แพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์ดิจิทัล เป็นระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่วิจัยพัฒนาโดย สวทช. เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการให้รองรับผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น แพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์ดิจิทัล สวทช นี้ ได้พัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภาวิชาชีพด้านการแพทย์ โดยมีจุดเน้นที่ใช้เทคโนโลยีเข้าไปยกระดับการให้บริการของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้านขายยา คลินิกชุมชน เป็นต้น
A-MED Telehealth เป็นระบบที่นำไปใช้ทั่วประเทศในช่วงการระบาดของโควิดที่ผ่านมา แผนงานต่อไปจะเปลี่ยนไปเป็นระบบบริการการแพทย์ปฐมภูมิ ซึ่งปัจจุบันเปิดบริการแล้ว 2 บริการคือ Tele-pharmacy และ Tele-home ward และขยายผลไปยังคลินิกการพยาบาล คลินิกกายภาพ คลินิกปฐมภูมิ และ
คุณลักษณะ
- เป็นแพลตฟอร์มกลาง (Centralize Platform) ให้บริการทางการแพทย์ทางไกล (Telehealth) สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน สำหรับทีม แพทย์ เภสัชกร
พยาบาล หรือสหวิชาชีพ - หน่วยบริการสาธารณสุขที่สมัครใช้งานจะถูกสร้างเป็น Virtual hospital และ Virtual Bed ทำให้ศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาลบนแพลตฟอร์มแยกกันอย่างชัดเจน
พร้อมมีระบบบริหารจัดการผู้ใช้งานได้อย่างอิสระ - มีระบบ Dashboard แสดงสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วย สถานะผู้ป่วยฯ แบบเรียวไทม์ (Real-time)
จุดเด่น/ประโยชน์ของเทคโนโลยี
- แพลตฟอร์มออกแบบให้ใช้งานบนคลาวน์ภาครัฐ ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูง
- มีระบบ API เชื่อมโยงระบบการขอบริการยันยืนและพิสูจน์ตัวตน (Authen code) ของ สปสช.
- มีระบบ API เชื่อมโยงระบบเบิกจ่ายบริการสุขภาพ (e-Claim) เฉพาะบริการ Tele-pharmacy ที่ร้านยา
- มีระบบ Video conference ให้ทีมแพทย์ เภสัชกร พยาบาล ใช้เยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยทางไกล
- ได้รับการยอมรับเป็นเครื่องมือให้บริการกับหน่วยบริการที่ต้องการเบิกจ่าย สำหรับบริการ Tele-pharmacy หรือTele-home ward ของ สปสช.
ขอบเขต/ข้อจำกัดการใช้งาน
หน่วยงานที่ต้องการใช้ไม่ว่าจะเป็น Tele-pharmacy หรือ Tele-home ward จะต้องเป็นหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
และต้องผ่านการประเมินคุณภาพหน่วยบริการฯ เท่านั้น
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
- ร้านยา
- โรงพยาบาลทั่วไป (รัฐ/เอกชน)
- หน่วยบริการด้านสาธารณสุขปฐมภูมิ
สถานภาพการพัฒนา แพลตฟอร์มที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
- Tele-pharmacy หรือเรียกว่า A-MED Care common illness: ร้านยาที่ใช้บริการประมาณ 900 ร้านทั่วประเทศ
- Tele-home ward หรือเรียกว่า A-MED Homeward: โรงพยาบาลที่ใช้บริการประมาณ 500 แห่งทั่วประเทศ
หน่วยงานพันธมิตร
- ร้านยาคุณภาพ ภายใต้กำกับของสภาเภสัชกรรม
- สำนักการแพทย์ดิจิทัล กรมการแพทย์
- สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (สสป.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
- โรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ
วิจัยพัฒนาโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED)