25 – 09.50 น. ผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรีจากแป้งมันสำปะหลัง

โดย ดร. เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

09.50 – 10.10 น. พักระหว่างการสัมมนา
10.10 – 10.35 น. Cassava lignocellulosic valorization

โดย ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา, กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ 

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

10.35 – 11.00 น. Circularity in starch industry: Utilization of cassava pulp

โดย ดร. ถาวร รัตติทิวาพาณิชย์, กลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ ทีมวิจัยการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

11.00 – 11.20 น. ถาม – ตอบ/ ปิดการสัมมนา
เกี่ยวกับวิทยากร
รศ.ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต
บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
ดร. เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ
รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดา
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ดร. ถาวร รัตติทิวาพาณิชย์
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมชีวเคมีและชีววิทยาระบบ ทีมวิจัยการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
หัวข้อสัมมนาอื่นๆ