Molecular mechanisms of capsid stabilization of novel podoviruses
เป็นโครงการวิจัยที่มุ่งศึกษากลไกการสร้างความคงทนของโพโดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นไวรัสแบคทีเรีย (bacteriophage) ที่ค้นพบในประเทศไทย โพโดไวรัสนี้สามารถเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเหี่ยวในพริกและมะเขือเทศได้ ไวรัสดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกใหม่ ในการควบคุมและกำจัดแบคทีเรียก่อโรคในพืชได้แทนการใช้สารเคมีอันตราย
ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความคงทนของไวรัสสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มความคงทนของไวรัสต่อสภาวะแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานไวรัสในแปลงปลูก
ความเป็นมาและความสัมพันธ์
- เป็นงานวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านความคงทนของไวรัส
- ใช้องค์ความรู้และเทคนิคการวิจัยด้านโครงสร้าง (structure) โปรตีน (proteomics) พันธุศาสตร์ (genomics) และกลศาสตร์ (mechanics) ร่วมกัน
- มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือภายในได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติและศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
และความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ (partnership initiative) ได้แก่ สถาบัน Center for Structural Systems Biology (CSSB) ประเทศเยอรมนี
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- มุ่งสร้างกำลังคนผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเชิงโครงสร้าง (structural biology) ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบเยือกแข็ง
(cryogenic electron microscopy) และกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (atomic force microscopy) - เทคนิคดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวอย่างทางชีววิทยาอื่นๆได้ในวงกว้าง
เช่น ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ โปรตีน สารพันธุกรรม และแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์
พืชและสัตว์
ขอบเขตการใช้งาน
เป็นงานวิจัยขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ โดยใช้เทคนิคขั้นแนวหน้า (frontier)
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและอาจารย์ในด้านชีววิทยาเชิงโครสร้าง ชีวฟิสิกส์ และเทคโนโลยีชีวภาพ
- นักนวัตกรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
สถานภาพการพัฒนา
กำลังดำเนินการวิจัย
โดยโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม กระทรวง อว. เป็นระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2565 ถึง 2567)
หน่วยงานพันธมิตร
สถาบัน Center for Structural Systems Biology (CSSB) ประเทศเยอรมนี